ศัพท์กฎหมายฝรั่งเศส

Internet pour le droit

เรื่องอยากเล่า

Salon d'Aix

webboard

คุยกับดอกแก้ว

จดหมายเหตุ


ดู TV ฟังวิทยุ อ่าน นสพ.
การ Set เพื่อพิมพ์ไทย
โทรกลับไทย IRADIUM
โทรกลับไทย Telerabais

ที่ตั้งและแผนที่ Aix
การเดินทางและตารางรถ

ตารางรถประจำทางใน AIX
ตารางรถไป Marseille และ Plan de campagne
ตารางรถPays d'Aix ไป Plan
    สภาพอากาศประจำวัน
    ที่ Aix-en-Provence


Webboard

Thaiaixois Gallery
ศัพท์กฎหมายฝรั่งเศส
Internet pour le droit
เรื่องอยากเล่า (วิชาการ)
สภากาแฟ Salon d'Aix
คุยกับดอกแก้ว
จดหมายเหตุ
ส่ง e-cartes  virtuelles d'Aix-en-Provence

(กระทู้)การขอทุนเรียนที่ฝรั่งเศส

การปรับหลักสูตรมหาวิทยาลัยของฝรั่งเศส

คู่มือศึกษาต่อในประเทศฝรั่งเศส (โดยสารสนเทศการศึกษาต่อต่างประเทศ)

คู่มื่อเลือกมหาวิทยาลัยในฝรั่งเศส( Guide Lamy des 3es cycles)

โรงเรียนสอนภาษาฝรั่งเศส IEFEE


มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในฝรั่งเศส

มหาวิทยาลัยใน Aix
Université de Provence 
Université de la Mediterranee

Université Paul Cézanne (Universitéde Droit, d'Economie et des Sciences d'Aix-Marseille3)

สถาบันศึกษาอื่น


ที่พักอาศัย
 - ที่พักของมหาวิทยาลัย
( CROUS)

ที่พักของเอกชน
 
- (Estudines)
 
-  (Citadine)  
 -
หาที่พักกับ adele.org
 - หาที่พักกับ office de tourisme
 - พักที่บ้านพักเยาวชน(Auberge de jeunesse)

การขอเงินช่วยเหลือค่าที่พัก(CAF)


การติดต่อที่จำเป็น

การติดต่อขอใบอนุญาตพักอาศัยในประเทศ(Carte de sejour)
 - เอกสารที่ต้องใช้ 1/ 2 /3
 - ติดต่อ
Prefecture des Bouches-du-Rhone
 - (กระทู้Thaiaixoisที่เกี่ยวข้อง)

การประกันสุขภาพ
 - การติดต่อประกันสุขภาพ
Securite sociale)
 - MEP ประกันสุขภาพของนักเรียน(อายุไม่เกิน 25 ปี)
 - Assurance étudiant (อายุไม่เกิน 40 ปี)

อื่น ๆ
 - การทำงานนอกเวลา
 - การต่ออายุหนังสือเดินทาง


ลิงค์เพื่อนบ้าน
Thai Law Reform
สมาคมนักเรียนไทยในรั่งเศส
เพื่อนไทยในเกรอนอบ
เพื่อนไทยในตูลูส
เพื่อนไทยในลียง

ABC-Bittorrent Client โดย pingpong
เพื่อนไทยในเบลเยี่ยม
สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนฯ
เล่าข้ามฟ้ากับนาย Baguette
Pokpong's
Nujern's homepage
Café Lunar

Cafe Lunar สาขา 2
Le Journal de TAUNG
Artsstudio

 

 

สึนามิ เส้นทางสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
                                                                เมอร์ซิเออปองด้า

 

             

พรพล น้อยธรรมราช นักเขียน(เกือบ)อิสระ
ผมคงไม่มีอะไรจะพูด นอกจากคำว่า เสียใจอย่างสุดซึ้ง กับความสูญเสียของพี่น้องคนไทย และชาวต่างชาติ จากคลื่นยักษ์สึนามิ ที่ฝั่งทะเลอันดามัน ขอไว้อาลัย ให้แก่ผู้ที่จากไป อย่างไม่มีวันกลับ และดวงวิญญาณที่เหนื่อยล้าคงได้พักอย่างสงบ


ผมนั่งดูเหตุการณ์ตั้งแต่วันที่เกิดเรื่องจนถึงวันนี้ ยอดผู้เสียชีวิตจากคลื่นสึนามินั้นสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าบางที่บางแห่งจะดูเข้าที่เข้าทางแล้วบ้าง แต่อีกหลายที่ยังเห็นความเป็นนรกบนดินได้อย่างชัดเจน

ดูแล้วเหมือนฝันไป กับแผ่นดินไหวใต้น้ำที่เกาะสุมาตราห่างไทยไปกว่า 400 กิโลเมตร แต่ความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้นำพาตัวเองไปทั้งไทย พม่า มาเลเซีย หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบา ศรีลังกา บังกลาเทศ อินเดีย ไปถึงเคนยา และแทนซาเนีย

นี่คือพลังของธรรมชาติ!!

ปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า ภัยธรรมชาตินั้นเป็นเรื่องไม่ได้เกิดในขอบเขตภูมิศาสตร์ของรัฐใดรัฐหนึ่งเท่านั้น การรับมือกับภัยธรรมชาติได้กลายเป็นเรื่องระดับโลก ระดับพหุภาคีที่ต้องอาศัยระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเข้ามาช่วย ตั้งแต่หน้าเสื่อจนถึงรายละเอียดปลีกย่อย เช่น การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ทั้งทางการเงินและเทคโนโลยี การกู้ภัย การจัดตั้งระบบป้องกันภัย ไปจนถึงการฟื้นฟู การศึกษาร่องน้ำการเดินเรือที่เปลี่ยนแปลงไป การกำหนดค่าต่างๆ ทางภูมิศาสตร์ใหม่

ระบบเศรษฐกิจปัจจุบันที่ผูกโยงกันไว้แทบจะเกือบทั้งโลก เป็นไปไม่ได้ที่ประเทศใดประเทศหนึ่งที่มีผลประโยชน์เชิงรัฐศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์กับประเทศที่ประสบภัยจะเมินเฉยไม่ยอมให้ความช่วยเหลือ เพราะไม่ใช่เพียงประเทศที่ประสบภัยจะสูญเสีย แต่ประเทศที่มีผลประโยชน์ร่วมด้วย ก็สูญเสียโอกาสในการทำมาค้าขายระหว่างกันที่หยุดชะงักลงอย่างกะทันหัน กลายเป็นโดมิโนตามไปด้วย

เช่นการลดลงของผู้โดยสารสายการบินจากญี่ปุ่น ที่จะเข้ามาเที่ยวที่ทางภาคใต้ของไทยหลายเที่ยวบิน อันจะทำให้เกิดการขาดทุนของการบินในหลายเที่ยวบิน เรียกได้ว่าคลื่นยักษ์ชนไทย กระทบไปถึงญี่ปุ่น

ประเทศต่างๆ จึงต้องยื่นมือเข้ามาช่วยเหลืออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะชาติมหาอำนาจ เพราะนอกจากเหตุผลที่จะต้องยื่นความช่วยเหลืออย่างที่กล่าวแล้ว การช่วยเหลือด้วยงบประมาณมหาศาลนั้นยังส่งผลให้ภาพพจน์ของประเทศนั้นเป็นที่น่าเชื่อถือในเวทีโลก อันจะส่งผลถึงค่าเงินของตนที่ต้องอาศัยความเชื่อมั่นจากผู้ถือเงินสกุลนั้นๆ อย่างดอลลาร์สหรัฐ เพราะการที่ภาพพจน์ของอเมริกาในเวทีโลกดูแย่ลง และการที่เงินดอลลาร์มีมากจนล้นตลาดหลังจากมีการเร่งผลิตออกมาใช้จ่ายในการสงคราม การที่จะทำให้คนยังเชื่อมั่นในการถือเงินดอลลาร์อยู่นั้น ก็คือ การแสดงออกถึงความเป็นมหาอำนาจให้ได้ตลอดไป นั่นเป็นเหตุผลหนึ่งที่สหรัฐต้องเพิ่มเงินช่วยเหลือประเทศผู้ประสบภัย

แต่ตัวเลขก็คือตัวเลข การช่วยเหลือในความเป็นจริงจะเป็นอย่างไรก็อีกเรื่องหนึ่งซึ่งอาจจะต้องมีเรื่องการเมืองหรือวาระซ่อนเร้นอะไรเข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง อย่างที่เร็วๆ นี้ทางอิหร่านได้บ่นออกมาเสียงดังถึงการ "เบี้ยว" เงินช่วยเหลือที่ประเทศมหาอำนาจต่างสัญญาเอาไว้ หลังจากอิหร่านประสบภัยแผ่นดินไหวเมื่อปลายปี 2546 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1.5 หมื่นคน

การที่อิหร่านออกมาทวงสัญญาคงหนีไม่พ้นที่จะออกมาเหน็บแนมสหรัฐแอนด์โค ที่ประกาศตัวเลขช่วยเหลือสูงให้คนนับถือ แต่ลับหลังก็เบี้ยวไปซะเฉย ๆ เพราะเรื่องอะไรที่ประเทศอย่างสหรัฐจะเอาเงินไปลงกับศัตรูคู่อาฆาตที่แทบจะไม่มีผลประโยชน์ร่วมกับสหรัฐเลย ส่วนจะหวังไปถึงความช่วยเหลือจากองค์กรระหว่างประเทศนั้น ก็กลายเป็นเรื่องยากเสียแล้ว

ผมได้นั่งอ่านสื่อหลายประเทศหลากสำนักในยุโรป มีประเด็นหนึ่งที่เขาชี้คล้ายๆ กันกับที่ผมรู้สึก ก็คือ บทบาทขององค์กรระหว่างประเทศที่เป็นองค์กรเหนือชาติต่างๆ อย่างสหประชาชาติ WTO IMF เข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือค่อนข้างเชื่องช้า สืบเนื่องมาจากการที่สหรัฐประกาศละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติเอาดื้อๆ เพื่อส่งกองทัพเข้าอิรัก ผลคือ องค์การอย่างสหประชาชาติที่เคยได้รับความเชื่อถือกลายเป็นที่ครหา ขาดความเชื่อมั่นจากนานาชาติ พาลจะไม่มีใครคบ และเจริญรอยตามสันนิบาตชาติเข้าไปทุกที

ประเทศต่างๆ ที่ให้ความช่วยเหลือเองก็ไม่รอที่จะให้องค์กรระหว่างประเทศเหล่านั้นจัดการอะไรแทน (ทั้งๆ ที่ดูน่าจะสามารถจัดการความช่วยเหลือด้านการเงินได้เป็นระบบกว่า) แต่ได้พุ่งความช่วยเหลือเข้ามาด้วยตนเองแบบทวิภาคี

องค์กรเหล่านี้จึงเป็นที่พึ่งได้ก็จำพวกด้านสุขภาพอนามัย โรคติดต่อ เด็กและเยาวชน แต่ถ้าเป็นเรื่องเงินทอง ทุนต่างๆ ชั่วโมงนี้ต้องบอกว่าความช่วยเหลือของแต่ละประเทศมาเร็วกว่า และน่าเชื่อถือน่าคบค้ามากกว่า

ผมอาจจะมองแง่ร้ายเกินไป แต่ถ้ามองในมุมกลับกัน การที่ได้มีโอกาสช่วยเหลือผู้ประสบภัยนั้น ก็เหมือนเป็นโอกาสอย่างหนึ่งของประเทศมหาอำนาจที่จะได้ผูกมิตรให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการกระจายเงินสกุลของตัวเองที่มีอยู่ในมือจำนวนมากให้ไปตกอยู่ในมือคนอื่นบ้าง เป็นโอกาสนำเงินมาหมุนเวียน ทำให้เกิดพลวัต สร้างความเข้มแข็ง และเสถียรภาพของค่าเงินไปในตัว อีกทั้งยังเพิ่มความสามารถในการควบคุมค่าเงินทางอ้อมไปในตัวด้วย

ความจริงเขียนเรื่องนี้ก็ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าสนับสนุนไทยให้มีการค้าขายระหว่างประเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบมองอนาคตไกลๆ ในหลายด้าน

จากมุมมองเรื่องภัยธรรมชาติ ต่อจากนี้ไทยต้องรู้จักคบหามิตรประเทศที่ถูกต้องเหมาะสม มองการณ์ไกลว่าควรจะเลือกคบใครเป็นหลักใครเป็นรอง เพราะการเลือกคบมิตรที่ถูกที่ถูกเวลา เมื่อเวลาเกิดภัย หรือการขอความช่วยเหลือต่างๆ ก็จะมาอย่างถูกที่ถูกเวลาเช่นกัน ไม่มีการอืดอาดยืดยาด รอดูสถานการณ์ถ่วงเวลา เพราะหากประเทศไหนมีการผูกสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับเรามากๆ ประเทศนั้นก็จะไม่ลังเลที่จะทุ่มเงินลงมาช่วยเหลืออย่างเช่นญี่ปุ่น หรือสหรัฐ แต่ถ้ามีการผูกสัมพันธ์น้อย ผลก็จะตรงกันข้าม

ภัยธรรมชาติอย่างสึนามินั้น ยากจะหลีกเลี่ยง เมื่อเกิดภัยธรรมชาติจนถึงขนาดนั้นต้องขอรับความช่วยเหลือจากนานาชาตินั้น ต้องยอมรับว่าผู้ที่จะยื่นมือเข้ามาให้ช่วยเหลือเรา ส่วนใหญ่ก็เป็นประเทศที่เป็นคู่ค้า คู่ผลประโยชน์ และมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ

ฉะนั้นไม่ใช่ว่าเราจะไปขอความช่วยเหลืออย่างเดียว เราเองต้องสร้างบรรยากาศให้ความช่วยเหลือให้ตัวเองด้วย ประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างบรรยากาศการลงทุน และท่องเที่ยวให้เหมือนเดิม ดึงดูดให้ประเทศต่างๆ เข้ามามีสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับเรา ทั้งในเรื่องการค้า การท่องเที่ยว เส้นทางบิน หรือเส้นทางเดินเรือ ซึ่งยิ่งแน่นแฟ้นเท่าไหร่ ความช่วยเหลือก็จะไหลมามากขึ้น

ความช่วยเหลือจากต่างชาติ ไม่ใช่ว่าเราได้มาแบบได้เปล่า แต่เกิดจากการกระทำของเราในอดีตที่รู้จักคบมิตร เพื่อในยามทุกข์เราจะได้รับความช่วยเหลือ

เราเป็นประเทศเล็กๆ ในเวทีโลก การที่จะเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างสุดโต่ง เป็นความเสี่ยงต่ออนาคตของชาติ ถูกแล้วครับที่เราดำเนินนโยบายเป็นกลาง แต่เข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดที่น่าเข้าข้างมาตลอด เพราะมันเป็นทางรอดของประเทศเล็กอย่างเรา

เราไม่สามารถขอให้ประเทศไหนๆ มาช่วยเราได้ แต่เราสามารถสร้างแรงจูงใจให้ประเทศเหล่านั้น ต้องการที่จะเข้ามาช่วยเหลือเราได้ และในที่สุดแล้ว สำหรับไทย ตนก็เป็นที่พึ่งแห่งตนอยู่วันยังค่ำครับ
 

              

(กลับไปข้างบน) /(กลับไปหน้าแรก) / (กลับไปหน้าแรก salon)

                   

 

สงวนลิขสิทธิ์ © 2003 
งานเขียนแต่ละชิ้นเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนแต่ละท่าน