ศัพท์กฎหมายฝรั่งเศส Internet pour le droit เรื่องอยากเล่า (วิชาการ) Salon d'Aix (สภากาแฟ) WEBBOARD จดหมายเหตุ
  ดู TV ฟังวิทยุ อ่าน นสพ.
การ Set เพื่อพิมพ์ไทย
โทรกลับไทย IRADIUM
โทรกลับไทย Telerabais


ที่ตั้งและแผนที่ Aix
ชมภาพเมือง Aix แบบพาโนราม่า 360 องศารอบตัว(คลิ้ก)
การเดินทางและตารางรถ

ตารางรถประจำทางใน AIX
ตารางรถไป Marseille และ Plan de campagne
ตารางรถPays d'Aix ไป Plan
    สภาพอากาศประจำวัน
    ที่ Aix-en-Provence


Webboard

Thaiaixois Gallery
ศัพท์กฎหมายฝรั่งเศส
Internet pour le droit
เรื่องอยากเล่า (วิชาการ)
สภากาแฟ Salon d'Aix
คุยกับดอกแก้ว
จดหมายเหตุ
ส่ง e-cartes  virtuelles d'Aix-en-Provence

การขอทุนเรียนที่ฝรั่งเศส (ดูรายละเอียดได้ที่กระทู้ห้องวิชาการ)

การปรับหลักสูตรมหาวิทยาลัยของฝรั่งเศส(ปีคศ.2004)

คู่มือศึกษาต่อในประเทศฝรั่งเศส (โดยสารสนเทศการศึกษาต่อต่างประเทศ)

คู่มื่อเลือกมหาวิทยาลัยในฝรั่งเศส( Guide Lamy des 3es cycles)

โรงเรียนสอนภาษาฝรั่งเศส IEFEE


มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในฝรั่งเศส

มหาวิทยาลัยใน Aix
Université de Provence 
Université de la Mediterranee

Université Paul Cézanne (Universitéde Droit, d'Economie et des Sciences d'Aix-Marseille3)

สถาบันศึกษาอื่น


ที่พักอาศัย
 - ที่พักของมหาวิทยาลัย
( CROUS)

ที่พักของเอกชน
 
- (Estudines)
 
-  (Citadine)  
 -
หาที่พักกับ adele.org
 - หาที่พักกับ office de tourisme
 - พักที่บ้านพักเยาวชน(Auberge de jeunesse)

การขอเงินช่วยเหลือค่าที่พัก(CAF)


การติดต่อที่จำเป็น

การติดต่อขอใบอนุญาตพักอาศัยในประเทศ(Carte de sejour)
 - เอกสารที่ต้องใช้ 1/ 2 /3
 - ติดต่อ
Prefecture des Bouches-du-Rhone
 - (กระทู้Thaiaixoisที่เกี่ยวข้อง)

การประกันสุขภาพ
 - การติดต่อประกันสุขภาพ
Securite sociale)
 - MEP ประกันสุขภาพของนักเรียน(อายุไม่เกิน 25 ปี)
 - Assurance étudiant (อายุไม่เกิน 40 ปี)

อื่น ๆ
 - การทำงานนอกเวลา
 - การต่ออายุหนังสือเดินทาง


ลิงค์เพื่อนบ้าน
Thai Law Reform
สมาคมนักเรียนไทยในรั่งเศส
เพื่อนไทยในเกรอนอบ
เพื่อนไทยในตูลูส
เพื่อนไทยในลียง

ABC-Bittorrent Client โดย pingpong
เพื่อนไทยในเบลเยี่ยม
สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนฯ
เล่าข้ามฟ้ากับนาย Baguette
Pokpong's
Nujern's homepage
Café Lunar

Cafe Lunar สาขา 2
Le Journal de TAUNG
Artsstudio
BioLawCom

   


พระเอกที่ถูกมองเป็นผู้ร้าย
มาตรา
17 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน  พ.ศ. 2548

ปกป้อง ศรีสนิท

 

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความได้ที่
กระทู้ห้อง "เนื่องมาจากเรื่องอยากเล่า"

 

พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ประกาศใช้เมื่อ 16 กรกฎาคม 2548 มาถึงปัจจุบันก็เป็นเวลาสามเดือนกว่าแล้ว  สาระสำคัญคือการแก้ไขและรวบรวมกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆที่กระจัดกระจายมาไว้ในกฎหมายฉบับเดียวกัน  โดยที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการออกพระราชกำหนดดังกล่าวเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาสามจังหวัดภาคใต้ที่เป็นปัญหาอยู่      
 

ข้อเขียนนี้ถูกเขียนขึ้นเพราะความไม่สบายใจอันเนื่องมาจากการได้อ่านข่าวการสำรวจความเห็นของหน่วยงานแห่งหนึ่งที่เข้าไปสัมภาษณ์ชาวบ้านในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้เกี่ยวกับการบังคับใช้พระราชกำหนดในพื้นที่ คำตอบส่วนใหญ่ที่ได้คือ  ชาวบ้านไม่รู้ว่าพระราชกำหนดคืออะไร   แต่รู้อย่างเดียวว่าเจ้าหน้าที่ทำอะไรแล้วไม่ผิด     
 

สิ่งที่ชาวบ้านพูดถึงนั้นคือมาตรา 17 ของพระราชกำหนด ซึ่งชาวบ้านไม่ผิดที่จะเข้าใจเช่นนั้น  เพราะชาวบ้านเข้าใจตามสื่อ   สื่อที่ออกมาในระยะแรกก็ออกข่าวทำนองเช่นนั้น   ไม่ว่าจะเป็นการไม่ตั้งใจของสื่อเพราะอ่านกฎหมายไม่ครบถ้วน  หรือตั้งใจเพื่อให้เป็นข่าวในการสัมภาษณ์คนในรัฐบาล    แต่การที่สื่อออกมาในลักษณะดังกล่าวเป็นการตอกย้ำกระแสความไม่เข้าใจกันระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่  ซึ่งเป็นเงื่อนไขเดิมๆที่ทำให้เกิดความรุนแรงและความไม่สงบในพื้นที่     และเป็นช่องทางให้ผู้ก่อการร้ายนำไปปลุกระดมมวลชนเพื่อทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นอีก 
 

แต่หากผู้ใดได้อ่านพระราชกำหนดให้ครบถ้วน  โดยเฉพาะมาตรา 17 แล้วจะพบว่ามาตราดังกล่าว เป็น พระเอก ที่กำลังถูกมองเป็น ผู้ร้าย อย่างน่าเสียดาย   
 

มาตรา 17 บัญญัติว่า พนักงานเจ้าหน้าที่และผู้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ในการระงับหรือป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย หากเป็นการกระทำที่สุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่เกินกว่ากรณีจำเป็น แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่  
 

หากอ่านไม่ครบถ้วนกระบวนความก็จะคิดไปได้ว่า มาตรานี้สร้างเกราะวิเศษให้เจ้าหน้าที่ ด้วยเกราะวิเศษนี้หากเจ้าหน้าที่ไปตีหัวชาวบ้านแล้วจะไม่ต้องรับผิดชอบอะไรทั้งสิ้น  ซึ่งความเป็นจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่   หากอ่านให้ครบแล้วจะพบว่ามาตรานี้ไม่ได้สร้างเกราะป้องกันเจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้นจากแต่เดิมอย่างไร  ในทำนองกลับกันมาตรานี้ได้เพิ่มสิทธิบางอย่างให้ประชาชนมากขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ 
 

ที่ว่าหลักเรื่องความรับผิดของเจ้าหน้าที่ไม่เปลี่ยนไปนั้น    เพราะเหตุว่าเจ้าหน้าที่ที่ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 17 จากการกระทำของตนเองนั้นต้องเข้าองค์ประกอบสองประการพร้อมกันคือ  หนึ่ง  เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในการระงับเหตุหรือป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย   สอง  ต้องเป็นการกระทำโดยสุจริต  ไม่เลือกปฏิบัติ   ไม่เกินสมควรแก่เหตุ หรือไม่เกินกว่ากรณีจำเป็น
 

 ดังนั้นหากเจ้าหน้าที่ไปรังแกชาวบ้านด้วยเรื่องส่วนตัว  ก็เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดทั้งทางอาญา  ทางแพ่ง ทางวินัย  เต็มตัวตามหลักกฎหมายทั่วไปอยู่แล้ว  หากพิจารณาตามมาตรา  17 ก็เห็นสอดคล้องกันว่าเจ้าหน้าที่ต้องรับผิด  เป็นเรื่องนอกเหนือมาตรา17 เพราะไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่ในการระงับเหตุหรือป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย    
 

 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ไล่จับผู้ร้าย  ตามหลักที่มีอยู่แล้วนั้นเจ้าหน้าที่ใช้กำลังได้เท่าที่จำเป็นเพื่อมิให้ผู้ร้ายหนี  หากมีการยิงต่อสู้กัน  แม้เจ้าหน้าที่เจตนาฆ่าผู้ร้าย  แต่เจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิด  เพราะเป็นการปฏิบัติหน้าที่ที่ไม่เกินสมควรแก่เหตุ   เนื่องจากใช้อาวุธปืนทั้งคู่    กรณีจะกลับตาลปัตร  ถ้าคนร้ายไม่มีอาวุธ  แล้วเจ้าหน้าที่ยิงคนร้ายตายในการไล่จับกุม  กรณีนี้แม้เป็นการปฏิบัติหน้าที่  แต่เจ้าหน้าที่ทำเกินกว่าเหตุ  ก็ต้องรับผิดทั้งทางอาญา ทางแพ่ง และทางวินัย   ซึ่งทั้งกรณี  แม้ไม่เขียนมาตรา 17 ไว้  ก็ใช้หลักกฎหมายทั่วไปที่มีอยู่ปรับใช้ได้อยู่แล้ว
 

 แล้วทำไมต้องบัญญัติมาตรา 17 ขึ้นมาทั้งๆที่ไม่ได้เปลี่ยนหลักความรับผิด  เท่าที่เห็นน่าจะมีสองประการคือ  ประการที่หนึ่งน่าจะเป็นการวางกรอบที่ชัดเจนขึ้นให้ผู้ปฏิบัติงานได้ทราบอย่างชัดเจนว่า หากปฏิบัติงานอยู่ในกรอบที่ว่านี้จะไม่ต้องรับผิดส่วนตัว หากทำนอกกรอบก็จะต้องรับผิดทั้งหมดจากการกระทำของตน    ประการที่สอง น่าจะเป็นการเสริมขวัญกำลังใจในการทำงาน  โดยการเขียนนำว่า เจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิด  หาก...   หากเขียนอีกอย่างว่า เจ้าหน้าที่ต้องรับผิด ถ้าปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต เลือกปฏิบัติ เกินสมควรแก่เหตุ...)   ผลทางกฎหมายไม่ต่างกัน  แต่ผลทางจิตวิทยาจะต่างกันอย่างมาก  การเขียนแบบหลังอาจทำให้เจ้าหน้าที่หมดขวัญกำลังใจในการทำงาน  และไม่กล้าที่จะตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้า       
 

ที่ว่ามาตรา 17 เป็นพระเอกเพราะมาตรานี้ได้เพิ่มสิทธิให้ประชาชนเพิ่มขึ้นคือในตอนท้ายที่ว่า  ...แต่ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายจะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการ.... ถ้อยคำดังกล่าวถือว่าเป็นการรับรองสิทธิไม่ว่าจะเป็นการรับรองเชิง วิธีการเรียกค่าเสียหาย หรือการรับรองเชิง เนื้อหาแห่งสิทธิ    ก่อนใช้พระราชกำหนด หากเจ้าหน้าที่ได้กระทำการอยู่ในกรอบซึ่งเจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิดแล้ว ประชาชนผู้เสียหายนั้นไม่มีทางเรียกร้องค่าเสียหายได้    เพราะไม่เข้าหลักเรื่องความรับผิดทางละเมิด    หากปรับใช้มาตรา 17 แม้เจ้าหน้าที่กระทำอยู่ในกรอบซึ่งเจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับผิด  แต่ประชาชนผู้เสียหายยังคงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากรัฐได้โดยอ้างตอนท้ายของมาตรา 17    หากมองว่ามาตรา 17 เป็นเพียงแค่การรับรอง วิธีการ ไม่ได้รับรอง สิทธิ  ก็ยังเป็นนิมิตหมายอันดีของการออกกฎหมายให้ประชาชนผู้เสียหายจากกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐได้รับการเยียวยาแม้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้กระทำจะไม่มีความรับผิด 
 

เมื่อพระเอกกำลังถูกกล่าวหาเพราะสื่อ  วิธีแก้ไขก็น่าจะใช้การย้อนรอยกลับ  ทางการต้องทำความเข้าใจกับประชาชนโดยใช้สื่อนำความเข้าใจที่ถูกต้องกลับไปสู่ประชาชน    
 

ความหวาดระแวงไม่เข้าใจกันระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่นั้นมีทั้งในแง่ เนื้อหากฎหมาย และ วิธีการเข้าถึงความยุติธรรม  หากทำความเข้าใจมาตรา 17 ให้ดี  ความเข้าใจผิดเรื่องเนื้อหาก็น่าจะลดลงไป  เมื่อประชาชนเข้าใจแล้วว่าเจ้าหน้าที่ก็ต้องรับผิดอยู่หากกระทำ นอกกรอบ ของกฎหมาย   ถ้าความหวาดระแวงจะยังมีอยู่ในเชิงวิธีการเข้าถึงความยุติธรรม ด้วยความกลัวที่ว่าทางราชการจะเข้าข้างกันทำให้เจ้าหน้าที่ทำผิดแล้วหลุดลอย  ทำให้ประชาชนไม่กล้าที่จะแจ้งความฟ้องคดีเมื่อตนคิดว่าถูกเจ้าหน้าที่รังแก ในเรื่องนี้ กรรมการสมานฉันท์นอกจากจะทำงานเชิงนโยบายแล้ว  น่าจะมีบทบาทในเชิงรุกเพื่อแก้ปัญหาความไม่เข้าใจเชิงวิธีการนี้ด้วย เช่นการสร้างศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ที่เป็นกลางในพื้นที่ที่ประกอบด้วยคนที่ชาวบ้านไว้ใจ เป็นที่พึ่งของชาวบ้านในกรณี่ที่ชาวบ้านมีปัญหากับเจ้าหน้าที่เพื่อช่วยในการไกล่เกลี่ยกับเจ้าหน้าที่หรือแม้แต่ช่วยดำเนินคดีในศาลหากจำเป็น  การสร้างศูนย์ดังกล่าวเป็นการช่วยให้ประชาชนได้เข้าถึงความยุติธรรมตามกฎหมายได้ดีขึ้น เมื่อกระบวนการทั้งหมดเข้าสู่ระบบของกฎหมาย  ความเป็นธรรมเกิดขึ้น  ความเข้าใจผิดและหวาดระแวงกันก็น่าจะลดลงไม่มากก็น้อย   
 

 ปัญหาสามจังหวัดภาคใต้ยังคงเป็นเรื่องใหญ่และแก้ไขยากปัญหาหนึ่ง ขอให้กำลังใจทุกฝ่ายที่ช่วยกันแก้ปัญหา   ขอไว้อาลัยให้ผู้เสียชีวิต  และขอให้เหตุการณ์สงบโดยเร็วเถิด

 

ดูบทความอื่นในหมวดเดียวกัน
- กฎหมายป้องกันการก่อการร้าย

 

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความได้ที่
กระทู้ห้อง "เนื่องมาจากเรื่องอยากเล่า"

 

(กลับไปหน้าแรก) / (กลับไปสารบัญบทความ)

สงวนลิขสิทธิ์ © 2003 
งานเขียนแต่ละชิ้นเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนแต่ละท่าน 

ตั้งแต่ 6 ตุลาคม 2546 (version 2 เริ่ม 26 มีนาคม 2547)