ศัพท์กฎหมายฝรั่งเศส

Internet pour le droit

เรื่องอยากเล่า

Salon d'Aix

WEBBOARD

คุยกับดอกแก้ว

จดหมายเหตุ


 

 

ดู TV ฟังวิทยุ อ่าน นสพ.
การ Set เพื่อพิมพ์ไทย
โทรกลับไทย IRADIUM
โทรกลับไทย Telerabais

ที่ตั้งและแผนที่ Aix
การเดินทางและตารางรถ
ตารางรถประจำทางใน AIX
ตารางรถไป Marseille และ Plan de campagne
ตารางรถPays d'Aix ไป Plan
    สภาพอากาศประจำวัน
    ที่ Aix-en-Provence


Webboard

Thaiaixois Gallery
ศัพท์กฎหมายฝรั่งเศส
Internet pour le droit
เรื่องอยากเล่า (วิชาการ)
สภากาแฟ Salon d'Aix
คุยกับดอกแก้ว
จดหมายเหตุ
ส่ง e-cartes  virtuelles d'Aix-en-Provence

(กระทู้)การขอทุนเรียนที่ฝรั่งเศส

การปรับหลักสูตรมหาวิทยาลัยของฝรั่งเศส

คู่มือศึกษาต่อในประเทศฝรั่งเศส (โดยสารสนเทศการศึกษาต่อต่างประเทศ)

คู่มื่อเลือกมหาวิทยาลัยในฝรั่งเศส( Guide Lamy des 3es cycles)

โรงเรียนสอนภาษาฝรั่งเศส IEFEE


มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในฝรั่งเศส

มหาวิทยาลัยใน Aix
Université de Provence 
Université de la Mediterranee

Université Paul Cézanne (Universitéde Droit, d'Economie et des Sciences d'Aix-Marseille3)

สถาบันศึกษาอื่น


ที่พักอาศัย
 - ที่พักของมหาวิทยาลัย
( CROUS)

ที่พักของเอกชน
 
- (Estudines)
 
-  (Citadine)  
 -
หาที่พักกับ adele.org
 - หาที่พักกับ office de tourisme
 - พักที่บ้านพักเยาวชน(Auberge de jeunesse)

การขอเงินช่วยเหลือค่าที่พัก(CAF)


การติดต่อที่จำเป็น

การติดต่อขอใบอนุญาตพักอาศัยในประเทศ(Carte de sejour)
 - เอกสารที่ต้องใช้ 1/ 2 /3
 - ติดต่อ
Prefecture des Bouches-du-Rhone
 - (กระทู้Thaiaixoisที่เกี่ยวข้อง)

การประกันสุขภาพ
 - การติดต่อประกันสุขภาพ
Securite sociale)
 - MEP ประกันสุขภาพของนักเรียน(อายุไม่เกิน 25 ปี)
 - Assurance étudiant (อายุไม่เกิน 40 ปี)

อื่น ๆ
 - การทำงานนอกเวลา
 - การต่ออายุหนังสือเดินทาง


ลิงค์เพื่อนบ้าน
Thai Law Reform
สมาคมนักเรียนไทยในรั่งเศส
เพื่อนไทยในเกรอนอบ
เพื่อนไทยในตูลูส
เพื่อนไทยในลียง
ABC-Bittorrent Client โดย pingpong
เพื่อนไทยในเบลเยี่ยม
สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนฯ
เล่าข้ามฟ้ากับนาย Baguette
Pokpong's
Nujern's homepage
Café Lunar

Cafe Lunar สาขา 2
Le Journal de TAUNG
Artsstudio

 

 

 

การฟ้องศาล, อุทธรณ์, ฎีกา

 

การฟ้องศาลในภาษาฝรั่งเศสสามารถใช้ได้หลายคำ แต่ละคำมีความแตกต่างกัน บางครั้งใช้แทนกันได้ แต่บางครั้งหากเลือกใช้ไม่เหมาะสมทำให้ความหมายเปลี่ยนไปจึงควรใช้ด้วยความระมัดระวัง
 

การฟ้องศาลชั้นต้น มักใช้กริยา Saisir le tribunal หรือ Saisir le juge

    หรืออาจใช้กริยา
Demander เช่น demander le divorce devant le tribunal (ฟ้องหย่า) หรือ
    demander les dommages intérêts
(ฟ้องเรียกค่าเสียหาย)
   
หากต้องการพูดว่า ยื่นฟ้อง(ผู้ใด) จะต้องใช้กริยา assigner quelqu'un devant un tribunal
 

หากเป็นการฟ้องศาลปกครองเพื่อขอเพิกถอนคำสั่งทางปกครองควรใช้คำว่า

   
Déférer un acte administratif au tribunal หรือ
    Attaquer un acte administratif devant le tribunal
 

ในกรณีที่เป็นคดีอาญา ผู้เสียหายไม่สามารถฟ้องศาลได้เอง แต่ต้องเข้าร่วมกับฝ่ายอัยการ ให้ใช้คำว่า
   
constituer la partie civile
 

กรณียื่นคำร้องเพื่อขอให้ศาลพิจารณาอย่างเร่งด่วนจะใช้คำว่า Saisir le juge de référé
 

การอุทธรณ์ ใช้กริยา interjeter appel หรือ
   
déférer le jugement en première instance au juge d'appel หรือ
   
faire appel du jugement en première instance

    อย่างไรก็ดี คำว่า faire appel นอกจากหมายถึงการอุทธรณ์แล้วยังอาจหมายถึง การใช้กระบวนการบางอย่าง หรือคนบางคนเช่น
faire appel aux experts หมายถึง จะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ
 

การฎีกา ใช้กริยา former un pourvoi
    หากเป็นการร้องต่อศาลฎีกาควรใช้คำว่า
former un pourvoi en cassation
   
หากเป็นการร้องต่อศาลปกครองสูงสุดใช้คำว่า
former un pourvoi devant le Conseil d'Etat

 

หน้าหลัก              ดรรชนีคำศัพท์

 

คลิ๊กเพื่อแสดงความเห็น

 

โจทก์, จำเลย

 

ในคดีแพ่ง โจทก์ คือ demandeur หรือ la partie demandresse

    ส่วน จำเลย คือ
défendeur (ไม่ใช่ défenseur ซึ่งหมายถึง ทนาย) หรือ  la partie défendresse

  
เราอาจพบคำว่า les parties หรือ les parties au procès ซึ่งเป็นคำเรียกรวมฝ่ายโจทก์ และจำเลย
 

ส่วนในคดีอาญา เราเรียกจำเลยว่า accusé หรือ prévenu ส่วนคำว่า partie civile ใช้เรียกผู้เสียหาย (victime) ซึ่งเป็นโจทก์ร่วมกับฝ่ายอัยการ


นอกจากนี้ เราอาจพบคำว่า l'intéressé หมายถึง ผู้มีส่วนได้เสีย ชึ่งอาจหมายถึงโจทก์ หรือจำเลยก็ได้

    ในกรณีที่ผู้เสียหายไม่สามารถเป็นผู้ฟ้องได้เอง เช่น เสียชีวิตไปแล้ว เราเรียกทายาทผู้ใช้สิทธิ์ในการฟ้องศาลแทนว่า
l'ayant cause
 

ในกรณีคดีปกครอง มักเรียกผู้ฟ้องว่า le requérant
 

สำหรับผู้อุทธรณ์จะใช้คำว่า l'appelant
    ส่วนผู้ฎีกาให้ใช้คำว่า
l'auteur du pourvoi (en cassation)

 

หน้าหลัก              ดรรชนีคำศัพท์

 

คลิ๊กเพื่อแสดงความเห็น

 

นิติกรรมสัญญา (ประเภท)

 

นิติกรรมสัญญาตามกฎหมายฝรั่งเศสใช้คำว่า Contrat สามารถแบ่งได้เป็นประเภทต่างๆได้หลายวิธีดังนี้
 

contrat nommé  คือ สัญญาที่มีชื่อบัญญัติไว้ตามกฎหมาย พบได้ในประมวลกฎหมายแพ่ง เช่น สัญญาซื้อขาย (vente), สัญญาเช่าทรัพย์ (bail),  สัญญาตัวแทน (mandat), สัญญาให้ (donation), สัญญาจ้างทำของ (contrat d'entreprise) เป็นต้น    

    contrat innomé คือ สัญญาประเภทอื่นๆที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งจะเป็นไปตามหลักอิสระของคู่สัญญา (principe de l'autonomie de volonté)
 

 

contrat synallagmatique คือ สัญญาต่างตอบแทน เช่น สัญญาซื้อขาย ผู้ขายมีหน้าที่ต้องส่งมอบสินค้า ส่วนผู้ซื้อมีหน้าที่ต้องชำระค่าสินค้า

    contrat unilatéral คือ สัญญาฝ่ายเดียว เช่น สัญญาฝากทรัพย์(dépôt)กรณีไม่มีบำเหน็จ ตามกฎหมายฝรั่งเศส สัญญาฝากทรัพย์เกิดขึ้นเมื่อผู้ฝากนำทรัพย์ไปฝากแก่ผู้รับฝาก ดังนั้น ผู้ฝากจึงไม่มีหน้าที่ต้องทำอะไรอีก ส่วนผู้รับฝากมีหน้าที่ต้องรักษาทรัพย์นั้นๆ และนำทรัพย์มาคืนให้
 

 

contrat réel คือ สัญญาที่เกิดขึ้นเมื่อมีการส่งมอบทรัพย์ เช่น สัญญายืม (prêt)

   contrat consensuel คือ สัญญาที่กฎหมายไม่ได้กำหนดแบบไว้ให้ทำตาม สัญญาส่วนมากมักจัดเป็นประเภทนี้ เช่น สัญญาซื้อขายซึ่งเกิดขึ้นเมื่อคำเสนอ (offre) และคำสนอง (acceptation) ตรงกัน เป็นต้น

    contrat solennel คือ สัญญาที่กฎหมายกำหนดแบบไว้ให้ทำตาม เช่น สัญญาก่อนสมรส (contrat de mariage หรือ convention matrimoniale) ซึ่งมาตรา 1394 ของประมวลกฎหมายแพ่งของฝรั่งเศสกำหนดให้ทำต่อหน้า notaire 
 

 

contrat (à titre) onéreux คือ สัญญาที่มีค่าตอบแทน เช่น สัญญาซื้อขาย

   contrat (à titre) gratuit หรือ contrat de bienfaisance คือ สัญญาที่ไม่มีค่าตอบแทน เช่น สัญญาให้
 

 

contrat instantané คือ สัญญาซึ่งเสร็จสิ้นเมื่อมีการกระทำการ หรือชำระหนี้ในครั้งเดียว เช่น สัญญาซื้อขาย

    contrat successif คือ สัญญาซึ่งมีการกระทำการระยะยาว หรือการชำระหนี้หลายงวด เช่น สัญญาเช่าบ้าน หรือ สัญญาจ้างแรงงาน (contrat de travail)

 

 

contrat à durée déterminée (CDD) คือ สัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาไว้ล่วงหน้า

    contrat à durée indéterminée (CDI) คือ สัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา

 

 

contrat de gré à gré คือ สัญญาที่คู่สัญญาตกลงข้อสัญญาร่วมกัน

   contrat d'adhésion คือ สัญญาที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นผู้กำหนดข้อสัญญา อีกฝ่ายเพียงแต่ยอมรับเท่านั้น มักเป็นสัญญาระหว่างผู้บริโภค (consommateur) กับผู้ประกอบอาชีพ (professionnel)
 

 

contrat aléatoire คือ สัญญาที่มีความเสี่ยง สิ่งแลกเปลี่ยนไม่แน่นอน เช่น ลอตเตอรี่

    contrat commutatif คือ สัญญาที่กำหนดสิ่งแลกเปลี่ยนแน่นอน

 

contrat intuitus personnae คือ สัญญาประเภทที่ให้ความสำคัญกับคุณสมบัติของคู่สัญญา เช่น สัญญาจ้างแรงงาน (contrat de travail)
 

หน้าหลัก              ดรรชนีคำศัพท์

 

คลิ๊กเพื่อแสดงความเห็น