ศัพท์กฎหมายฝรั่งเศส

Internet pour le droit

เรื่องอยากเล่า

Salon d'Aix

 webboard

คุยกับดอกแก้ว

จดหมายเหตุ


ดู TV ฟังวิทยุ อ่าน นสพ.
การ Set เพื่อพิมพ์ไทย
โทรกลับไทย IRADIUM
โทรกลับไทย Telerabais

ที่ตั้งและแผนที่ Aix
การเดินทางและตารางรถ

ตารางรถประจำทางใน AIX
ตารางรถไป Marseille และ Plan de campagne
ตารางรถPays d'Aix ไป Plan
    สภาพอากาศประจำวัน
    ที่ Aix-en-Provence


Webboard

Thaiaixois Gallery
ศัพท์กฎหมายฝรั่งเศส
Internet pour le droit
เรื่องอยากเล่า (วิชาการ)
สภากาแฟ Salon d'Aix
คุยกับดอกแก้ว
จดหมายเหตุ
ส่ง e-cartes  virtuelles d'Aix-en-Provence

(กระทู้)การขอทุนเรียนที่ฝรั่งเศส

การปรับหลักสูตรมหาวิทยาลัยของฝรั่งเศส

คู่มือศึกษาต่อในประเทศฝรั่งเศส (โดยสารสนเทศการศึกษาต่อต่างประเทศ)

คู่มื่อเลือกมหาวิทยาลัยในฝรั่งเศส( Guide Lamy des 3es cycles)

โรงเรียนสอนภาษาฝรั่งเศส IEFEE


มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในฝรั่งเศส

มหาวิทยาลัยใน Aix
Université de Provence 
Université de la Mediterranee

Université Paul Cézanne (Universitéde Droit, d'Economie et des Sciences d'Aix-Marseille3)

สถาบันศึกษาอื่น


ที่พักอาศัย
 - ที่พักของมหาวิทยาลัย
( CROUS)

ที่พักของเอกชน
 
- (Estudines)
 
-  (Citadine)  
 -
หาที่พักกับ adele.org
 - หาที่พักกับ office de tourisme
 - พักที่บ้านพักเยาวชน(Auberge de jeunesse)

การขอเงินช่วยเหลือค่าที่พัก(CAF)


การติดต่อที่จำเป็น

การติดต่อขอใบอนุญาตพักอาศัยในประเทศ(Carte de sejour)
 - เอกสารที่ต้องใช้ 1/ 2 /3
 - ติดต่อ
Prefecture des Bouches-du-Rhone
 - (กระทู้Thaiaixoisที่เกี่ยวข้อง)

การประกันสุขภาพ
 - การติดต่อประกันสุขภาพ
Securite sociale)
 - MEP ประกันสุขภาพของนักเรียน(อายุไม่เกิน 25 ปี)
 - Assurance étudiant (อายุไม่เกิน 40 ปี)

อื่น ๆ
 - การทำงานนอกเวลา
 - การต่ออายุหนังสือเดินทาง


ลิงค์เพื่อนบ้าน
Thai Law Reform
สมาคมนักเรียนไทยในรั่งเศส
เพื่อนไทยในเกรอนอบ
เพื่อนไทยในตูลูส
เพื่อนไทยในลียง

ABC-Bittorrent Client โดย pingpong
เพื่อนไทยในเบลเยี่ยม
สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนฯ
เล่าข้ามฟ้ากับนาย Baguette
Pokpong's
Nujern's homepage
Café Lunar

Cafe Lunar สาขา 2
Le Journal de TAUNG
Artsstudio

 
 

ระบบหุ้นส่วน บริษัทในประเทศฝรั่งเศส......
(ครั้งที่ 1 การแบ่งประเภท)

                                                                                                                    โดย จิรวัฒน์ จงสงวนดี

 

                        ในการศึกษากฎหมายของประเทศฝรั่งเศสอาจพบเรื่องราวเกี่ยวกับ “ หุ้นส่วน บริษัท” หรือคำต่าง ๆ ที่ เช่น S.A., S.A.S.,S.A.S.U., S.A.R.L. แล้วเกิดความสงสัยว่า ระบบ “หุ้นส่วน บริษัท” ของประเทศฝรั่งเศสเป็นอย่างไร คำพวกนี้คืออะไร ต่างกันอย่างไร ดังนั้น  วันนี้จึงจะขอชวนคุยเกี่ยวกับ “หุ้นส่วน บริษัท” ในประเทศฝรั่งเศส

 

                        ระบบหุ้นส่วนบริษัทของไทยนั้น ถึงแม้ว่าจะมีหลายส่วนเหมือนกับระบบหุ้นส่วนบริษัทของประเทศฝรั่งเศส แต่ก็มีความแตกต่างอยู่มาก หากทำความเข้าใจโดยเทียบว่าเป็นอย่างเดียวกันอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดและสับสนได้ เช่น ประเด็นในเรื่องการควบคุมกิจการ อำนาจ และความรับผิดชอบของหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น ดังนั้น ในชั้นนี้เมื่อกล่าวถึงหุ้นส่วนบริษัทของประเทศฝรั่งเศสจึงขอให้พิจารณาในลักษณะที่แยกออกจากหุ้นส่วนหรือบริษัทในประเทศไทย 

 

            โดยที่หุ้นส่วนบริษัทเป็นนิติบุคคลประเภทหนึ่งเพื่อความเข้าใจจะขอเริ่มจากการแบ่งประเภทของนิติบุคคล(personne morale)ในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเข้าไปพูดคุยในรายละเอียดต่อไป

 

การแบ่งประเภทของนิติบุคคลในประเทศฝรั่งเศส                    

 

                        นิติบุคคลนั้นสามารถแยกออกได้หลายประเภทซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีความแตกต่างกันออกไป   เพื่อความเข้าใจในเรื่องของหุ้นส่วน บริษัท จำเป็นที่จะต้องกล่าวถึงการแบ่งประเภทของ “นิติบุคคล” ในประเทศฝรั่งเศสก่อน อย่างไรก็ดีในการแบ่งประเภทของนิติบุคคลในประเทศฝรั่งเศสนั้นสามารถแบ่งได้หลายวิธี  ในที่นี้ขอแยกโดยการพิจารณาตามประเภทของกฎหมายที่ใช้กับนิติบุคคลนั้น ๆ จะสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

 

                        ประเภทแรก  นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน (les personnes morales de droit public) ได้แก่ กลุ่มบุคคลที่ใช้อำนาจรัฐ(puissance publique)ซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมายปกครองรัฐ และการพิจารณาคดีของศาลคดีปกครอง(juridiction d’ordre administratif) เช่น รัฐ(État et ses subdivisions) องค์กรของรัฐ(Établissements publics) เช่น มหาวิทยาลัยหรือโรงพยาบาลของรัฐ นอกจากนี้แล้วยังรวมถึง GIP หรือ Groupement d’Intérêt Public : loi de 1982 (ได้แก่ กลุ่มของนิติบุคคลที่รวมกันตั้งแต่สองนิติบุคคลขึ้นไป  อาจก่อตั้งขึ้นระหว่างนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนกับนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน หรือระหว่างนิติบุคคลบุคคลตามกฎหมายมหาชนด้วยกันเอง มีสภาพนิติบุคลทางกฎหมายใหม่และมีระบบการเงินเป็นอิสระของตนเอง เพื่อทำกิจกรรมที่มีลักษณะพิเศษเป็นการบริการสาธารณะร่วมกันตามที่กฎหมายกำหนดในระยะเวลาที่กำหนด  เช่น การทำวิจัย   การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี กีฬา วัฒนธรรม และเยาวชน เป็นต้น และเพื่อการสร้างหรือเพื่อจัดการเกี่ยวกับอุปกรณ์หรือการบริการที่สำคัญ ร่วมกันในกิจการบริการสาธารณะดังกล่าว

 

                        ประเภทที่สอง ได้แก่ นิติบุคคลแบบผสม (les personnes morales de droit mixte) ได้แก่ กลุ่มบุคคลซึ่งประกอบจากองค์ประกอบของกฎหมายมหาชนและเอกชน ดังนี้

                                    (1)  นิติบุคคลมหาชนที่อยู่ภายใต้กฎหมายแพ่ง  โดยกิจกรรมของนิติบุคคลนี้ได้พัฒนามาจากการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐตามปกติ มาปฏิบัติในทางเศรษฐกิจและการค้า เช่น Société d’Économie Mixte ที่เรียกโดยย่อว่า  SEM ซึ่งประเภทนี้รัฐจะถือหุ้นใหญ่  หรือ  Etablissement public industriel et commercial หรือ EPIC  ซึ่งจะเป็นกรณีที่รัฐมาทำธุรกรรมในทางอุตสาหกรรม หรือการค้า เช่น การไฟฟ้าและก๊าซแห่งประเทศฝรั่งเศส (EDF) การรถไฟแห่งประเทศฝรั่งเศส (SNCF) เป็นต้น

                                    (2) นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนที่อยู่ภายใต้กฎหมายมหาชน เช่น กลุ่มองค์กรทางวิชาชีพ เช่น ทนายความ หรือแพทย์ เป็นต้น  ซึ่งเป็นกลุ่มวิชาชีพที่ต้องมีการขึ้นทะเบียนวิชาชีพ เพื่อประโยชน์ของการวงการวิชาชีพนั้น ๆ (assurer la «police interne de la profession»)

 

                        ประเภทที่สาม ได้แก่ นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน (les personnes morales de droit privé)  ซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมายแพ่ง และการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรม สามารถแยกได้เป็น

                                    (1) กลุ่มของบุคคล (les groupements des personnes) จะเป็นการรวมกันของบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล(ในทางปฏิบัติมีน้อย)ตั้งแต่สองคนขึ้นไป แยกเป็น


                                               
(1.1) กลุ่มที่ตั้งขึ้นเพื่อแสวงหากำไร(but lucratif) ได้แก่ กลุ่มบุคคลตั้งแต่สองขึ้นนำทรัพย์สินมาร่วมกันหรือการทำงานร่วมกันเพื่อนำผลประโยชน์ที่ได้รับมาแบ่งปันกัน หรือเพื่อผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจที่จะได้รับ  แบ่งเป็น


                                                           
(1.1.1) หุ้นส่วน บริษัทเอกชน(société civile)
                                                            ได้แก่ หุ้นส่วน หรือบริษัทที่ตั้งขึ้นโดยวัตถุประสงค์ในทางแพ่ง ไม่ใช่เพื่อวัตถุประสงค์ในการทำการค้า เช่น ห้างหุ้นส่วนที่จัดตั้งเพื่อจัดการเกี่ยวกับกิจการเกษตรกรรม(เกษตรกรถือว่าเป็นผู้ผลิตแม้จะผลิตไปขายต่อก็ไม่ถือเป็นพ่อค้า เพราะการจะเป็นพ่อค้าต้องมีการกระทำ
actes de commerce เช่น การซื้อมาเพื่อขายต่อ การธนาคาร การซื้อขายหุ้น การให้ประกัน และกิจการนายหน้า เป็นต้น) อย่างไรก็ดีอาจมีลักษณะของการแบ่งปันผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจระหว่างสมาชิกได้ 
 อาจจัดตั้งตามกฎหมายทั่วไป(des société des droit commun) และเกิดจากกฎหมายพิเศษ เช่น S.C.P. (Société Civile Professionnelle หรือ บริษัทประกอบวิชาชีพ SCP ทนายความ), S.C.I. (Société Civile Immobilière ซึ่งเป็นกรณีที่ร่วมลงทุนในการสร้างตึกโดยให้หุ้นส่วนมีผลประโยชน์ในตึกนั้น แม้จะดูว่าควรจะเป็นเรื่องทางการค้าแต่เนื่องจากเป็นสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่โดยลักษณะแล้วถูกพิจารณาเป็นเรื่องทางแพ่งมาตลอด ดังนั้น ในเรื่องนี้จึงถูกนำแยกมาไว้รวมกับสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ด้วย)

                                                            (1.1.2) หุ้นส่วน บริษัทการค้า(société commerciale)
                                                           
ได้แก่ หุ้นส่วนหรือบริษัทที่จัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการทำการค้า เช่น
SNC, SCS,SA เป็นต้น บริษัทต่าง ๆ ที่เราจะพูดคุยนี้เป็นบริษัทที่อยู่ในจำพวกบริษัทการค้า หรือ société commercialeเป็นไปตามมาตรา 110-1 แห่งประมวลกฎหมายการค้า (code de commerce) ซึ่งแยกได้เป็น

ห้างหุ้นส่วน(บุคคลเป็นสำคัญ)
(
Société des personnes)

บริษัท(ทุนเป็นสำคัญ)
(Société des Capitaux)

แบบผสม : S.A.R.L

 

                       + ห้างหุ้นส่วน (Société des personnes เป็นกลุ่มบริษัทที่ตัวหุ้นส่วนมีความสำคัญเพราะ เป็นกลุ่มที่บุคคลต้องรับผิดชอบในหนี้ร่วมกับบริษัท เช่น

                                    - SNC(Société en Nom Collectif)
                                    -
SCS (Société en Commandite Simple)

                        + บริษัท (Société des Capitaux) เป็นการนำทุนมารวมกัน โดยบริษัทประเภทนี้คุณสมบัติของผู้ถือหุ้น(actionnaires)จะไม่ใช่สาระสำคัญ และหุ้นส่วนไม่ต้องรับผิดในหนี้ของบริษัทเกินกว่าหุ้นของตน เช่น

                                    -SA (Société Anonyme)
                                    -
SAS (Société par actions simplifiées)
                                    -SCA (Société en commandite par actions)

                        + บริษัทแบบผสมเป็นทั้งการรวมของบุคคลและการรวมกันของทุน

                                    -des SARL( Société à responsabilité limitée)
                                    -des EURL (Entreprise unipersonnelle à responsabilité limitée)

 

ห้างหุ้นส่วน(บุคคลเป็นสำคัญ)
(
Société des personnes)

บริษัท(ทุนเป็นสำคัญ)
(Société des Capitaux)

ได้แก่ - SNC(Société en Nom Collectif) อาจเทียบได้กับห้างหุ้นส่วนสามัญ
         - SCS (Société en Commandite Simple)อาจเทียบได้กับห้างหุ้นส่วนจำกัด
 

+สภาพของหุ้นส่วน(les associés)แต่ละคนมีลักษณะเฉพาะตัว(l'intutius personae)ส่วนสำคัญจะขาดคนใดคนหนึ่งไม่ได้

+การจะโอนหุ้นจะต้องได้รับความยินยอมจากหุ้นส่วนคนอื่น

+หุ้นส่วนของ SNC และหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดของ SCS (les commandités de SCS) ถือว่าเป็นพ่อค้า และต้องร่วมรับผิด(est solidaire)ในหนี้ของห้างฯ อย่างไม่จำกัด
 

ได้แก่  -SA (Société Anonyme)
            -
SAS (Société par actions simplifiées)
            -SCA (Société en commandite par actions)

+ตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ใช่ส่วนสำคัญ(indifférente) ตัวผู้เป็นหุ้นส่วนอาจไม่รู้จักกันก็ได้

+สิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นไปที่กำหนดไว้ในใบหุ้น(actions négociables)

+ในหนังสือบริคณห์สนธิ(les statuts)สามารถกำหนดว่าการโอนให้บุคคลที่สามต้องได้รับความยินยอมจากผู้ถือหุ้นอื่นก่อนได้

+ผู้เป็นหุ้นส่วนของ S.A. ได้แก่ ผู้ถือหุ้น(actionnaires)จะรับผิดไม่เกินจำนวนทุนในส่วนของ(leur apport) และไม่ถือว่าเป็นพ่อค้า

แบบผสม : S.A.R.L

+ผู้ถือหุ้นรับผิดไม่เกินทุนที่ตนนำมาลงไว้
+หุ้นสามารถโอนได้ แต่ไม่ใช่แบบ négociable(หุ้นประเภทนี้สามารถโอนให้แก่กันได้ง่ายและเร็วกว่าการโอนด้วยวิธีทางกฎหมายแพ่ง)


                                                (1.2) กลุ่มที่ตั้งขึ้นไม่แสวงหากำไร(
but non-lucratif)
                                                            (1.2.1) สมาคม(
associations) นิยามโดย la loi du 1 juillet 1901 ที่กำหนดเรื่อง เสรีภาพในการสมาคม โดยที่เนื้อหาเป็นการรวมกันของกลุ่มบุคคลธรรมดาที่มีลักษณะร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมีกิจกรรมร่วมกันเพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่ไม่ใช่เป็นการแสวงหากำไร

ความแตกต่างระหว่างหุ้นส่วนกับบริษัท

ลักษณะการแสวงหากำไร
และ
มีการแบ่งผลประโยชน์
=
หุ้นส่วนบริษัท(société)

ลักษณะไม่แสวงหากำไร
และ
ไม่มีการแบ่งผลประโยชน์
=
สมาคม(associations)

                                                (1.2.2) สหภาพแรงงาน(syndicats professionnels) ตั้งขึ้นเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของคนในกลุ่มเช่น กลุ่มลูกจ้าง เป็นต้น โดยจะยังไม่มีสภาพบุคคลตามกฎหมายจนกว่าจะได้จดทะเบียนที่ mairie โดยกลไกการดำเนินการต่าง ๆ เป็นไปตามกฎหมายแรงงาน

                                                            (1.2.3) กลุ่มทางศาสนา (
congrégations religieuses) เป็นส่วนทีสองของโบสถ์สร้างก่อตั้งโดยปราศจากอำนาจรองรับ แต่อย่างไรก็ดีจะมีสภาพเป็นนิติบุคคลได้ก่อต่อเมื่อมี décret ของ Conseil d'Etat ออกมากำหนดให้มีสภาพนิติบุคคล

                        (2) กลุ่มทางทรัพย์สิน(les groupments des biens) กรณีที่เจ้ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนำทรัพย์สินของตนไปให้จัดการ ทั้งนี้อาจเป็นกรณีที่เจ้าของทรัพย์ยังมีชีวิตอยู่ เช่น การตั้งมูลนิธิ (fondation)

                            อย่างไรก็ดีหากเป็นกรณีที่กองทุน (faire une donation)หรือ กองมรดก(legs)ซึ่งเป็นกรณีบุคคลธรรมดานำทรัพย์สินเพื่อให้จัดการตามที่กำหนดไว้ กรณีนี้จะไม่ใช่นิติบุคคล

 

เมื่อรู้จักการแบ่งประเภทของนิติบุคคลในฝรั่งเศสแล้ว ในครั้งหน้าจะขอกล่าวถึงหุ้นส่วน บริษัทการค้า(société commerciale)ว่าแต่ละอันมีความแตกต่างกันอย่างไรนะครับ...
 

(กลับไปข้างบน)/(กลับไปสารบัญบทความ)/(กลับไปหน้าแรก)