ศัพท์กฎหมายฝรั่งเศส

Internet pour le droit

เรื่องอยากเล่า

Salon d'Aix

webboard

คุยกับดอกแก้ว

จดหมายเหตุ


  ดู TV ฟังวิทยุ อ่าน นสพ.
การ Set เพื่อพิมพ์ไทย
โทรกลับไทย IRADIUM
โทรกลับไทย Telerabais

ที่ตั้งและแผนที่ Aix
การเดินทางและตารางรถ

ตารางรถประจำทางใน AIX
ตารางรถไป Marseille และ Plan de campagne
ตารางรถPays d'Aix ไป Plan
    สภาพอากาศประจำวัน
    ที่ Aix-en-Provence


Webboard

Thaiaixois Gallery
ศัพท์กฎหมายฝรั่งเศส
Internet pour le droit
เรื่องอยากเล่า (วิชาการ)
สภากาแฟ Salon d'Aix
คุยกับดอกแก้ว
จดหมายเหตุ
ส่ง e-cartes  virtuelles d'Aix-en-Provence

(กระทู้)การขอทุนเรียนที่ฝรั่งเศส

การปรับหลักสูตรมหาวิทยาลัยของฝรั่งเศส

คู่มือศึกษาต่อในประเทศฝรั่งเศส (โดยสารสนเทศการศึกษาต่อต่างประเทศ)

คู่มื่อเลือกมหาวิทยาลัยในฝรั่งเศส( Guide Lamy des 3es cycles)

โรงเรียนสอนภาษาฝรั่งเศส IEFEE


มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในฝรั่งเศส

มหาวิทยาลัยใน Aix
Université de Provence 
Université de la Mediterranee

Université Paul Cézanne (Universitéde Droit, d'Economie et des Sciences d'Aix-Marseille3)

สถาบันศึกษาอื่น


ที่พักอาศัย
 - ที่พักของมหาวิทยาลัย
( CROUS)

ที่พักของเอกชน
 
- (Estudines)
 
-  (Citadine)  
 -
หาที่พักกับ adele.org
 - หาที่พักกับ office de tourisme
 - พักที่บ้านพักเยาวชน(Auberge de jeunesse)

การขอเงินช่วยเหลือค่าที่พัก(CAF)


การติดต่อที่จำเป็น

การติดต่อขอใบอนุญาตพักอาศัยในประเทศ(Carte de sejour)
 - เอกสารที่ต้องใช้ 1/ 2 /3
 - ติดต่อ
Prefecture des Bouches-du-Rhone
 - (กระทู้Thaiaixoisที่เกี่ยวข้อง)

การประกันสุขภาพ
 - การติดต่อประกันสุขภาพ
Securite sociale)
 - MEP ประกันสุขภาพของนักเรียน(อายุไม่เกิน 25 ปี)
 - Assurance étudiant (อายุไม่เกิน 40 ปี)

อื่น ๆ
 - การทำงานนอกเวลา
 - การต่ออายุหนังสือเดินทาง


ลิงค์เพื่อนบ้าน
Thai Law Reform
สมาคมนักเรียนไทยในรั่งเศส
เพื่อนไทยในเกรอนอบ
เพื่อนไทยในตูลูส
เพื่อนไทยในลียง

ABC-Bittorrent Client โดย pingpong
เพื่อนไทยในเบลเยี่ยม
สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนฯ
เล่าข้ามฟ้ากับนาย Baguette
Pokpong's
Nujern's homepage
Café Lunar

Le Journal de TAUNG
Artsstudio

 

 

  ผงชูรส  ภัยมืดที่กำลังคุกคามมนุษย์.. .

                                                                                               โดย  ศกลวรรณ จงสงวนดี

 

 ยังคงเป็นหัวข้อถกเถียงกันอยู่ ถึงพิษภัยของผงชูรส ว่า มีโทษหรือไม่ ?

 

ผงชูรสคืออะไร  

ผงชูรส เป็นชื่อกลางที่ใช่เรียกสารประเภทนี้ ซึ่งความจริงแล้วมีหลายชนิด  แต่ที่นิยมใช่กันในอุตสาหกรรมอาหาร คือ โมโนโซเดียมกลูตาเมต (MonoSodium Glutamate) ซึ่งเจ้ากลูตาเมตนี่ เป็นเกลือของกรดอะมิโนชื่อกลูตามิคแอซิค   รศ.ดร.ทรงศักดิ์  ศรีอนุชาติ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวไว้ว่ากรดกลูตามิค เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่ง  จัดเป็นสารสื่อนำประสาท ช่วยกระตุ้นให้ตุ่มรับรสที่ลิ้นไวต่อรสอาหาร จึงทำให้รู้สึกว่าอาหารอร่อย แต่หากใช้ในปริมาณมากเกินไป สารเคมีนี้จะบล็อกระบบรับรส ทำให้ตุ่มรับรสเสีย  โดยปกติแล้วกรดอะมิโนชนิดนี้เป็นองค์ประกอบในอาหารที่เรากิน  และร่างกายสามารถสร้างเองได้ ประวัติเดิมถูกค้นพบโดยคนทางเอเชีย ที่นำสาหร่ายทะเลมาต้ม แล้วรสชาติอาหารจะอร่อยขึ้น ต่อมานักศึกษาญี่ปุ่นได้ทำการศึกษาวิจัยว่า ตัวไหนที่ทำให้อร่อย ก็เลยค้นคว้าแล้วได้ โมโนโซเดียมกลูตาเมต  ที่มีฤทธิ์กระตุ้นปุ่มประสาทที่โคนลิ้นและลำคอ ทำให้รู้สึกว่าอาหารอร่อย

ชนิดของผงชูรส  
   1. ผงชูรสแท้ คือ ในผงชูรส 100 กรัมจะมีสารอื่นได้ไม่เกิน 2  กรัม
 และสารนั้นต้องไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของ ผู้บริโภค เช่น เกลือ น้ำตาล พริกไทย
   2. ผงชูรสผสม คือ ผงชูรสที่มีการผสมสารอื่นที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคในสัดส่วนตั้งแต่ร้อยละ 2 ถึงร้อยละ 50 ของน้ำหนักทั้งหมดของผงชูรส
ผงชูรสปลอม 
 

ผงชูรสปลอม คือผงชูรสที่ถูกปลอมปนด้วยสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น พวกเกลือไพโรฟอสเฟต บอแรกซ์ เป็นต้น  ซึ่งปัญหาผงชูรสปลอมมักมีในอดีต สมัยที่ผงชูรสแพงอยู่ แต่ปัจจุบันนี้ผงชูรสราคาถูกมาก จึงไม่คุ้มหากจะปลอม และถูกจับได้

ผงชูรสที่เป็นของแท้จะมีลักษณะเป็นผลึกขาว ค่อนข้างใส ไม่สะท้อนแสง ผลึกมีลักษณะปลายทั้งสองข้างใหญ่ ตรงกลางคอดรูปกระดูกหรือเป็นลิ่ม เหมือนกระดูก วิธีง่ายๆ ในการตรวจสอบผงชูรส คือเอามาเผา จะมีกลิ่นคล้ายๆ เนื้อไหม้ เป็นกลิ่นของกรดอะมิโน ถ้าผงชูรสปลอมจะเป็นกลิ่น อย่างอื่น

ประโยชน์  

ผงชูรสมีประโยชน์ทำให้รสชาติอาหารดีขึ้น แต่ต้องใส่ในปริมาณที่เหมาะสม  ซึ่งทางการค้า ผู้ผลิตมักใช้ผงชูรสในการลดต้นทุนในการผลิต และเพิ่มรสชาติให้กับอาหาร

พิษภัยจากผงชูรส  

น.พ.สถาพร  วงษ์เจริญ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า โดยด้านความปลอดภัยนั้น ได้มีคณะผู้เชี่ยวชาญทางด้านอาหารระดับนานาชาติ คือ JECFA (joint FAO/WHO Expert Committee on Food Additives) ประเมิณค่าความปลอดภัยของผงชูรส โดยมีการทดสอบทางด้าน ความเป็นพิษแบบเฉียบพลัน พิษเรื้อรัง ผลระบุว่ามีความเป็นพิษต่ำมาก จนไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอันตรายต่อผู้บริโภค

ปัจจุบันองค์การอนามัยโลก ยอมรับว่าผงชูรสไม่อันตราย และไม่มีจำกัดปริมาณในการใช้ผงชูรสไว้ สามารถใส่เท่าไหร่ก็ได้  ทำให้ในอุตสาหกรรมอาหารอาศัยช่องว่างนี้ใส่ในปริมาณที่มากเกินไป  รวมถึงพ่อค้าแม่ค้าที่มักนิยมใช้กันมากๆด้วย ถึงแม้ว่าจะมีข้อมูลงานวิจัยต่างๆออกมาเตือนถึงพิษภัยของผงชูรสอยู่เสมอ ก็ไม่ทำให้ปริมาณในการบริโภคในชีวิตประจำวันลดลงเลย

รศ.ดร.ทรงศักดิ์  ศรีอนุชาติ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ผู้บริโภคผู้ประกอบการควรใช้ผงชูรสในอาหารเท่าที่จำเป็น ดูว่าต้องใส่สารปรุงรสนี้หรือไม่ ซึ่งหากบริโภคพอเหมาะพอควร ไม่เป็นอันตราย ส่วนปริมาณเท่าใดที่จะเหมาะสมนั้น ไม่สามารถบอกได้ เพราะร่างกายของแต่ละคนมีความไวต่อผงชูรสแตกต่างกัน

สำหรับผู้ที่แพ้ผงชูรส  เกิดเนื่องจากระบบประสาทของผู้แพ้ไวกว่าปกตินั่นเอง แม้ได้รับในปริมาณเพียงเล็กน้อยก็จะรู้สึกชาที่ลิ้น ปากและลำคอได้ บางรายมีอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณโหนกแก้ม ต้นคอ หน้าอก หัวใจเต้นช้า ปวดท้อง คลื่นไส้ กระหายน้ำ ฯลฯ เรียกอาการเหล่านี้ว่า โรคภัตตาคารจีน” (Chinese Restaurant Sindrome) แต่ทาง กระทรวงสาธารณสุขก็ได้กำหนดให้ผงชูรสเป็นอาหารควบคุมเฉพาะ ผู้ผลิตผู้นำเข้าต้องได้รับใบอนุญาตการผลิต การนำเข้า และขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร โดยต้องมีคุณภาพมาตรฐานตามกฎหมายกำหนด  และในประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 194 พ.ศ.2543 กำหนดให้ผู้ผลิตอาหารทุกชนิดที่มีผงชูรสเป็นส่วนผสม ต้องแสดงข้อความระบุในฉลากว่า มีผงชูรสหรือโมโนโซเดียมกลูตาเมต เป็นวัตถุปรุงแต่งอาหารด้วย ดังนั้นผู้ที่มีอาการแพ้ผงชูรสก็สามารถสังเกตที่บรรจุภัณฑ์ของอาหารได้ หรือใช้วิธีสั่งอาหารกับพ่อค้าแม่ค้า ว่าไม่ใส่ผงชูรส ด้วยก็ได้

ผงชูรสเป็นกรดอะมิโน ซึ่งเวลาโดนความร้อนสูงๆ เช่น เวลาเราไปหมัก แล้วไปปิ้ง ย่าง เผา มันจะเปลี่ยนเป็นสารก่อมะเร็ง

มีการกล่าวถึงพิษภัยเมื่อบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป  โดย รศ.ดร.พิชัย  โตวิวิชญ์  อดีตหัวหน้าภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุลาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ได้ระบุถึงโทษภัยอันจะเกิดจากการบริโภคผงชูรส ในชุดเอกสารเรื่อง พิษภัยของผงชูรส จำนวน 170 หน้า สามารถอ่านรายละเอียดได้จาก หัวข้อข่าวพิษภัยผงชูรสระวังหด-เซ็กซ์เสื่อม...ผู้จัดการรายวัน(13/11/45)  ซึ่งจะมีโทษโดยสังเขปดังนี้

                                1) พิษภัยแฝงในส่วนที่เกิดจากโซเดียม เนื่องจากผงชูรสมีโซเดียมเป็นองค์ประกอบอยู่แต่ไม่มีรสชาติเค็ม การบริโภคมากเกินไปจะทำให้ภูมิคุ้มกันหรือภูมิต้านทานของร่างกายมนุษย์ลดลง และมีผลต่อผู้ป่วยโรคต่างๆที่แพทย์ห้ามกินเค็ม เช่นโรคไต โรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น

                                2) พิษภัยส่วนที่เกิดจากผงชูรสแท้  เนื่องจากมีฤทธิ์ต่อระบบประสาท หากบริโภคมากเกินไปจะทำลายระบบประสาทส่วนหน้า ส่วนกลาง ประสาทตา (งานวิจัยในประเทศญี่ปุ่นว่าด้วยอันตรายของผงชูรสที่มีในสัตว์ทดลอง หากบริโภคในปริมาณที่สูง อาจทำให้ตาบอดได้) เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ระบบสืบพันธุ์เสื่อมโทรม  ยิ่งถ้ามีอายุน้อยจะเกิดผลร้ายมาก เป็นอันตรายต่อเด็กและหญิงมีครรภ์ ทารกอาจผิดปกติและแท้งได้ เป็นต้น

แม้ว่าร่างกายจะสามารถขับผงชูรสได้ทางปัสสาวะ จะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับกลไกการขับถ่ายของแต่ละคน แต่หากรับประทานมากเกินไป ก็จะส่งผลกระทบและเป็นอันตรายต่อไตได้

 

สรุปว่า  ...  ผงชูรส ไม่ใช่สิ่งจำเป็นในการใช้ปรุงอาหาร เพราะมีอยู่ในวัตถุดิบทั่วไปตามธรรมชาติ  ขึ้นอยู่กับฝีมือของผู้ประกอบอาหาร  และการบริโภคผงชูรสก็ไม่เป็นอันตราย หากบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม แต่ปัญหาของมันน่าจะอยู่ที่ ปริมาณในการบริโภคที่มากเกินไปในแต่ละวัน เพราะในชีวิตประจำวันของคนเรามักจะมีแต่อาหารผงชูรสอยู่เต็มไปหมด   

 

 

เอกสารอ้างอิง

http://www.bpk.ac.th/nurse/m2.html

อ.ย. ยันผงชูรสเมืองไทยปลอดภัย...กรุงเทพธุรกิจ(26/10/45)

พิษภัยผงชูรสระวังหด-เซ็กซ์เสี่ยม...ผู้จัดการรายวัน(13/11/45)

 

 

 

 

 

คลิ้กเพื่อแสดงความเห็นเกี่ยวกับบทความ

 

(กลับไปข้างบน) / (กลับไปหน้าแรกเรื่องอยากเล่า) / (กลับไปหน้าแรก)

สงวนลิขสิทธิ์ © 2003 
งานเขียนแต่ละชิ้นเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนแต่ละท่าน