ศัพท์กฎหมายฝรั่งเศส

Internet pour le droit

เรื่องอยากเล่า

Salon d'Aix

WEBBOARD

คุยกับดอกแก้ว

จดหมายเหตุ


 

ดู TV ฟังวิทยุ อ่าน นสพ.
การ Set เพื่อพิมพ์ไทย
โทรกลับไทย IRADIUM
โทรกลับไทย Telerabais

ที่ตั้งและแผนที่ Aix
การเดินทางและตารางรถ
ตารางรถประจำทางใน AIX
ตารางรถไป Marseille และ Plan de campagne
ตารางรถPays d'Aix ไป Plan
    สภาพอากาศประจำวัน
    ที่ Aix-en-Provence


Webboard

Thaiaixois Gallery
ศัพท์กฎหมายฝรั่งเศส
Internet pour le droit
เรื่องอยากเล่า (วิชาการ)
สภากาแฟ Salon d'Aix
คุยกับดอกแก้ว
จดหมายเหตุ
ส่ง e-cartes  virtuelles d'Aix-en-Provence

(กระทู้)การขอทุนเรียนที่ฝรั่งเศส

การปรับหลักสูตรมหาวิทยาลัยของฝรั่งเศส

คู่มือศึกษาต่อในประเทศฝรั่งเศส (โดยสารสนเทศการศึกษาต่อต่างประเทศ)

คู่มื่อเลือกมหาวิทยาลัยในฝรั่งเศส( Guide Lamy des 3es cycles)

โรงเรียนสอนภาษาฝรั่งเศส IEFEE


มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในฝรั่งเศส

มหาวิทยาลัยใน Aix
Université de Provence 
Université de la Mediterranee

Université Paul Cézanne (Universitéde Droit, d'Economie et des Sciences d'Aix-Marseille3)

สถาบันศึกษาอื่น


ที่พักอาศัย
 - ที่พักของมหาวิทยาลัย
( CROUS)

ที่พักของเอกชน
 
- (Estudines)
 
-  (Citadine)  
 -
หาที่พักกับ adele.org
 - หาที่พักกับ office de tourisme
 - พักที่บ้านพักเยาวชน(Auberge de jeunesse)

การขอเงินช่วยเหลือค่าที่พัก(CAF)


การติดต่อที่จำเป็น

การติดต่อขอใบอนุญาตพักอาศัยในประเทศ(Carte de sejour)
 - เอกสารที่ต้องใช้ 1/ 2 /3
 - ติดต่อ
Prefecture des Bouches-du-Rhone
 - (กระทู้Thaiaixoisที่เกี่ยวข้อง)

การประกันสุขภาพ
 - การติดต่อประกันสุขภาพ
Securite sociale)
 - MEP ประกันสุขภาพของนักเรียน(อายุไม่เกิน 25 ปี)
 - Assurance étudiant (อายุไม่เกิน 40 ปี)

อื่น ๆ
 - การทำงานนอกเวลา
 - การต่ออายุหนังสือเดินทาง


ลิงค์เพื่อนบ้าน
Thai Law Reform
สมาคมนักเรียนไทยในรั่งเศส
เพื่อนไทยในเกรอนอบ
เพื่อนไทยในตูลูส
เพื่อนไทยในลียง
ABC-Bittorrent Client โดย pingpong
เพื่อนไทยในเบลเยี่ยม
สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนฯ
เล่าข้ามฟ้ากับนาย Baguette
Pokpong's
Nujern's homepage
Café Lunar

Cafe Lunar สาขา 2
Le Journal de TAUNG
Artsstudio

 

 

คลิ๊กเพื่อแสดงความเห็น+ถามคำศัพท์

 

  Grève (n.f.) (กม.แรงงาน)    ารประท้วงหยุดงาน

ามกฎหมายฝรั่งเศส Grève หรือการประท้วงหยุดงาน จัดเป็นสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ (droit à valeur constitutionnelle) และชาวฝรั่งเศสเองก็ใช้สิทธิ์นี้เป็นประจำ จนมีคำกล่าวว่าการประท้วงหยุดงานเปรียบเสมือนกีฬาประจำชาติของฝรั่งเศส

  อย่างไรก็ดี กฎหมายไม่ได้ให้คำจำกัดความของคำนี้ จนในปี 1986 ศาลฎีกา หรือ Cour de Cassation ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า Grève ในคำพิพากษาวันที่ 17 มกราคม 1986 ว่า หมายถึง การนัดหมายหยุดงานพร้อมๆกันของลูกจ้าง เมื่อนายจ้างไม่ทำตามข้อเรียกร้อง

  การประท้วงหยุดงานที่ถูกต้องตามกฎหมายจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข 3 ประการ ดังนี้

    1. จะต้องเป็นการ หยุดงาน (cessation franche) แม้จะเป็นระยะสั้น
            ดังนั้น การที่ลูกจ้างทำงานช้า ทำให้ผลผลิตลดลง จึงไม่จัดเป็นการประท้วงหยุดงาน แต่เป็นการทำงานไม่ดี ไม่เป็นไปตามสัญญาจ้างงาน และนายจ้างอาจลงโทษลูกจ้างได้ การกระทำแบบนี้มักถูกเรียกว่า
Grève perlée ถึงแม้ว่าจะไม่จัดว่าเป็น grève ตามกฎหมาย

    2. จะต้องเป็นการกระทำของหมู่คณะ และมีการนัดหมายกัน (cessation collective et concertée)
           
ตามหลักแล้ว การประท้วงหยุดงานต้องกระทำพร้อมกันโดยลูกจ้างหลายคน อย่างไรก็ดี การประท้วงหยุดงานตามกฎหมายอาจเป็นการกระทำของลูกจ้างคนเดียวได้ เมื่อ
          - บริษัทประกอบด้วยลูกจ้างคนเดียว หรือ

        -การหยุดงานของลูกจ้างคนเดียวนั้นเป็นการ
ทำตามคำเรียกร้องให้ประท้วงหยุดงาน ที่สหภาพแรงงานประกาศในระดับประเทศ(แม้ลูกจ้างคนอื่นในบริษัทเดียวกันจะไม่ยอมหยุดงานด้วยก็ตาม)
 

    3. จะต้องมีข้อเรียกร้องเกี่ยวกับงาน (revendication professionnelle)
           
ลูกจ้างที่จะประท้วงหยุดงาน ต้องยื่นข้อเรียกร้องต่อนายจ้าง อย่างช้าพร้อมๆกับการเริ่มประท้วงหยุดงาน ในกรณีที่เป็นงานบริการสาธารณะ จะต้องมีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า (préavis) โดยสหภาพแรงงาน
            หากข้อเรียกร้องเป็นการเรียกร้องแทนผู้อื่น
(grève de solidarité) โดยที่ลูกจ้างที่ประท้วงหยุดงานไม่มีส่วนได้เสียเลย การประท้วงหยุดงานนั้นจัดว่าผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ส่วนมากการเรียกร้องแทนผู้อื่นอาจได้รับพิจารณาว่ามีส่วนได้เสียร่วมกัน เช่น ลูกจ้างผู้หนึ่งถูกไล่ออกอย่างไม่เป็นธรรม การประท้วงหยุดงานจะถือว่าถูกกฎหมาย เนื่องจากผู้ประท้วงอาจได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมได้ จึงเกิดการประท้วงขึ้นเพื่อเรียกร้องให้นายจ้างปฏิบัติต่อลูกจ้างอย่างเป็นธรรม

หน้าหลัก              ดรรชนีคำศัพท์

 

คลิ๊กเพื่อแสดงความเห็น

 

  Patrimoine (n.m.) (กม.ทั่วไป, กม.แพ่ง)   กองทรัพย์สิน

 

Patrimoine หมายถึง ทรัพย์สิน (biens) ทั้งหมด รวมถึงสิทธิ์ (droits) และหนี้ (obligations) ต่างๆ ที่คนคนหนึ่งเป็นเจ้าของ ทั้งในปัจจุบันและที่อาจป็นเจ้าของได้ในอนาคต
   
Patrimoine ของคนหนึ่งๆจะประกอบด้วย ด้านบวก หรือสิ่งที่มีอยู่ (actifs (n.m.)) และ ด้านลบหรือส่วนที่เป็นหนี้ (passifs (n.m.))
    เราจึงกล่าวได้ว่า คนเราเริ่มมี
Patrimoine ตั้งแต่เกิด ถึงแม้ว่าเวลานั้น เราจะไม่ทรัพย์สินใดๆเป็นชิ้นเป็นอันเลยก็ตาม แต่การที่เราสามารถมีทรัพย์สินได้ในอนาคต ทำให้เรามี Patrimoine ซึ่งเปรียบเสมือนกล่องเปล่าที่สามารถบรรจุสิ่งต่างๆได้ต่อไป

  ตามกฎหมายฝรั่งเศส Patrimoine เป็นสิ่งเดียวที่ไม่สามารถแบ่งได้ (universalité) กฎหมายฝรั่งเศสไม่ยอมรับทฤษฎีการแบ่งกองทรัพย์สินของคนคนเดียวเป็นหลายๆส่วนแยกจากกัน (Théorie du patrimoine d'affectation) ที่แบ่งแต่ละส่วนตามจุดมุ่งหมายพิเศษ เช่น ทรัพย์ส่วนตัว และทรัพย์ที่ใช้ในการทำธุรกิจ เป็นต้น

  ผู้ที่คิดทฤษฎีเกี่ยวกับกองทรัพย์สินของกฎหมายฝรั่งเศสคือนักกฎหมาย 2 คนในสมัยศตวรรษที่ 19 คือ Aubry และ Rau ทฤษฎีดังกล่าวประกอบด้วยหลัก 3 ประการ ดังนี้

    1. Toute personne a un patrimoine.   หมายถึง คนทุกคนมีกองทรัพย์สินของตนเอง

    2. Toute personne n'a qu'un patrimoine.  หมายถึง แต่ละคนมีกองทรัพย์สินเพียงกองเดียวเท่านั้น กองทรัพย์สินไม่สามารถแบ่งได้ (indivisible) ผู้ที่ทำการค้าไม่สามารถแบ่งกองทรัพย์สินของตนเองเป็นส่วนๆ เช่น ทรัพย์สินส่วนตัว และ ทรัพย์สินธุรกิจ ได้ ดังนั้น ผู้ที่ต้องการให้ทรัพย์สินสองส่วนนี้แยกจากกัน จะต้องตั้งบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคล (personne morale) และนำทรัพย์สินส่วนหนึ่งเข้าไปเป็นทุนของนิติบุคคลนั้นๆ บริษัทมีสภาพบุคคลเป็นของตัวเอง เปรียบเสมือนบุคคลคนหนึ่งซึ่งจะมีกองทรัพย์สินเป็นของตัวเอง

    3. Tout patrimoine appartient à une personne.  หมายถึง กองทรัพย์สินทุกกองมีเจ้าของ กองทรัพย์สินของเจ้ามรดกจะตกทอดแก่ทายาท

หน้าหลัก              ดรรชนีคำศัพท์

 

คลิ๊กเพื่อแสดงความเห็น

 

Acte de gouvernement (n.m.)  การกระทำของรัฐบาล (กม. ปกครอง)

คำว่า  "การกระทำของรัฐบาล" หรือ "Act de gouvernement" นี้ ใช้เพื่อเรียก การกระทำที่รัฐบาลทำแล้วศาลปกครองจะไม่สามารถเข้ามาควบคุมหรือตัดสินให้เป็นโมฆะได้

 เพื่อพิจารณาว่าการกระทำใดบ้างเป็นการกระทำของรัฐบาล ในสมัยก่อนศาลปกครองของฝรั่งเศสใช้ ทฤษฎี "มูลเหตุจูงใจทางการเมือง" (Mobile politique) ในการพิจารณา โดยการกระทำที่มาจากเหตุจูงใจทางการเมืองจัดว่าเป็นการกระทำของรัฐบาล และศาลปกครองจะไม่เข้ามาควบคุม

 อย่างไรก็ดี ต่อมาในปี ค.ศ. 1875 ศาลปกครองสูงสุดของฝรั่งเศสได้นำทฤษฎี "มูลเหตุจูงใจทางการเมือง"  (Mobile politique) มาใช้เป็นเหตุยกเลิกการกระทำทางปกครอง (CE 19 février 1875 Prince Napoléon) โดยพิจารณาว่า การกระทำที่มีเหตุจูงใจทางการเมือง ไม่ใช่การกระทำของรัฐบาล แต่เป็นการกระทำทางปกครองที่ไม่ถูกต้อง และต้องเป็นโมฆะ โดยอาจเป็นโมฆะด้วยเหตุใช้อำนาจในทางที่ผิด (détournement du pouvoir) หรือ ใช้กฎหมายผิด (erreur de droit) ั้งนี้เนื่องจากการกระทำทางปกครองจะต้องมีเหตุจูงใจคือผลประโยชน์ส่วนรวม ไม่ใช่เหตุจูงใจทางการเมือง

 ปัจจุบัน เราสามารถแบ่ง "การกระทำของรัฐบาล (Act de gouvernement)" ออกได้เป็น 2 ประเภท (G. CORNU, Vocabulaire juridique, PUF 1987 และ M. LONG, P. WEIL, G. BRAIBANT, P. DELVOLVE และ B. GENEVOIS, Les grands arrêts de la jurisprudence administrative, Dalloz, 2001) ดังนี้

                1. ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ เช่น การตัดสินใจให้ทำประชามติ การประกาศใช้มาตรา 16 ของรัฐธรรมนูญฝรั่งเศสในกรณีวิกฤตโดยประธานาธิบดีจะมีอำนาจในการออกกฎต่างๆ การตัดสินใจยุบสภา การแต่งตั้งหรือถอดถอนรัฐมนตรี การประกาศใช้กฎหมาย เป็นต้น

                2. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่น การเจรจาสนธิสัญญาระหว่างประเทศ การอนุวัติการ การปฏิบัติตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การทหารระหว่างประเทศ

                การกระทำของรัฐบาลไม่สามารถถูกควบคุมโดยศาลปกครอง และรัฐ (ประเทศ) ไม่ต้องรับผิดจากการกระทำของรัฐบาล (สนธิสัญญาระหว่างประเทศไม่ใช่การกระทำของรัฐบาล เนื่องจากสนธิสัญญาไม่ใช่การกระทำของรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่ง ฝรั่งเศสยอมรับว่ารัฐอาจต้องรับผิดจากผลของสนธิสัญญาระหว่างประเทศ และเป็นการรับผิดชอบโดยไม่ต้องมีการพิสูจน์ความผิด (Résponsabilité sans faute))

หน้าหลัก              ดรรชนีคำศัพท์

 

คลิ๊กเพื่อแสดงความเห็น

 

Délégation (n.f.)  การมอบอำนาจ (กม. ทั่วไป)

 Délégation หมายถึง การมอบอำนาจเพื่อกระทำการตามหน้าที่ ใช้ในกรณีที่กฎหมายยอมให้ผู้มีอำนาจหน้าที่มอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทนตนได้ ซึ่งใช้ได้ทั้งกรณีการมอบอำนาจทางกฎหมายเอกชน และกฎหมายมหาชน เข่น กรณีที่ผู้จัดการบริษัทมอบอำนาจให้รองผู้จัดการเป็นผู้อนุมัติการลาของลูกจ้าง หรือ กรณีที่ผู้ว่าการฯ (Préfet) มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่คนใดคนหนึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นต้น

อย่างไรก็ดี คำนี้จะไม่ใช้กับกรณีการมอบอำนาจให้ไปทำนิติกรรม (acte juridique) ซึ่งจะใช้คำว่า "Mandat"

  การมอบอำนาจประเภทนี้ แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ

               
1. Délégation de compétence หรือ Délégation de pouvoir ได้แก่ กรณีที่เมื่อผู้มอบอำนาจ (délégant) มอบอำนาจใดๆให้ผู้รับมอบอำนาจ (délégataire) แล้ว ผู้มอบอำนาจจะไม่มีอำนาจกระทำการดังกล่าวอีก จนกว่าผู้มอบอำนาจจะถอนการมอบอำนาจนั้น ทั้งนี้จะไปกระทบการใดๆที่ผู้รับมอบอำนาจได้กระทำไปภายในขอบอำนาจแล้ว
                    ตามกฎหมายอาญาในกรณีความผิดของนิติบุคคล ผู้บริหารของบริษัทจะพ้นความรับผิดหากพิสูจน์ได้ว่าได้มีการ
"Délégation de pouvoir" ให้กับผู้หนึ่งผู้ใดเพื่อควบคุมดูแลให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในกรณีนี้แล้ว

                2. Délégation de signature การมอบอำนาจประเภทนี้เป็นกรณีที่เมื่อผู้มอบอำนาจ (délégant) มอบอำนาจใดๆให้ผู้รับมอบอำนาจ (délégataire) แล้ว ตัวผู้มอบอำนาจยังคงมีอำนาจกระทำการดังกล่าวอยู่

 Délégation de service public ใช้กับการดำเนินการจัดการบริการสาธารณะ (services publics) ในกรณีที่นิติบุคคลมหาชน(ปกติได้แก่องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น)ซึ่งมีหน้าที่กระทำการตามที่กฎหมายกำหนดได้มอบอำนาจบางอย่างให้กับนิติบุคคลอื่น(ส่วนมากเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน)ภายใต้สัญญาในการดำเนินการจัดการให้บริการสาธารณะนั้น ๆ (เช่น สัญญาสัมปทาน)

            การดำเนินการประเภทนี้โดยมากเป็นการให้บริการสาธารณะเกี่ยวกับอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม (Service public industriel et commercial) อย่างกรณีการให้บริการน้ำประปา อย่างไรตามฝ่ายปกครองไม่สามารถมอบอำนาจให้เอกชนกระทำการใด ๆ ที่โดยเหตุผลหรือตัวกฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายปกครองเท่านั้น (Service public administratif) เช่น การรักษาความปลอดภัยของตำรวจ และการดูแลเกี่ยวกับสภาพบุคคลหรือทะเบียนราษฎร์

 Délégation de vote ใช้ในกรณีที่สมาชิกรัฐสภามอบอำนาจให้สมาชิกด้วยกันเป็นผู้ออกเสียงแทน

            โดยปกติการมอบอำนาจให้ออกเสียงแทนเป็นเรื่องต้องห้ามของรัฐสภา และจะตกเป็นโมฆะ (nul) ตามมาตรา 27 ของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ยกเว้นจะเป็นกรณีที่กำหนดไว้ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ (loi organique) และผู้รับมอบอำนาจจะออกเสียงแทนผู้มอบอำนาจได้ไม่เกิน 1 คน

           ข้อยกเว้นที่ให้มอบอำนาจออกเสียงแทนได้กำหนดไว้ในมาตรา 1 ของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ Ordonnance n° 58-1066 du 7 novembre 1958 แก้ไขโดย Loi organique 62-1 du 3 janvier 1962 (ประกาศ JORF เมื่อ 4 janvier 1962) มี 6 กรณีดังนี้
          1. ป่วย, ประสบอุบัติเหตุ หรือมีเหตุการร้ายแรงกับบุคคลในครอบครัว ที่ทำให้สมาชิกรัฐสภาไม่สามารถเดินทางไปออกเสียงเองได้
           2. ไปปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล

           
 3. ถูกเรียกไปรับราชการทหาร ทั้งในยามสงบและยามสงคราม
           4.  ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐสภาหรือวุฒิสภาให้ไปปฏิบัติหน้าที่ร่วมประชุมในระดับระหว่างประเทศ
           5. ไม่อยู่ในประเทศในขณะเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ
           6.  กรณีเหตุสุดวิสัย ที่รัฐสภาเป็นผู้พิจารณาเป็นกรณีๆไป

           ในการมอบอำนาจของสมาชิกรัฐสภาให้ออกเสียงแทนนี้ มาตรา 2 ของ  Ordonnance n° 58-1066 du 7 novembre 1958 ได้กำหนดว่าจะต้องทำเป็นหนังสือกำหนดชื่อผู้รับมอบอำนาจ (délégué) ระยะเวลาที่มอบอำนาจ(หากไม่กำหนดจะใช้ได้ไม่เกิน 8 วัน นับแต่วันที่แจ้งแก่ประธานฯ แต่สามารถขอขยายระยะเวลาได้)พร้อมด้วยเหตุผลที่ไม่สามารถมาออกเสียงเอง และลงลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจ เสนอต่อประธานสภาที่ตนเป็นสมาชิก ก่อนที่จะมีการเปิดให้ออกเสียงหรือก่อนการออกเสียงครั้งแรกแล้วแต่กรณี

  Délégant หมายถึงผู้มอบอำนาจ ส่วนผู้รับมอบอำนาจมักใช้คำว่า délégataire อย่างไรก็ดี ในบางกรณีมักใช้คำว่า délégué เช่นในกฎหมายแรงงาน เราเรียกผู้แทนลูกจ้างว่า délégué du personnel เป็นต้น

  นอกจากนี้คำว่า délégation ยังสามารถหมายถึงคณะบุคคลที่ได้รับมอบหมายร่วมกันให้เป็นตัวแทนหรือให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใดจากหน่วยงานหนึ่งๆก็ได้
 

หน้าหลัก              ดรรชนีคำศัพท์

 

คลิ๊กเพื่อแสดงความเห็น

 

  Mandat (n.m.) (กม.ทั่วไป, กม.แพ่ง)   การมอบอำนาจ

Mandat คือ การมอบอำนาจ หรือ สัญญาตัวแทน โดยที่ผู้มอบอำนาจ หรือ Mandant มอบหมายให้ผู้รับมอบอำนาจ หรือ Mandataire ทำนิติกรรม (acte juridique) แทนตน

  การมอบอำนาจอาจทำเป็นสัญญา ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ
       
1. Mandat général หมายถึง กรณีที่ผู้มอบอำนาจ มอบหมายให้ผู้รับมอบอำนาจไปกระทำการทุกอย่างแทน
       
2. Mandat spécial หมายถึง กรณีที่ผู้มอบอำนาจระบุไว้ชัดเจนว่าให้ผู้รับมอบอำนาจไปกระทำการใดแทน

  สัญญามอบอำนาจ หรือ สัญญาตัวแทน เป็นสัญญาประเภทที่ให้ความสำคัญกับคุณสมบัติของคู่สัญญา (intuitus personae) ดังนั้น ผู้มอบอำนาจจึงมีอิสระในการบอกเลิกสัญญา (art. 2004 c.civ.) อย่างไรก็ดี ในบางกรณีการบอกเลิกสัญญากะทันหันอาจทำให้มีผลเสียหายต่อผู้รับมอบอำนาจ ดังนั้น กฎหมายฝรั่งเศสจึงกำหนดให้สัญญาบางประเภท เป็น "การมอบอำนาจโดยคู่สัญญามีผลประโยชน์ร่วมกัน" หรือ (mandat d'intérêt commun) และการเลิกสัญญาจะต้องมาจากการตกลงกันของคู่สัญญา สัญญาประเภทนี้ได้แก่ สัญญาตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น

  นอกจากนี้ Mandat หมายถึง อำนาจกระทำการ  ใช้ในความหมาย เช่น เมื่อนาย C ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี นาย C ก็จะมี Mondat présidentiel ในการปฏิบัติหน้าที่ประธานาธิบดี โดยคำที่มักพบได้แก่ 

     - Mandat présidentiel ใช้กับประธานาธิบดี 
     -
Mandat parlementaire ใช้กับสมาชิกรัฐสภา
     -
Mandat social ใช้กับผู้บริหารบริษัท   เป็นต้น

  ในกรณีการมอบอำนาจทางการเมือง หรือ (Mandat politique) มีแนวความคิดอยู่ 2 ทฤษฎี ได้แก่
    
1. Mandat impératif ผู้แทนจะต้องออกเสียงตามที่ผู้เลือกตั้งกำหนด และสามารถถูกถอดถอนโดยผู้ที่เลือกตั้งได้ ทฤษฎีนี้ไม่เป็นที่ยอมรับในฝรั่งเศส และการมอบอำนาจประเภทนี้จะเป็นโมฆะตามรัฐธรรมนูญ (art. 27 Constit.)
    
2. Mandat représentatif หลังจากได้รับเลือกตั้งแล้ว ผู้แทนจะมีอิสระจากผู้เลือกตั้ง

  Mandat ในบางกรณียังอาจหมายถึง คำสั่ง  เช่น
     - Mandat d'amener คือ คำสั่งของผู้พิพากษาไต่สวนให้ตำรวจนำตัวบุคคลหนึ่งมาพบ
     - Mandat de comparution คือ คำสั่งของผู้พิพากษาไต่สวนให้ผู้ต้องสงสัยมาพบตามวันและเวลาที่กำหนด
     - Mandat de dépôt คือ คำสั่งของผู้พิพากษาต่อหัวหน้าเรือนจำให้รับตัวนักโทษไปจำคุก
     - Mandat d'arrêt คือ หมายจับ
 

 

หน้าหลัก              ดรรชนีคำศัพท์

 

คลิ๊กเพื่อแสดงความเห็น

 

 Référendum (n.m.) (กม.รัฐธรรมนูญ, กม.ปกครอง)   ประชามติ หรือ ประชาพิจารณ์

   Réferendum คือ ประชามติ หรือ ประชาพิจารณ์ แล้วแต่กรณีที่กฎหมายกำหนด โดยหากเป็นประชามติ รัฐต้องเคารพผลของ Référendum เช่นกรณีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (Révision de la Constitution) แต่หากเป็นประชาพิจารณ์ ผลของ Référendum จะมีค่าเป็นเพียงความเห็นเท่านั้น เช่นกรณีประชาพิจารณ์ระดับท้องถิ่น(Référendum local)

   Référendum เป็นเครื่องมือของประชาธิปไตยโดยตรง (Démocratie directe) เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้ประชนได้ออกเสียงโดยตรง การใช้ระบบ référendum เพื่อผ่านกฎหมายยังมีใช้กันในปัจจุบัน เช่น ในสหรัฐอเมริกามีใช้ในรัฐ California, Arizona, Massachusetts, Colorado, Nevada และ Michigan เป็นต้น

   รัฐธรรมนูญฝรั่งเศสฉบับปัจจุบัน (ปี 1958) กำหนดการใช้ Référendum ไว้ 3 กรณี ได้แก่

       1. เพื่อรับรองรัฐบัญญัติอนุวัติการตาม
สนธิสัญญาระหว่างประเทศ (มาตรา 11)

      2. เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (มาตรา 89) หากผู้แทนราษฎรเป็นผู้เสนอต้นร่าง หลังจากที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาออกเสียงรับร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแล้วจะต้องจัดประชามติเสมอ แต่หากประธานาธิบดีหรือนายกรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอร่าง ประธานาธิบดีมีอำนาจตัดสินใจโดยอาจเลือกใช้วิธีประชามติ หรือจะส่งร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้รัฐสภา (สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาประชุมร่วมกัน) ออกเสียงอีกครั้ง โดยหากใช้วิธีนี้จะต้องได้รับการเห็นชอบไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของผู้ออกเสียงทั้งหมด (suffrage exprimé)

      3. ใช้โดยองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น เพื่อฟังความเห็นของประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ เกี่ยวกับการออกกฎระเบียบอันอยู่ในขอบเขตอำนาจขององค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นนั้นๆ (มาตรา 72-1) ในกรณีนี้ Référendum เป็นเพียงประชาพิจารณ์เท่านั้น ไม่ใช่ประชามติ
            ประชาพิจารณ์ระดับท้องถิ่นนี้เริ่มมีมาตั้งแต่การปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2003 โดยก่อนหน้านั้นมีเพียง องค์กรระดับ Commune เท่านั้นที่จัดประชาพิจารณ์

      

  เราจะพบคำว่า Réferendum ในกรณีต่าง ๆ เช่น

     - Référendum constituant หมายถึง ประชามติรับร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
     -
Référendum législatif ประชามติรับร่างรัฐบัญญ้ติ

     - Référendum consultatif หมายถึง ประชาพิจารณ์
     - Référendum rectificatif หมายถึง ประชามติ

     - Référendum facultatif หมายถึง ประชามติหรือประชาพิจารณ์ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ทำได้
     -
Référendum obligatoire หมายถึง ประชามติหรือประชาพิจารณ์ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ต้องทำ

    
- Référendum d'initiative populaire หมายถึง ประชามติหรือประชาพิจารณ์ที่ประชาชนเป็นผู้เสนอ (ในประเทศอิตาลี หรือ สวิสเซอร์แลนด์เป็นต้น)

  Référendum จะต่างจากคำว่า Plébiscite โดย Référendum  ะใช้ในกรณีที่ให้ประชาชนออกความเห็นต่อต้นร่างนั้นๆ ส่วน Plébiscite ซึ่งมีความหมายในแง่ลบ หมายถึงการนำ Référendum ใช้เพื่อผ่านร่างกฎหมายโดยอาศัยความเชื่อถือที่ประชาชนมีต่อตัวผู้นำ ไม่ได้แสดงว่าประชาชนเห็นด้วยกับร่างกฎหมายนั้นๆจริงๆ 

 

หน้าหลัก              ดรรชนีคำศัพท์

 

 

คลิ๊กเพื่อแสดงความเห็น