ศัพท์กฎหมายฝรั่งเศส

Internet pour le droit

เรื่องอยากเล่า

Salon d'Aix

webboard

คุยกับดอกแก้ว

จดหมายเหตุ


ดู TV ฟังวิทยุ อ่าน นสพ.
การ Set เพื่อพิมพ์ไทย
โทรกลับไทย IRADIUM
โทรกลับไทย Telerabais

ที่ตั้งและแผนที่ Aix
การเดินทางและตารางรถ

ตารางรถประจำทางใน AIX
ตารางรถไป Marseille และ Plan de campagne
ตารางรถPays d'Aix ไป Plan
    สภาพอากาศประจำวัน
    ที่ Aix-en-Provence


Webboard

Thaiaixois Gallery
ศัพท์กฎหมายฝรั่งเศส
Internet pour le droit
เรื่องอยากเล่า (วิชาการ)
สภากาแฟ Salon d'Aix
คุยกับดอกแก้ว
จดหมายเหตุ
ส่ง e-cartes  virtuelles d'Aix-en-Provence

(กระทู้)การขอทุนเรียนที่ฝรั่งเศส

การปรับหลักสูตรมหาวิทยาลัยของฝรั่งเศส

คู่มือศึกษาต่อในประเทศฝรั่งเศส (โดยสารสนเทศการศึกษาต่อต่างประเทศ)

คู่มื่อเลือกมหาวิทยาลัยในฝรั่งเศส( Guide Lamy des 3es cycles)

โรงเรียนสอนภาษาฝรั่งเศส IEFEE


มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในฝรั่งเศส

มหาวิทยาลัยใน Aix
Université de Provence 
Université de la Mediterranee

Université Paul Cézanne (Universitéde Droit, d'Economie et des Sciences d'Aix-Marseille3)

สถาบันศึกษาอื่น


ที่พักอาศัย
 - ที่พักของมหาวิทยาลัย
( CROUS)

ที่พักของเอกชน
 
- (Estudines)
 
-  (Citadine)  
 -
หาที่พักกับ adele.org
 - หาที่พักกับ office de tourisme
 - พักที่บ้านพักเยาวชน(Auberge de jeunesse)

การขอเงินช่วยเหลือค่าที่พัก(CAF)


การติดต่อที่จำเป็น

การติดต่อขอใบอนุญาตพักอาศัยในประเทศ(Carte de sejour)
 - เอกสารที่ต้องใช้ 1/ 2 /3
 - ติดต่อ
Prefecture des Bouches-du-Rhone
 - (กระทู้Thaiaixoisที่เกี่ยวข้อง)

การประกันสุขภาพ
 - การติดต่อประกันสุขภาพ
Securite sociale)
 - MEP ประกันสุขภาพของนักเรียน(อายุไม่เกิน 25 ปี)
 - Assurance étudiant (อายุไม่เกิน 40 ปี)

อื่น ๆ
 - การทำงานนอกเวลา
 - การต่ออายุหนังสือเดินทาง


ลิงค์เพื่อนบ้าน
Thai Law Reform
สมาคมนักเรียนไทยในรั่งเศส
เพื่อนไทยในเกรอนอบ
เพื่อนไทยในตูลูส
เพื่อนไทยในลียง

ABC-Bittorrent Client โดย pingpong
เพื่อนไทยในเบลเยี่ยม
สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนฯ
เล่าข้ามฟ้ากับนาย Baguette
Pokpong's
Nujern's homepage
Café Lunar

Cafe Lunar สาขา 2
Le Journal de TAUNG
Artsstudio

   


 

P2P : ความท้าทายใหม่ของกฎหมายลิขสิทธิ์
                                                                   โดย จิรวัฒน์ จงสงวนดี
 

(กลับไปหน้าแรก) / (กลับไปสารบัญบทความ)

 

               จากบทความทางกฎหมายของ ดร. Frédéric Sardain ซึ่งมีอาชีพเป็นเป็นทนายความเขียนวิเคราะห์คำพิพากษาไว้ใน Recueil DALLOZ เล่ม 5 ปี 2004 เรื่อง Du déplombage aux logiciels peer-to-peer: l'histoire sans fin? (à propos de l'arrêt KaZaA)...มีประเด็นที่น่าสนใจและพูดถึงหลายประการ เห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจและจะขอนำมาคุยกันในครั้งนี้นะครับ...

                ข้อมูลในที่นี้นอกจากจะมีข้อมูลมาจากบทความด้งกล่าวแล้ว ผู้เขียนได้นำข้อมูลจากบทความตามวารสารอินเตอร์เน็ตของฝรั่งเศส และจากประสบการณ์ของผู้เขียนเองมาประกอบด้วยเพราะเห็นว่า
่าจะเป็นประโยชน์มากกว่าการวิเคราะห์แต่คำพิพากษาเท่านั้น

                โดยจะขอกล่าวออกเป็น 2 ส่วน ในส่วนแรกจะขอกล่าวถึงระบบ P2P ก่อนเพราะ การจะเข้าใจถึงคำพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จักและเข้าใจถึงระบบการทำงานของโปรแกรมนี้ หลังจากนั้นจะได้กล่าวถึงประเด็นตามคำพิพากษาต่อไป

 

P2P

            ในการพิจารณาระบบ P2P นั้นในเบื้องต้นจะกล่าวถึง ระบบ P2P โดยทั่วไปเพื่อให้เข้าใจถึงการทำงานของระบบ และประเภทของโปรแกรม P2P หลังจากนั้นจะได้กล่าวถึงตัว P2P ที่เป็นปัญหาในกรณีนี้ ซึ่งได้แก่โปรแกรม KaZaA ต่อไป

                P2P หรือเรียกในชื่อเต็มว่า peer-to-peer อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า เป็น technology  ว่าด้วยเครื่องติดต่อกันเองโดยไม่ต้องผ่าน server แต่ในทางปฏิบัติบางระบบอาจต่อ server เพื่อขอ list ผู้ใช้รายอื่น

                P2P มีหลายอย่างด้วยกัน เช่น P2P ในการคำนวณก็มีโปรแกรม seti@home  ในกรณีใช้ในการติดต่อสื่อสารหรือ P2P message instant  เช่น โปรแกรม MSN หรือโปรแกรมYahoo messenger ที่เครื่องสองเครื่องสามารถสื่อสารกันได้โดยตรง และ  P2P ที่มีปัญหาที่จะพูดถึงในที่นี้ก็คือ P2P file sharing

P2P file sharing เป็นระบบแบ่งปันไฟล์ข้อมูลหรือโปรแกรมต่าง ๆ ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่ติดต่อเชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่าย โดยในที่นี้จะขอกล่าวถึงระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เนื่องจาก เรื่องที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นกรณีเฉพาะ P2P file sharing  เท่านั้น ต่อไปจึงขอเรียก P2P file sharing สั้น ๆ ว่า P2P


            จากในรูปเมื่อทุกคนเข้าสู่ระบบที่สามารถติดต่อกันได้แล้ว ผู้ใช้แต่ละรายก็จะสามารถเข้าถึงไฟล์ข้อมูล ไฟล์เอกสาร หรือโปรแกรมของกันและกันได้ ซึ่งเมื่อผู้ใช้แต่ละรายสามารถเข้าถึงไฟล์ หรือโปรแกรมดังกล่าวได้แล้ว ก็สามารถที่จะดาว์นโหลดข้อมูลหรือโปรแกรมต่าง ๆ ไปเป็นของตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็น MP3 เกม ภาพยนตร์ หนังสือ คู่มือต่าง ๆเป็นต้น....ส่วนการที่จะเข้าไปถึงข้อมูลของผู้อื่นได้เพียงใดนั้นก็แล้วแต่ P2P แต่ละอัน หรือแต่ละโปรแกรม

            โดยโปรแกรม P2P ที่ได้รับความนิยมจากการจัดลำดับของหนังสือวารสารอินเตอร์เน็ตในฝรั่งเศสล่าสุดเรียงตามความนิยมดังนี้
                                        1.
KaZaA
                                        2. Overnet (eDonkey)
                                        3. WINMX
                                        4. Bit Torrent
                                        5. eCHANBLARD(eMULE)

            จากการทดสอบพบว่าโปรแกรมแต่ละตัวมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

โปรแกรม ระบบค้นหา ความเร็วในการโหลด ปัญหาไวรัสและ spyware ความเห็น
KaZaA เร็ว-ใช้ง่าย เร็ว มี + ไฟล์ปลอม เวอร์ชั่น lite จะพบปัญหาน้อยกว่า
Overnet (eDonkey)

เร็ว

ปานกลาง

มี spyware มาก

-

WINMX

เร็ว

เร็ว

ไม่มี

ไฟล์ยังน้อยเมื่อเทียบกับ KaZaA

Bit Torrent ไม่มี เร็วที่สุด ไม่มี มีเวอร์ชั่นพัฒนาโดยคนไทย
eCHANBLARD(eMULE)

มี

ช้ามาก

ไฟล์ปลอม

การโหลดช้ามาก

            ในที่นี้จะขอกล่าวถึง KaZaA เพราะได้ชื่อว่าเป็น P2P ที่มีชื่อเสียงโด่งดังและเป็นที่นิยมของนักท่องเน็ตสะสมของฟรีทั้งหลาย และเป็นโปรแกรมที่มีคำพิพากษาของศาลสูงเป็นบรรทัดฐานไว้แล้วซึ่งจะเป็นประเด็นในการพูดคุยกันในวันนี้

 

KaZaA  

            KaZaA เป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นโดย Sharman Networks Sharman Networks Limited ที่ตั้งขึ้นในปี 2002 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ Sydney, Australia ซึ่งในเวบทางการของโปรแกรมได้โฆษณาว่ามีการดาว์นโหลดถึง 1.9 ล้านในแต่ละสัปดาห์ โดยปัจจุบันเวบทางการอยู่ที่ 
http://www.kazaa.com/us/index.htm

ผู้ที่ต้องการใช้สามารถดาว์นโหลดโปรแกรมได้ที่เวบดังกล่าว โดยตัวโปรแกรมจะมีทั้งแบบให้ใช้ฟรี และแบบที่ต้องซื้อ

ในแบบให้ใช้ฟรีนั้น ปกติจะมีโฆษณาแทรกมาที่ตัวโปรแกรมดาว์นโหลดด้วย และระบบบางระบบที่เป็นระบบอำนวยความสะด้วยจะถูกตัดออกไป

อย่างไรก็ดีมีนักพัฒนาโปรแกรมได้พัฒนาตัว
lite ขึ้นมาโดยในโปรแกรมดังกล่าวจะตัดโฆษณาและเพิ่มระบบอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เข้ามา โดยสามารถหาดาว์นโหลดได้จากเวบอื่น ๆที่เปิดให้ดาว์นโหลด นอกจากนี้ยังมีตัวเสริมหรือ Plug In อื่น ๆ อีกมาก เพื่อเป็นการเสริมประสิทธิภาพในการทำงานของระบบ

            โดยที่โปรแกรม
KaZaA นี้จะทำให้เครื่องที่เชื่อมโยงกับระบบเครือข่าย(อินเตอร์เน็ต)สามารถมองเห็นไฟล์ของผู้ที่มีโปรแกรม KaZaA เหมือนกัน และสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมดังกล่าวมาเก็บไว้ใช้ได้ ในขณะเดียวกันผู้มีโปรแกรม KaZaA ก็สามารถเข้ามาดาวนโหลดไฟล์หรือโปรแกรมที่เราต้องการแบ่งปันได้เช่นกัน

            วิธีใช้ : เมื่อทำการติดตั้งโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว โปรแกรมจะถามถึงไฟล์ที่เราต้องการแลกเปลี่ยน โดยการกำหนดอาจเลือกแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือโปรแกรมทั้งหมดที่เรามีอยู่ หรือกำหนดให้แลกเปลี่ยนเพียงบางส่วนได้(โดยการระบุโฟลเดอร์หรือตำแหน่งที่อยู่ของไฟล์ที่ต้องการแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น)

            เมื่อทำการติดตั้งและเลือกตำแหน่งแลกเปลี่ยนไฟล์แล้ว(ในกรณีที่มีระบบป้องกันอื่น ๆ เช่น Firewall ต้องระบุให้โปรแกรม KaZaAติดต่อเครือข่ายจึงจะสามารถเชื่อมโยงกับผู้อื่นในระบบอินเตอร์เน็ตได้) ผู้ใช้ก็สามารถที่จะเปิดโปรแกรมขึ้นใช้งานได้

            การค้นหาไฟล์
KaZaA จะมีระบบการค้นหาไฟล์ที่มีประสิทธิภาพสูงและถ้าหากต้องการให้มีการเชื่อมโยงการค้นหากับ google ก็สามารถทำได้ด้วย ซึ่งระบบการค้นหาไฟล์ของ KaZaA นี้นับได้ว่าเป็นจุดแข็งของโปรแกรมนี้เพราะสามารถค้นหาได้อย่างรวดเร็ว และจำนวนมาก(ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันมีจำนวนผู้ใช้โปรแกรมนี้จำนวนมากทำให้จำนวนไฟล์ที่นำมาแบ่งปันกันมีจำนวนที่มากขึ้นตามมาด้วยเช่นกัน)
            เมื่อเลือกชื่อไฟล์ที่ต้องการจะค้นหาแล้วระบบก็จะตรวจสอบจากไฟล์ของผู้ใช้โปรแกรม
KaZaA รายอื่นที่ออนไลน์และเปิดโปรแกรมนี้อยู่ เมื่อKaZaA พบไฟล์ที่ต้องการก็จะแสดงชื่อไฟล์พร้อมทั้งรายละเอียด เช่น ขนาดไฟล์ จำนวนผู้ที่เราสามารถดาว์นโหลดได้ ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล และเวลาที่ต้องใช้ในการดาว์นโหลดโดยประมาณ เป็นต้น

ระบบการค้นหาของโปรแกรมที่ต้องซื้อจะไม่มีโฆษณา และมีระบบพิเศษมาก กว่าโปรแกรมฟรี

ระบบการค้นหาของโปรแกรมฟรี จะเห็นว่ามีโฆษณาที่ด้านล่างซ้าย

 
              การเริ่มดาวน์โหลดไฟล์ เมื่อเลือกได้แล้วก็ดับเบิ้ลคลิ้กที่ไฟล์ที่ต้องการ ระบบก็จะเริ่มการดาวน์โหลดไฟล์จากเครื่องของผู้ใช้รายอื่น
โดยตรง โดยใน 1 ไฟล์อาจจะดาวน์โหลดจากผู้ใช้อื่นหลายคนพร้อม ๆ กัน(ขึ้นอยู่กับจำนวนของผู้ที่มีไฟล์ที่เราต้องการ และจำนวนที่ KaZaA ตรวจพบ)
            ในการดาวน์โหลดครั้งหนึ่ง ๆ สามารถดาวน์โหลดไฟล์พร้อม ๆ กันได้หลายไฟล์ โดย
KaZaA จะแสดงให้เห็นว่าเราดาวน์โหลดจากผู้ใช้ KaZaA รายใดบ้าง(ปกติจะใช้ชื่อปลอมกันทั้งนั้น) และแสดงปริมาณการดาวน์โหลด ความเร็ว เวลาที่เหลือจนกว่าจะดาวน์โหลดเสร็จสิ้น
            อย่างไรก็ดีหากมีการหยุดดาวน์โหลดไฟล์ก่อนที่จะเสร็จสิ้น ผู้ใช้สามารถกลับมาดาวน์โหลดไฟล์ต่อได้จากจุดที่หยุดไปโดยไม่ต้องเริ่มต้นโหลดใหม่ โดยระบบจะค้นหาแหล่งข้อมูลใหม่มาต่อไฟล์ให้ซึ่งอาจจะไม่ได้ดาวน์โหลดจากผู้ที่ให้ดาวน์โหลดรายเดิม เนื่องจากผู้ที่ให้ดาวน์โหลด(ผู้ที่ใช้
KaZaA)รายนั้นอาจออกจากระบบเครือข่ายไปแล้ว

 

 

        จากข้างต้นจะเห็นว่า เป็นกรณีที่ผู้ใช้ทำการแบ่งปันไฟล์กันโดย"ดาวน์โหลดกันเองโดยตรง"เพียงแต่อาศัยเครื่องมือที่เรียกว่าระบบ P2P ซึ่งในที่นี้คือโปรแกรม KaZaA  นั้นเอง

 

ประเด็นทางกฎหมายตามคำพิพากษา

            ในส่วนของประเด็นในทางกฎหมายนี้จะเริ่มพิจารณาถึงกฎหมายและคำพิพากษาของศาลในคดีดังกล่าว แล้วจึงวิเคราะห์ถึงปัญหาที่เกิดจากคำพิพากษานั้น ๆ ต่อไป

        ในส่วนของหลักกฎหมายและคำพิพากษานั้น มีปัญหาข้อกฎหมายในสองส่วนโดยในส่วนแรกจะเป็นประเด็นปัญหาประเทศฝรั่งเศสเกี่ยวกับเรื่องการถอดระบบป้องกันการทำซ้ำโปรแกรมออก(déplombage) และส่วนที่สองคำพิพากษาในคดีเกี่ยวกับการแบ่งปันข้อมูล หรือไฟล์

           โดยประเด็นปัญหาเรื่องการถอดระบบป้องกันการทำซ้ำโปรแกรมออก(déplombage)เป็นประเด็นที่ประเทศฝรั่งเศสมีข้อถกเถียงกันมาตลอดว่าควรจะมีความผิดตามกฎหมายหรือไม่  แม้จะมีคำพิพากษาวางหลักออกมาแล้วก็ตามทั้งนี้เนื่องจาก ทางผู้ผลิตเห็นว่า ควรมีกฎหมายกำหนดโทษกับผู้ที่ทำซ้ำโปรแกรม ส่วนทางผู้ใช้ก็ยังเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องมีการทำซ้ำโปรแกรมบางกรณี เช่น กรณีทีต้องมีการสำรองข้อมูลเพื่อนำกลับมาใช้เมื่อระบบเสียหาย(ซึ่งในกรณีการสำรองข้อมูลในกรณีเช่นนี้กฎหมายก็ได้รับรองไว้อย่างชัดเจนว่าสามารถทำได้)

            โดยในเรื่องนี้ในปี คศ. 1989 ศาลอุทธรณ์แห่งนครปารีสถือว่า การถอดระบบป้องกันการทำซ้ำโปรแกรมออก (déplombage) สามารถทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย(licite) เนื่องจาก ผลของการทำดังกล่าวเกิดขึ้นกับคำสั่งบางส่วนเท่านั้น "ไม่ได้มีการทำซ้ำ" และไม่ใช่อย่างเดียวกันกับการทำของปลอม(contrefaçon) (CA Paris, 13e ch., 2 mars 1989 : " ลำพังการทำให้ระบบการป้องกันของโปรแกรมไม่สามารถใช้ได้ไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นการกระทำปลอมตามกฎหมายที่บังคับอยู่ปัจจุบัน)

            อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกฎหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ โดยการแก้ไขครั้งหลังสุดได้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับลิขสิทธิ์มาบัญญัติไว้ใน Code de la propriété intellectuelle และได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่อง ถอดระบบป้องกันการทำซ้ำโปรแกรมออก (déplombage) ไว้ในมาตรา  L. 122-6-2 ไว้ว่า  "โปรแกรมถอดระบบป้องกันหรือที่ทำให้ระบบป้องกันใช้งานไม่ได้ จะต้องระบุในคำโฆษณาและคู่มือการใช้ว่า การนำโปรแกรมไปใช้อย่างผิดกฎหมายจะต้องถูกลงโทษในฐานปลอมแปลง"

            ถึงแม้ว่า มาตราดังกล่าวจะไม่ได้กำหนดว่าการถอดระบบป้องกันการทำซ้ำโปรแกรมออก(
déplombage)เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม แต่การที่มาตราดังกล่าวกำหนดความผิดไว้เฉพาะ "การนำโปรแกรมไปใช้อย่างผิดกฎหมาย" ทำให้นักกฎหมายฝรั่งเศสตีความว่าจะต้องมีกรณีที่เป็นการนำโปรแกรมดังกล่าวไปใช้อย่างไม่ผิดกฎหมายด้วย ประกอบกับเมื่อย้อนไปพิจารณาตามเจตนารมณ์ของผู้ยกร่างกฎหมายนี้ที่ไม่ได้นำหลักการตามมาตรา 7 ของแนวทางของสหภาพยุโรป (directive communautaire)ปี ค.ศ. 1991 ที่กำหนดให้ลงโทษการถอดระบบป้องกันการทำซ้ำโปรแกรมออก(déplombage)มาบัญญัติไว้อย่างประเทศสมาชิกอื่น ทำให้นักกฎหมายฝรั่งเศสเชื่อว่ากฎหมายนี้ได้ยืนหยัดหลักการเดิมตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์นครปารีสข้างต้นที่ว่าการกระทำดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไว้(โดยเฉพาะ ผู้กระทำจะถูกลงโทษก็ต่อเมื่อการกระทำนั้นเป็นความผิดตามองค์ประกอบความผิดฐานอื่น)( ดู Frédéric Sardain,Du déplombage aux logiciels peer-to-peer: l'histoire sans fin? (à propos de l'arrêt KaZaA), RD n°5, 2004, p.330-331.)

            เมื่อปัจจุบันเป็นที่ยุติแล้วว่าการถอดระบบป้องกันการทำซ้ำโปรแกรมออก (déplombage) สามารถทำได้โดยไม่ผิดกฎหมายตามกฎหมายฝรั่งเศส ปัญหาที่ตามมาก็คือ เมื่อผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่มีโปรแกรม P2P สามารถต่อกับผู้ใช้ P2P รายอื่นเพื่อโหลดโปรแกรมที่ถอดระบบป้องกันการทำซ้ำโปรแกรมออกแล้วและนำมาติดตั้งใหม่ได้ กรณีเช่นนี้กฎหมายจะให้ความคุ้มครองแก่ผู้มีลิขสิทธิ์อย่างไร

            ในกรณีเกี่ยวกับการแบ่งปันข้อมูล หรือไฟล์ต่าง ๆ นั้นศาลประเทศสหรัฐอเมริกาได้พิพากษาลงโทษผู้ผลิตโปรแกรม Napster ที่เป็นโปรแกรมในการแบ่งปันข้อมูล หรือไฟล์ว่ามีความผิดตามกฎหมาย(239 F3d 1004, 9th Cir.2001) อย่างไรก็ดี กรณีโปรแกรม Napster นั้นต่างไปจากกรณีของ P2P กล่าวคือ ระบบโปรแกรมของ Napster นั้นจะมีระบบทางเทคนิกแบบรวมศูนย์ในการควบคุมและดำเนินการแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือไฟล์ ด้วยระบบ "supernodes" (หรือที่เรียกว่า "super nœuds" เป็นระบบที่ผู้ใช้จะนำข้อมูลต่าง ๆ ไปรวมไว้ที่ serveur แล้วเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลจะเป็นคนดูแลดำเนินการนำสู่เครือข่าย Fast Track ต่อไป)ส่วนระบบ P2P ตามที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่าเป็นระบบที่ผู้ใช้แต่ละรายดำเนินการแลกเปลี่ยน(ดาว์นโหลด)ไฟล์จากกันและกันเอง ซึ่งเป็นระบบ protocole MFTP ของเครือข่ายแบบ Fast Track

            ดังนั้น กรณีของ P2P จึงเป็นกรณีที่ต่างออกไป โดยบริษัท Buma-Stemra ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายเพลงรายใหญ่ได้ยื่นฟ้องผู้ผลิตโปรแกรม KaZaA ต่อศาลที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ขอให้หยุดการเผยแพร่โปรแกรม KaZaA  ห้ามพัฒนาโปรแกรมดังกล่าวต่อ และขอให้ควบคุมการแลกเปลี่ยนโปรแกรมให้เป็นไปตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา

            เมื่อวันที่ 28 มีนาคม คศ. 2002 ศาลอุทธรณ์ของเมืองอัมสเตอร์ดัมได้พิจารณาแล้วเห็นว่า โดยที่ทางเทคนิก
KaZaA ไม่สามารถควบคุมการบรรจุไฟล์เพื่อให้ดาวน์โหลดได้เนื่องจากเป็นเรื่องของผู้ใช้แต่ละคนจะเลือกไฟล์ที่ต้องการแลกเปลี่ยนที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้แต่ละรายเอง ดังนั้นจึงเห็นว่า KaZaA ไม่ต้องรับผิดจากการใช้โปรแกรมของตนในทางที่ผิดกฎหมาย ([2002] EIPR N-130)  (ซึ่งต่อมาในประเทศสหรัฐอเมริกาวันที่ 25 เมษายน ค.ศ.2003 ศาลอุทธรณ์ของ District central de Californie ได้มีคำพิพากษาไปในทางเดียวกัน)

            และในที่สุดศาลสูงของประเทศเนเธอร์แลนด์ได้มีคำพิพากษาในคดีนี้เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 2003 โดยได้พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ โดยให้เหตุผลเดียวกัน

            ถือได้ว่าเป็นชัยชนะของผู้พัฒนาโปรแกรม KaZaA ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งจากคำพิพากษาจะเห็นได้ว่านักกฎหมายของเนเธอร์แลนด์ได้มุ่งเน้นกรณีที่ผู้ใช้นำโปรแกรมผิดกฎหมายมาใช้มากกว่าการนำโปรแกรมมาแจกจ่ายกัน ซึ่งในความเป็นจริงนักกฎหมายในยุโรปก็คาดได้ว่าคำพิพากษาจะออกมาเช่นนั้นเมื่อพิจารณาจากแนวทางคำพิพากษาที่ผ่านมาของประเทศในยุโรปเรื่อง การถอดระบบป้องการการทำซ้ำ หรือคำตัดสินในประเทศสหรัฐอเมริกาเรื่อง"การมีส่วนทำให้เสียหาย"

            อย่างไรก็ตาม ในส่วนของนักกฎหมายนั้นเห็นว่า เมื่อการถอดระบบป้องการการทำซ้ำไม่ผิดกฎหมายโดยตัวของมันเอง (เพราะ ไม่ใช่การทำปลอม) และโปรแกรม P2P ก็ไม่ใช่โปรแกรมที่ผิดกฎหมายด้วยตัวของมันเองเช่นกัน (เพราะ สามารถใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลหรือโปรแกรมที่ถูกกฎหมายอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น โปรแกรมที่ให้ใช้ฟรี เป็นต้น )ได้สร้างปัญหาในการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย

            หากศาลสูงของประเทศต่าง ๆ ได้รับแนวคำพิพากษาดังกล่าวของประเทศเธอร์แลนด์มาเป็นหลักในประเทศของตนแล้วผู้ทรงสิทธิ์ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ก็อาจมีภาระในการที่จะรักษาสิทธิตามกฎหมายลิขสิทธิ์เพิ่มขึ้น เพราะ เมื่อการแจกจ่ายโปรแกรมของ P2P ไม่ผิดกฎหมายแล้วการที่จะต้องไปดำเนินการฟ้องร้องเอากับผู้ที่ดาวน์โหลดโปรแกรมที่ผิดกฎหมายไปซึ่งอยู่กระจายทั่วไปก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นอันมากและไม่มีหลักประกันว่าจะชนะในทุกคดี นอกจากนี้ คำพิพากษาของศาลสูงดังกล่าวก็เหมือนกับการเปิดทางให้กับผู้ปลอมแปลงสมัครเล่น

        โดยในทุกวันนี้ผู้ผลิตไฟล์ MP3(ไฟล์เสียงประเภทหนึ่งที่ดัดแปลงจากไฟล์เพลง ทำให้ให้ไฟล์มีขนาดเล็กสามารถจัดเก็บไว้ได้จำนวนมากและสามารถดาวน์โหลดได้เร็วขึ้น) หรือ DivX(ไฟล์ภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจาก VCD หรือ DVDเป็นต้น เพื่อให้ใช้ดูได้ในทุกพื้นที่(all zone)และสามารถดาวน์โหลดได้อย่างรวดเร็ว)ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีจำนวนมาก

        ในประเด็นนี้ ดร. Frédéric Sardain แสดงความเห็นไว้ว่า แม้ในการพิจารณาคดีของศาลเนเธอร์แลนด์ดังกล่าวจะได้ความว่าโปรแกรม P2P สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในกรณีตัวแทนขายอสังหาริมทรัพย์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ หรือกรณีการแลกเปลี่ยนภาพถ่ายของช่างภาพอิสระก็ตาม แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันว่า ผู้ใช้โปรแกรม P2P ส่วนมากมีวัตถุประสงค์ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนไฟล์ที่ผิดกฎหมาย หรือไฟล์โปรแกรมที่ถอดระบบป้องกันการทำซ้ำแล้ว (ซึ่งจากการนี้ทำให้ผู้ผลิตเพลง ภาพยนตร์และโปรแกรมสูญรายได้เป็นจำนวนมาก ) และหากจากสถิติข้างต้นชี้ให้เห็นว่า P2P เป็นต้นเหตุให้เกิดการกระทำที่ผิดกฎหมายอย่างมากมายขนาดนี้แล้ว เราจะสามารถวินิจฉัยได้หรือไม่ว่ากรณีนี้เป็นกรณีเช่นเดียวกับผู้สนับสนุนโดยเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์ให้กระทำความผิด ซึ่งตามแนวทางนี้ได้มีคำพิพากษาไว้ในกรณีของการทำ link โดยศาลไม่ได้ลงโทษในฐานกระทำความผิดปลอมแปลง แต่ลงโทษผู้ทำในฐานะผู้สนับสนุน(ดู F.Sardain "Liens hypertextes", J.-CI. Communication., Fasc. 4730, 2003, n°23)

        นอกจากนี้ดร. Frédéric Sardain ยังแสดงความห่วงใยกรณีการเข้ามาดึงข้อมูลส่วนบุคคลโดยผ่านโปรแกรม P2P ด้งกล่าวอย่างไรก็ตามในเรื่องนี้ได้มีความพยายามที่จะยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลในส่วนนี้แล้ว และตามคำพิพากษาของ CA District of Columbia วันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 2003 ผู้ให้บริการระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไม่สามารถเปิดเผยชื่อของผู้ใช้บริการที่คาดว่าเป็นผู้ล้วงข้อมูล(hacker(E.) : piratage(F.))กับ RIAA

        ในเรื่องของโปรแกรม P2P นี้เป็นเรื่องที่เราจะต้องติดตามกันต่อไป เพราะในปัจจุบันผู้ประกอบการได้พยายามทำทุกวิถีทางที่จะสกัดกั้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือโปรแกรมดังกล่าว โดยทางกฎหมายในฝรั่งเศสได้พยายามเสนอร่างกฎหมายให้การถอดระบบป้องกันการทำซ้ำโปรแกรมออก (déplombage)เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย(ในร่างกฎหมายวรรคแรกของร่างมาตรา L.331-5) ซึ่งน่าติดตามว่าหากการถอดระบบป้องกันการทำซ้ำออกแล้ว แม้จะดาวน์โหลดโปรแกรมหรือข้อมูลต่าง ๆ ไปได้แต่จะไม่สามารถนำไปใช้งานได้ ผลการละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์จะยังคงเหมือนเดิมหรือไม่ เพราะในปัจจุบันแม้ระบบ P2Pจะพบปรากฎการณ์ไวรัสระบาดในระบบ P2P และมีการออกข่าวเกี่ยวกับไวรัสในระบบ P2P ก็ตามแต่จำนวนผู้ใช้ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างมากเนื่องจาก เป็นวิธีที่สามารถใช้โปรแกรมได้โดยไม่ต้องซื้อนั้นเอง

       

(กลับไปข้างบน) /(กลับไปหน้าแรก) / (กลับไปสารบัญบทความ)

 

สงวนลิขสิทธิ์ © 2003 
งานเขียนแต่ละชิ้นเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนแต่ละท่าน 

ตั้งแต่ 6 ตุลาคม 2546