ศัพท์กฎหมายฝรั่งเศส

Internet pour le droit

เรื่องอยากเล่า

Salon d'Aix

 webboard

คุยกับดอกแก้ว

จดหมายเหตุ


ดู TV ฟังวิทยุ อ่าน นสพ.
การ Set เพื่อพิมพ์ไทย
โทรกลับไทย IRADIUM
โทรกลับไทย Telerabais

ที่ตั้งและแผนที่ Aix
การเดินทางและตารางรถ

ตารางรถประจำทางใน AIX
ตารางรถไป Marseille และ Plan de campagne
ตารางรถPays d'Aix ไป Plan
    สภาพอากาศประจำวัน
    ที่ Aix-en-Provence


Webboard

Thaiaixois Gallery
ศัพท์กฎหมายฝรั่งเศส
Internet pour le droit
เรื่องอยากเล่า (วิชาการ)
สภากาแฟ Salon d'Aix
คุยกับดอกแก้ว
จดหมายเหตุ
ส่ง e-cartes  virtuelles d'Aix-en-Provence

(กระทู้)การขอทุนเรียนที่ฝรั่งเศส

การปรับหลักสูตรมหาวิทยาลัยของฝรั่งเศส

คู่มือศึกษาต่อในประเทศฝรั่งเศส (โดยสารสนเทศการศึกษาต่อต่างประเทศ)

คู่มื่อเลือกมหาวิทยาลัยในฝรั่งเศส( Guide Lamy des 3es cycles)

โรงเรียนสอนภาษาฝรั่งเศส IEFEE


มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในฝรั่งเศส

มหาวิทยาลัยใน Aix
Université de Provence 
Université de la Mediterranee

Université Paul Cézanne (Universitéde Droit, d'Economie et des Sciences d'Aix-Marseille3)

สถาบันศึกษาอื่น


ที่พักอาศัย
 - ที่พักของมหาวิทยาลัย
( CROUS)

ที่พักของเอกชน
 
- (Estudines)
 
-  (Citadine)  
 -
หาที่พักกับ adele.org
 - หาที่พักกับ office de tourisme
 - พักที่บ้านพักเยาวชน(Auberge de jeunesse)

การขอเงินช่วยเหลือค่าที่พัก(CAF)


การติดต่อที่จำเป็น

การติดต่อขอใบอนุญาตพักอาศัยในประเทศ(Carte de sejour)
 - เอกสารที่ต้องใช้ 1/ 2 /3
 - ติดต่อ
Prefecture des Bouches-du-Rhone
 - (กระทู้Thaiaixoisที่เกี่ยวข้อง)

การประกันสุขภาพ
 - การติดต่อประกันสุขภาพ
Securite sociale)
 - MEP ประกันสุขภาพของนักเรียน(อายุไม่เกิน 25 ปี)
 - Assurance étudiant (อายุไม่เกิน 40 ปี)

อื่น ๆ
 - การทำงานนอกเวลา
 - การต่ออายุหนังสือเดินทาง


ลิงค์เพื่อนบ้าน
Thai Law Reform
สมาคมนักเรียนไทยในรั่งเศส
เพื่อนไทยในเกรอนอบ
เพื่อนไทยในตูลูส
เพื่อนไทยในลียง

ABC-Bittorrent Client โดย pingpong
เพื่อนไทยในเบลเยี่ยม
สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนฯ
เล่าข้ามฟ้ากับนาย Baguette
Pokpong's
Nujern's homepage
Café Lunar

Cafe Lunar สาขา 2
Le Journal de TAUNG
Artsstudio

 

 

การใช้ชื่อทางภูมิศาสตร์เป็นเครื่องหมายการค้า

                                                       โดย จิรวัฒน์ จงสงวนดี
 

คลิ้กเพื่อดูไฟล์ PDF  

 คลิ้กเพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ

บทนำ

 

                                ในตลาดการค้าปัจจุบันนี้ ความสำคัญของเครื่องหมายการค้า(marque) นอกจากจะใช้ในการแบ่งแยกสินค้าชนิดเดียวกันออกจากกันแล้ว  ยังมีอิทธิพลต่อการบริโภคของ ผู้บริโภค ด้วย โดยเราจะเห็นได้ว่าในหลาย ๆ กรณีผู้บริโภคได้เลือกบริโภคสินค้าหรือบริการจาก ยี่ห้อ หรือ เครื่องหมายการค้า นั้นเอง ทั้งนี้เพราะ ในเครื่องหมายการค้าได้แฝงไปด้วยภาพลักษณ์  คุณภาพ และความน่าเชื่อถือ  ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าผู้ผลิตส่วนมากได้ให้ความสำคัญอย่างมากในการเลือก เครื่องหมายการค้า ของตน

 

                        ตามกฎหมายของประเทศฝรั่งเศสเราสามารถสร้างเครื่องหมายการค้าได้จากสิ่งเฉพาะดังต่อไปนี้[1]

                                - ชื่อเฉพาะ โดยอาจมาจาก ตัวอักษร หรือคำไม่ว่าจะมีความหมายหรือไม่ก็ตาม   ตัวเลข หรือชื่อนามสกุล (nom patronymique) หรืออาจใช้ชื่อสถานที่ต่าง ๆ ที่เรียกว่า ชื่อทางภูมิศาสตร์ (nom géographique)

                                - สัญลักษณ์แทนเสียง ต่าง ๆ

                                - สัญลักษณ์ที่เป็นรูปร่าง  เช่น รูปต่าง ๆ  หรือโลโก้ เป็นต้น

 

 

                                เมื่อได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดแล้ว เจ้าของเครื่องหมายการค้าก็จะมีกรรมสิทธิ์และได้รับการคุ้มครองตามที่กฎหมายกำหนดและผู้ละเมิดจะต้องจ่ายค่าเสียหายและหรือถูกลงโทษทางอาญา

                                ในทางปฏิบัติพบว่าผู้ผลิตในประเทศฝรั่งเศสมักนำ ชื่อทางภูมิศาสตร์มาตั้งเป็นเครื่องหมายการค้าเนื่องจากเป็นชื่อที่จดจำได้ง่ายและชื่อสถานที่หลาย ๆ แห่งแสดงให้เห็นภาพลักษณ์ที่ดีต่อสินค้า เช่น  ปารีส หรือของประเทศอื่น เช่น ฮอลลิวูด เป็นต้น ดังนั้น ประเทศฝรั่งเศสจึงมีการพัฒนาและปรับปรุงกฎหมายต่าง ๆด้านนี้มาโดยตลอด นอกจากนี้นักการเมืองฝรั่งเศสก็ได้พยายามผลักดันกฎหมายและหลักการคุ้มครองในเรื่องนี้ไปสู่ระดับระหว่างประเทศด้วย

                                ในทางปฏิบัติของแต่ละประเทศก็มีข้อจำกัดในการนำชื่อสถานที่มาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าต่างกันออกไป ดังนั้น ในการศึกษาเรื่องนี้ขอแบ่งออกเป็นสองส่วน โดยเริ่มศึกษาจาก การนำชื่อทางภูมิศาสตร์มาเป็นเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายของประเทศฝรั่งเศส และอีกส่วนหนึ่งในกรณีการนำชื่อทางภูมิศาสตร์มาเป็นเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายระหว่างประเทศ

                                อย่างไรก็ดีเพื่อไม่เป็นการสับสนขอกล่าวแต่แรกในที่นี้ว่า กรณีการนำชื่อทางภูมิศาสตร์มาเป็นเครื่องหมายการค้า (L’utilisation de nom géographique comme l’élément constitutive d’une marque) นี้เป็นคนละอย่างกับกรณี สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Les appellations d’origine) และกฎหมายเกี่ยวกับแหล่งที่มาของสินค้า (Les indications de provenance) ซึ่งจะได้กล่าวถึงความแตกต่างต่อไป

 

ส่วนที่ 1 การนำชื่อทางภูมิศาสตร์มาเป็นเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายของประเทศฝรั่งเศส

                                เริ่มแรกกฎหมายเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าที่ออกเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน คศ. 1857 นั้น ไม่ได้บัญญัติเรื่องการนำชื่อทางภูมิศาสตร์มาเป็นเครื่องหมายการค้าไว้[2] และต้องรออีกร้อยกว่าปี จนในปี คศ. 1964 ฝ่ายนิติบัญญัติถึงได้บัญญัติกรณีการนำชื่อทางภูมิศาสตร์มาเป็นเครื่องหมายการค้าไว้ในมาตรา 1[3] แห่งรัฐบัญญัติเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าที่ออกเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม คศ. 1964 แต่กระบวนการในการจดทะเบียนนั้นยังคงเป็นกระบวนการที่ยุ่งยากอยู่

จนกระทั่งรัฐบัญญัติเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าที่ออกเมื่อวันที่ 4 มกราคม 1991 ที่ถูกนำมารวมไว้กับประมวลกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา(Code de la propriété intellectuelle)โดยรัฐบัญญัติออกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 1992 ที่เป็นกฎหมายใช้บังคับในปัจจุบันได้ปรับปรุงกฎหมายในเรื่องเครื่องหมายการค้าใหม่และยังยืนยันหลักการนำชื่อทางภูมิศาสตร์มาเป็นเครื่องหมายการค้าโดยได้บัญญัติถึง หลักในการเลือกชื่อทางภูมิศาสตร์ (เราจะพิจารณาต่อไปในหัวข้อที่หนึ่ง) และข้อจำกัดในการนำชื่อทางภูมิศาสตร์มาเป็นเครื่องหมายการค้าไว้(จะได้กล่าวต่อไปในหัวข้อที่สอง)

 

1.กฎที่เกี่ยวกับการเลือกชื่อทางภูมิศาสตร์

ตามประมวลกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา(Code de la propriété intellectuelle) ได้บัญญัติกฎเกี่ยวกับการเลือกชื่อทางภูมิศาสตร์เพื่อนำมาเป็นเครื่องหมายการค้าไว้ สามารถแยกพิจารณาได้สองส่วน ดังนี้

1.1 หลักในเรื่องการใช้ชื่อทางภูมิศาสตร์มาเป็นเครื่องหมายการค้า

มาตรา L 711-1 แห่งประมวลกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาได้บัญญัติไว้ว่า ชื่อทางภูมิศาสตร์ สามารถถูกนำมาจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้[4]

ดังนั้น ชื่อทางภูมิศาสตร์ที่สามารถนำมาตั้งเป็นเครื่องหมายการค้าได้ จึงอาจจะตั้งขึ้นตามชื่อต่าง ๆ  ดังต่อไปนี้

 

-          ชื่อที่สาธารณะ (un lieu public)

 

-          ชื่อถนน เช่น DROUOT (ชื่อถนนในปารีส) เป็นต้น

 

-          ชื่อเมือง เช่น PARIS DESSERT[5] เป็นต้น

 

-          ชื่อหมู่บ้าน เช่น  HITACHI ในประเทศญี่ปุ่น LONGINES ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และ EVIAN ชื่อหมู่บ้านในแคว้น Haute Savoie ประเทศฝรั่งเศส เป็นต้น

 

-          ชื่อภูมิภาค เช่น Elf Aquitaine และ Lyonnais des Eaux เป็นต้น

 

-          ชื่อแม่น้ำ  เช่น NOKIA เป็นต้น

 

-          ชื่อประเทศ เช่น  «France Telecom», «EDF-GDF», «BRITISH PETROLEUM» และ  «Nippon Steel» [6] เป็นต้น

 

                โดยในการเลือกชื่อทางภูมิศาสตร์นั้น อาจ จะนำมาจากสถานที่ผลิต หรือที่ตั้งของบริษัทก็ได้แต่ต้องไม่เป็นชื่อที่แสดงให้เห็นถึง คุณภาพ ของสินค้า หรือบริการนั้น (เราอาจกล่าวได้ว่า แหล่งที่มาของสินค้าโดยทั่ว ๆ ไป แตกต่างไปจากกรณีแหล่งที่มาที่ที่บ่งบอกคุณภาพของสินค้าในตัว )[7] ตัวอย่างเครื่องหมายการค้า เช่น «Salaisons d’Houdemont»[8]  หมูแฮม(jambon cru)ยี่ห้อ «Aoste»[9], «Dessert Parissien»[10], «Coultellerie de Savoie»[11] , «Tréteau Charentais»[12] , «Le Creusois»[13] และ «Émaux de Briare»[14] ที่ศาลพิจารณาแล้วว่าสามารถนำมาเป็นเครื่องหมายการค้าได้

 

1.2 ขอบเขตของเครื่องหมายการค้า (La Portée)


           
เนื่องจาก ชื่อทางภูมิศาตร์นั้นมีส่วนของ ประโยชน์สาธารณะ(l’intérêt général publique) อยู่ด้วย กล่าวคือ ชื่อทางภูมิศาสตร์นั้นยังคงใช้เป็นชื่อของที่ตั้ง ที่อยู่ของสถานที่ต่าง ๆ ด้วย ดังนั้น สิทธิตามเครื่องหมายการค้าที่ตั้งขึ้นตามชื่อทางภูมิศาสตร์จึงถูกจำกัดกว่าเครื่องหมายการค้ากรณีปกติ โดยผู้มีสิทธิในเครื่องการค้าที่ตั้งขึ้นตามชื่อทางภูมิศาสตร์จะไม่สามารถใช้สิทธิดังกล่าวของตนให้กระทบต่อประโยชน์สาธารณะของชื่อทางภูมิศาสตร์ในการการทำหน้าที่แสดงที่อยู่ ที่ตั้งของสถานที่ต่าง ๆ [15]

ในเรื่องนี้มีตัวอย่างการพิจารณาของศาลฎีกาประเทศฝรั่งเศส โดยห้องการค้า (la chambre commerciale de la cour de cassation) เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม คศ.1982[16] ได้พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ว่า ...เห็นด้วยกับเหตุผลของศาลอุทธรณ์ ว่า บริษัท Baccarat ที่ใช้เครื่องหมายการค้าตามชื่อเมืองว่า Baccarat ในการผลิตคริสตัลของตน  ไม่สามารถห้ามบริษัทคู่แข่งในเมืองดังกล่าวนั้นใช้ชื่อ Baccarat ในฐานะที่ตั้ง...

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าผู้ผลิตได้ประโยชน์จากชื่อสถานที่ เช่น จดจำได้ง่าย แต่ก็ถูกจำกัดสิทธิของตัวเองจากชื่อดังกล่าวได้เช่นกัน  ในส่วนต่อไปจะได้กล่าวถึงข้อห้ามและข้อจำกัดในการเลือกใช้ชื่อทางภูมิศาสตร์

 

2.ข้อจำกัดในการเลือกชื่อทางภูมิศาสตร์

 

แม้ว่ามาตรา L 711-1 แห่งประมวลกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาจะบัญญัติให้สามารถใช้ชื่อทางภูมิศาสตร์มาเป็นเครื่องหมายทางการค้าได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าชื่อทางภูมิศาสตร์ทุกชื่อจะสามารถนำมาเป็นเครื่องหมายการค้าได้

                ตามกฎหมายปี คศ. 1964 ได้กำหนดข้อจำกัดในการนำชื่อภูมิศาสตร์มาเป็นเครื่องหมายการค้าไว้เพียง 2 กรณี คือ ห้ามนำ สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Les appellations d’origine) และชื่อที่ห้ามไว้ตามกฎหมายเกี่ยวกับแหล่งที่มาของสินค้า (Les indications de provenance) มาใช้เป็นเครื่องหมายการค้า

                ในปี 1967 นาย Savignon เลขาธิการของ l’Institut national de la Propriété Industrielle(มีหน้าที่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า)ในขณะนั้น ได้เสนอรายงานในงาน journée d’études ของกลุ่มผู้ผลิต ว่า ไม่สามารถขอจดทะเบียนใช้ชื่อเครื่องหมายการค้าของสินค้าและบริการที่ไม่มีความสัมพันธ์กับแหล่งที่มาเพราะจะทำให้เกิดความเข้าใจผิด เนื่องจากเมื่อใช้ชื่อสินค้าหรือบริการตามชื่อทางภูมิศาสตร์แล้ว ประชาชนจะเชื่อว่าสินค้าหรือบริการนั้นจะมีคุณภาพจากความมีชื่อเสียงของสถานที่นั้น ๆ[17]

                อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติศาลอุทธรณ์เมืองปารีสได้พิพากษาในปี คศ. 1971 ในประเด็นนี้ว่า  ผู้ขอจดทะเบียนสามารถใช้ชื่อเมือง Dundee เป็นเครื่องหมายการค้าของแยมรสส้มได้ แม้ว่าสินค้าดังกล่าวจะไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ กับเมืองนั้นเลย เมื่อศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า ในเมืองดังกล่าวไม่มีการผลิตส้มหรือแยมส้มออกจำหน่าย[18]

                ตามกฎหมายปัจจุบันไม่ใช่ว่าชื่อทางภูมิศาสตร์ทุกชื่อจะสามารถนำมาเป็นเครื่องหมายการค้า เพราะนอกจากจะต้องคำนึงถึงข้อห้ามในการใช้เครื่องหมายทางการค้าทั่ว ๆ ไปแล้ว  ชื่อทางภูมิศาสตร์บางชื่อยังได้ถูกสงวนไว้ตามกฎหมายเฉพาะในเรื่องนั้น ๆ (จะกล่าวต่อไปในหัวข้อที่ 2.1) และถึงแม้ว่าจะไม่ใช่กรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดไว้ตามหัวข้อ 1 แต่ก็ต้องเป็นไปตามกฎในการใช้ชื่อ (จะกล่าวต่อไปในหัวข้อที่ 2.2)

 

2.1 กรณีที่การชื่อทางภูมิศาสตร์มีกฎหมายเฉพาะกำหนดไว้

นอกจากกฎหมายเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าที่บัญญัติถึงการนำชื่อทางภูมิศาสตร์มาใช้กับสินค้าหรือบริการ (L’utilisation de nom géographique comme l’élément constitutive d’une marque)แล้ว  ยังมีกฎหมายอื่น ๆ ที่กำหนดเกี่ยวกับการนำชื่อทางภูมิศาสตร์มาใช้กับสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อีก 3 กรณี โดยแต่ละกรณี กฎหมายจะมีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองต่างกันออกไป ได้แก่ กรณี สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Les appellations d’origine)  กฎหมายเกี่ยวกับแหล่งที่มาของสินค้า (Les indications de provenance) และกฎหมายพิเศษในการคุ้มครองภูเขา (les règles spécifiques concernant la protection de la montagne) ซึ่งจะได้กล่าวถึงข้อห้ามและความแตกต่างต่อไป

   

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

 

คลิ้กเพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ


 

(กลับไปข้างบน) / (กลับไปหน้าแรกเรื่องอยากเล่า) / (กลับไปหน้าแรก)          
 

สงวนลิขสิทธิ์ © 2003 
งานเขียนแต่ละชิ้นเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนแต่ละท่าน 


 

[1] Art. L. 711-2  CPI «Le caractère distinctif d'un signe de nature à constituer une marque s'apprécie à l'égard des produits ou services désignés.
                                Sont dépourvus de caractère distinctif :
                                a) Les signes ou dénominations qui, dans le langage courant ou professionnel, sont exclusivement la désignation nécessaire, générique ou usuelle du produit ou du service ;
                                b) Les signes ou dénominations pouvant servir à désigner une caractéristique du produit ou du service, et notamment l'espèce, la qualité, la quantité, la destination, la valeur, la provenance géographique, l'époque de la production du bien ou de la prestation de service ;
                                c) Les signes constitués exclusivement par la forme imposée par la nature ou la fonction du produit, ou conférant à ce dernier sa valeur substantielle.
                                Le caractère distinctif peut, sauf dans le cas prévu au c, être acquis par l'usage.»

 

[2] O. MENDRAS,«L’evolution du droit Français des marques au cours du XX éme siecle(2e partie)», La revue de Marques, janvier 2000, n°29, p.38.

[3] Loi N° 64-1360 du 31 décembre 1964. Art. 1 « Sont considérés comme marques de fabrique , de commerce ou de service les noms patronymiques, les pseudonymes, les noms géographiques, les dénominations arbitraires ou de fantaisie, la forme caractéristique du produit ou de son conditionnement, les étiquettes, enveloppes, emblèmes, empreintes, timbres, cachets, vignettes, lisières, lisérés, combinaisons ou dispositions de couleurs, dessins, reliefs, lettres, chiffres, devises et, en général, tous signes d'une entreprise quelconque. 

La marque de fabrique, de commerce ou de service est facultative. Toutefois, des décrets en Conseil d'Etat peuvent, exceptionnellement, la déclarer obligatoire pour les produits ou services qu'ils déterminent. ».

 

[4] Art. 711-1 CPI. « La marque de fabrique, de commerce ou de service est un signe susceptible de représentation graphique servant à distinguer les produits ou services d'une personne physique ou morale.
                                Peuvent notamment constituer un tel signe :
                                a) Les dénominations sous toutes les formes telles que : mots, assemblages de mots, noms patronymiques et géographiques, pseudonymes, lettres, chiffres, sigles ;

 ... »

[5] Paris, 6 juillet 1977, Ann.propr.ind 1979.44 ; TGI, Grasse, 15 mars 1988, Ann.propr.ind1990.269 et note P.M. (ville de Vence)

[6] Ph. MALAVAL,«2000 ans d’histoire de la marque»,La revue de Maraues,janvier 2000, n°29, p.33..

[7] Voir Deuxième Partie : Les limites au choix d’un nom géographique , Chapitre 2 : Les limites en droit français, § 4. Jurisprudence ,A. L’indication de provenance ,p. 4

[8] Paris, 6 juin 1980, Ann. 1980.271 et note J.J. BURST .

[9] Paris, 22 october 1979, PIBD 1980.III.28, n°251.

[10] Paris, 12 mai 1982, PIBD 1982.III.152, n°305.

[11]Paris, 6 février 1986, PIBD 1986.III.196, n °391 .

[12] Paris,11 janvier 1980, PIBD 1980.III.50, n °253 .

[13] Paris, 18 mars 1983, Gaz. Pal. 2. Spmm. 344.

[14] TGI, Paris, 25 février 1982, PIBD 1982.III.143, n°304.

[15] G. BONET « La marque constituée par un nom géographique en droit français » JCP éd. E  1990, II ; 15931, p.785.

[16] com. 17 mai 1982, P.I.B.D. 1982,  n° 312, III, 238.

[17] R . Dusolier note sous TA Paris 13 juillet 1973, Gaz. Pal. Du 5 fèvr.1974,p.84

[18] CA Paris, 28 mai 1972 Ann. propr. ind. 1971, p.66

 

(กลับไปข้างบน) / (กลับไปหน้าแรกเรื่องอยากเล่า) / (กลับไปหน้าแรก)

สงวนลิขสิทธิ์ © 2003 
งานเขียนแต่ละชิ้นเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนแต่ละท่าน