ศัพท์กฎหมายฝรั่งเศส

Internet pour le droit

เรื่องอยากเล่า

Salon d'Aix

 webboard

คุยกับดอกแก้ว

จดหมายเหตุ


ดู TV ฟังวิทยุ อ่าน นสพ.
การ Set เพื่อพิมพ์ไทย
โทรกลับไทย IRADIUM
โทรกลับไทย Telerabais

ที่ตั้งและแผนที่ Aix
การเดินทางและตารางรถ

ตารางรถประจำทางใน AIX
ตารางรถไป Marseille และ Plan de campagne
ตารางรถPays d'Aix ไป Plan
    สภาพอากาศประจำวัน
    ที่ Aix-en-Provence


Webboard

Thaiaixois Gallery
ศัพท์กฎหมายฝรั่งเศส
Internet pour le droit
เรื่องอยากเล่า (วิชาการ)
สภากาแฟ Salon d'Aix
คุยกับดอกแก้ว
จดหมายเหตุ
ส่ง e-cartes  virtuelles d'Aix-en-Provence

(กระทู้)การขอทุนเรียนที่ฝรั่งเศส

การปรับหลักสูตรมหาวิทยาลัยของฝรั่งเศส

คู่มือศึกษาต่อในประเทศฝรั่งเศส (โดยสารสนเทศการศึกษาต่อต่างประเทศ)

คู่มื่อเลือกมหาวิทยาลัยในฝรั่งเศส( Guide Lamy des 3es cycles)

โรงเรียนสอนภาษาฝรั่งเศส IEFEE


มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในฝรั่งเศส

มหาวิทยาลัยใน Aix
Université de Provence 
Université de la Mediterranee

Université Paul Cézanne (Universitéde Droit, d'Economie et des Sciences d'Aix-Marseille3)

สถาบันศึกษาอื่น


ที่พักอาศัย
 - ที่พักของมหาวิทยาลัย
( CROUS)

ที่พักของเอกชน
 
- (Estudines)
 
-  (Citadine)  
 -
หาที่พักกับ adele.org
 - หาที่พักกับ office de tourisme
 - พักที่บ้านพักเยาวชน(Auberge de jeunesse)

การขอเงินช่วยเหลือค่าที่พัก(CAF)


การติดต่อที่จำเป็น

การติดต่อขอใบอนุญาตพักอาศัยในประเทศ(Carte de sejour)
 - เอกสารที่ต้องใช้ 1/ 2 /3
 - ติดต่อ
Prefecture des Bouches-du-Rhone
 - (กระทู้Thaiaixoisที่เกี่ยวข้อง)

การประกันสุขภาพ
 - การติดต่อประกันสุขภาพ
Securite sociale)
 - MEP ประกันสุขภาพของนักเรียน(อายุไม่เกิน 25 ปี)
 - Assurance étudiant (อายุไม่เกิน 40 ปี)

อื่น ๆ
 - การทำงานนอกเวลา
 - การต่ออายุหนังสือเดินทาง


ลิงค์เพื่อนบ้าน
Thai Law Reform
สมาคมนักเรียนไทยในรั่งเศส
เพื่อนไทยในเกรอนอบ
เพื่อนไทยในตูลูส
เพื่อนไทยในลียง

ABC-Bittorrent Client โดย pingpong
เพื่อนไทยในเบลเยี่ยม
สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนฯ
เล่าข้ามฟ้ากับนาย Baguette
Pokpong's
Nujern's homepage
Café Lunar

Cafe Lunar สาขา 2
Le Journal de TAUNG
Artsstudio

 
 

สนทนาประสาจน*  (ปัญญา)  ตอน 1
                                                          โดย ...  เกรียงศักดิ์  ธีระโกวิทขจร


 

คลิ้กเพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้


 


*ด้วยความตั้งใจที่จะเพิ่มที่ทางสำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน โดยเริ่มจากมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ ในขณะเดียวกัน ผู้เขียนเองไม่ต้องการให้พื้นที่ส่วนนี้มีเนื้อหาและบรรยากาศที่รุนแรงมากนัก ถึงแม้จะมีความเป็นวิชาการอยู่บ้าง  จึงขอใช้คำว่า "สนทนา" เพื่อสื่อความหมายถึงการบอกเล่า รับฟังและแลกเปลี่ยนในตัวเอง และแน่นอน ประเด็นที่จะถูกหยิบยกขึ้นมานั้น จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ หรือเรื่องที่กระทบกับปากท้องโดยตรง

 

1 เกิดมาจน...

 

ปัญหาความยากจนเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติ และอาจจะกล่าวว่าเป็นปัญหาระดับโลกก็ว่าได้ นักวิชาการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักเศรษฐศาสตร์ ศึกษาปรากฏการณ์นี้เป็นเวลาไม่น้อยกว่ากึ่งศตวรรษ แต่ความยากจนก็ยังคงปรากฎให้เห็นอยู่โดยทั่วไป

 

ในบ้านเรา ตั้งแต่เริ่มต้นการพัฒนา(โดยใช้แนวคิดจากตะวันตก) และมีการขีดเส้นแบ่งความยากจน[1] คนกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งถูกตีตราอย่างเป็นทางการทันทีว่าเป็นคนจน เนื่องจากมีระดับความเป็นอยู่ต่ำกว่าระดับพอยังชีพ ทั้งที่ก่อนหน้านั้นไม่นาน คนกลุ่มเดียวกันนี้ เชื่อมาโดยตลอดว่าตนเป็นผู้มั่งคั่ง เนื่องจากมีทุนทางธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ และบรรพบุรุษของตนดำรงชีวิตอย่างผาสุกในวิถีเดียวกันนี้

 

ยิ่งพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือ ความแตกต่างที่ขยายตัวกว้างขึ้นระหว่าง คนเมืองซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่อยู่เหนือเส้นความยากจน กับคนชนบทที่บางส่วนอยู่คาบเส้นและที่เหลืออยู่ต่ำลงไป ปัญหาความยากจนที่แท้จริงจึงเริ่มก่อตัวขึ้นอย่างชัดเจน หลังจากที่คุณค่าแบบเดิมถูกปฏิเสธโดยรัฐ (และเจ้าหน้าที่ของรัฐ) จนเกิดกระบวนการปลดเปลื้องทุนธรรมชาติ และซ้ำเติมอีกระลอกจากผลพวงของนโยบายหลายๆ ด้าน เช่น การกระจุกตัวของความเจริญและโอกาส โดยเฉพาะโอกาสทางการศึกษา ซึ่งแสดงบทบาทอย่างชัดเจนในสองถึงสามทศวรรษที่ผ่านมาว่าเป็นเครื่องขยับฐานะทางสังคมของคนที่ถูกเรียกว่าชนชั้นล่าง รวมทั้งการกระจายรายได้ที่ล้มเหลว เป็นต้น

 

ตลอดเส้นทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย เราจึงปลูกฝังทัศนคติที่ผิดกับคนเหล่านี้ (โดยไม่รู้ตัว) ว่า เขาไม่สามารถหลุดพ้นจากวงจรชีวิตที่เป็นอยู่นี้ได้ ลูกหลานของคนกลุ่มนี้ไม่น้อย จึงรู้สึกว่าตนมี "ยีนจน" ติดตัวมาแต่กำเนิด ซ้ำร้ายกว่านั้น มีจำนวนไม่น้อยที่เชื่อว่าความจนนั้นเป็นเรื่องกฎแห่งกรรม แก้ไขอะไรไม่ได้ในปัจจุบัน (ทางเดียวเท่านั้นที่ทำได้ คือสร้างกรรมดี เพื่อการหลุดพ้นในชาติหน้า)

 

อย่างไรก็ตาม การศึกษามีส่วนอย่างมากในการแก้ไขอคติดังกล่าว ในขณะที่ความเจริญขยายตัวครอบคลุมพื้นที่ชนบทเดิม (เกิดจากการพัฒนาที่แต่เดิมหลั่งไหลไปยังเมืองใหญ่ เมื่ออิ่มตัว จึงเกิดการท่วมล้นไปสู่เมืองปริมณฑล - spill-over effect – การท่วมล้นทางความเจริญนี้เกิดขึ้นช้าและไร้ทิศทาง ไม่อาจนับได้ว่าเป็นวิธีที่เหมาะสมในการพัฒนา) เกิดผลที่สำคัญตามมาสองประการคือ

            ประการแรก ความรู้ใหม่ (ของตะวันออก แต่เก่ามาจากตะวันตก) กลับสอดรับอย่างดีกับการพัฒนาที่รัฐได้วางรากฐานไว้ และดูเหมือนจะช่วยปรับสร้างให้คนพร้อมรับกับระบบและผลจากการพัฒนา โดยไม่เกิดการตั้งคำถามหรือการท้าทายระบบที่เป็นอยู่ ความรู้ใหม่นี้ไม่ได้แก้ไขอคติที่ได้กล่าวมาข้างต้นแต่อย่างไร

           ประการที่สอง ในขณะที่ความรู้ตะวันตกเป็นสิ่งใหม่ในสังคมชนบท ต้องไม่ลืมว่าความรู้เดียวกันนี้ ได้เดินทางมาถึงชุมชนเมืองก่อนและส่วนหนึ่งถูกนำไปเผยแผ่โดยชนชั้นปัญญาชนเอง (ความน่าสนใจอยู่ที่ว่า นักวิชาการแต่ละท่าน สามารถสังเคราะห์ความรู้นั้นและปรับให้เข้ากับสังคมไทยมากน้อยแตกต่างกัน) ส่วนที่ผ่านการสังเคราะห์อย่างดีต่างหากที่ก่อให้เกิดกระบวนการคิดใหม่ และนำมาซึ่งการเผชิญหน้าทางความคิด (แสดงออกทางการเผชิญหน้าระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชน) ในบางกรณี ก่อตัวจนเกิดเป็นการปะทะอย่างที่เราเห็นตามข่าวอยู่บ่อยครั้ง การท้าทายนี้ บ้างก็ได้รับโอกาสให้ฝักตัว พัฒนา และได้รับการยอมรับให้เป็นทางเลือกหนึ่งขององค์ความรู้ บ้างก็ถูกลบล้างไปโดยตรรกตะวันตกที่ดูเป็นกลาง แต่ล้วนเกิดขึ้นเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับระบบ

 

2 พูดจาประสาจน ...

 

เมื่อกล่าวถึงความยากจนที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ในบ้านเรา มีคำพูดติดปากที่เกี่ยวข้องกับความจน-ความรวยมากมาย ตัวอย่างง่ายๆ ที่เราคงได้ยินได้ฟังบ่อยครั้ง เช่น บ้านนั้นรวย เขาเป็นเศรษฐี/ บ้านนี้จน ไม่มีอันจะกิน ประโยคธรรมดานี้มีนัยทางเศรษฐศาสตร์แฝงอยู่และอาจนำไปสู่คำถามน่าขบคิดติดตามมา คำถามตรงไปตรงมาที่เกิดขึ้น แต่น่าสนใจไม่น้อย คือ เราวัดหรือตีค่าความรวย ความจนจากอะไร 

 

เมื่อศึกษางานทางเศรษฐศาสตร์ ที่เกี่ยวกับการวัดความมั่งคั่ง จะพบว่า มีแนวทางหลักสองแนวทางคือ หนึ่ง การใช้ทรัพย์สิน (หรือความมั่งคั่ง) และสอง การใช้กระแสหมุนเวียนของเงิน/ กระแสเงินสด (หรือรายได้) เป็นเกณฑ์

 

การวัดฐานะจากกระแสเงินสดหรือรายได้ น่าจะเป็นวิธีที่เราคุ้นเคยและใช้กันเป็นปกติวิสัย เพราะสามารถมองเห็นได้ชัดเจนและตัดสินได้ง่าย ตัวอย่างคือ เรามักจะเปรียบเทียบเงินเดือนในระบบราชการกับเงินเดือนของเอกชน ของบุคลากรที่มีพื้นความรู้ไม่ต่างกัน

 

โดยหลักการแล้ว การเปรียบเทียบโดยใช้รายได้เป็นฐานนี้ เหมาะสมกับกลุ่มที่มีฐานรายได้ไม่สูงนัก พูดง่ายๆว่า เหมาะสำหรับพวกคนชั้นกลาง (ค่อนมาทางจน) อย่างเราๆ   สำหรับกลุ่มที่มีรายได้สูงหรือในบรรดาเศรษฐีด้วยกันเอง การเปรียบเทียบความร่ำรวยจากทรัพย์สิน (หรือจะใช้คำว่าสินทรัพย์ ก็ไม่ต่างกัน) น่าจะทำให้เห็นภาพที่สอดคล้องกับความเป็นจริงมากกว่า เนื่องจาก บุคคลเหล่านี้มีรูปแบบการเก็บรักษาความมั่งคั่งของตนที่ซับซ้อน เช่น มีการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ไม่ว่าจะเพื่อกระจายความเสี่ยง เก็งกำไร หรือเพื่อความพึงพอใจส่วนตัว ก็แล้วแต่ (บางคนอาจโอนหุ้น ซุกหุ้นบ้าง บกพร่องโดยสุจริต ไม่ว่ากัน) นอกจากนี้ การใช้รายได้เป็นเกณฑ์ในการศึกษาหรือเปรียบเทียบ อาจจะทำให้ได้ผลที่ไม่สะท้อนความเป็นจริง อย่างที่ได้กล่าวแล้วว่าบุคคลกลุ่มนี้มีการลงทุนสูง เนื่องจากในการลงทุน ย่อมมีความเสี่ยงเกิดขึ้น ดังนั้น ผลที่ได้จึงอาจจะเกิดการเบี่ยงเบน (ในปีที่สนใจ บุคคลหรือองค์ธุรกิจนั้น อาจโชคร้าย ขาดทุนไปบ้างไม่กี่สิบหรือร้อยล้าน)

 

ถ้าเราได้ติดตามข่าวกันอยู่บ้าง อาจจะเคยได้ยินว่าบริษัทเอกชนยักษ์ใหญ่หรือบริษัทข้ามชาติ หลายต่อหลายแห่ง มีผลประกอบการเป็นลบในบางช่วง หรือบริษัทของเศรษฐีบางท่านอาจเกิดขาดทุนมหาศาลในบางปี เราก็มักจะตั้งคำถามขึ้นในใจต่อมาว่า ทำไมองค์กรธุรกิจเหล่านี้ยังคงประกอบธุรกิจอยู่ได้ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ข้อเท็จจริงคือ เรากำลังสนใจกับความเสียหายที่เกิดขึ้นในจุดใดจุดหนึ่ง หรือในขอบเขตของเวลาที่สั้นเกินไป

 

 

อีกตัวอย่างหนึ่งของคำพูดติดหูในสังคมไทย (มีปริบททางเศรษฐกิจและสังคมที่กว้างขึ้น) ได้แก่ "สมัยนี้ ลำบากกว่าสมัยก่อน หาเงินยากขึ้น  "

 

เราลองมาคิดเล่นๆ กับข้อความข้างต้น จะพบว่า สามารถตีความไปได้มากมายเช่น ที่ว่าหาเงินยากขึ้นนั้น หมายความว่า คนในปัจจุบัน ต้องทำงานมากขึ้นเพื่อให้ได้รายได้จำนวนเท่าเดิม?(เกี่ยวข้องกับเรื่องเงินเฟ้อ) หรือรายได้มากขึ้นก็จริง แต่กลับบริโภคได้น้อยลง?(อาจเป็นเรื่องเงินเฟ้อหรือผลกระทบจากการเก็บภาษี) หรือในเชิงสัญลักษณ์ เงิน อาจถูกใช้เป็นตัวแทนของงานหรือการทำงาน ดังนั้น การหาเงินยากขึ้น อาจหมายถึง หางานยาก ซึ่งอาจเกิดจากตำแหน่งงานมีไม่เพียงพอ? (รัฐต้องเข้ามามีบทบาทในการสร้างงาน) หรือตลาดแรงงานมีการแข่งขันสูง? (เป็นบวก แต่คราวนี้พาดพิงไปถึงเรื่องการศึกษา) และสุดท้าย (แต่ยังไม่ท้ายสุด) อาจสะท้อนถึงธรรมชาติของตลาดโดยรวมที่เปลี่ยนไปอย่างแท้จริง

 

ตัวอย่างนี้ มีนัยที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นทางฐานะ ซึ่งจะขออนุญาตกล่าวถึงในตอนต่อไป...

 

(อ่านต่อ) สนทนาประสาจน ตอน 2

คลิ้กเพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้

 

 

 

 

(กลับไปข้างบน) /(กลับไปหน้าแรก) / (กลับไปสารบัญบทความ)

 

สงวนลิขสิทธิ์ © 2003 
งานเขียนแต่ละชิ้นเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนแต่ละท่าน 

 

 

 


 

[1] เส้นนามธรรม ที่แสดงถึงระดับความเป็นอยู่ขั้นพื้นฐาน ที่มนุษย์จะสามารถยังชีพได้ โดยหลักการ จะวัดฐานะของคนจากรายได้ที่เป็นตัวเงินและทรัพย์สินที่เปลี่ยนรูปเป็นเงินได้ ความถูกต้องเหมาะสม ไม่ใช่ประเด็นในที่นี้