ศัพท์กฎหมายฝรั่งเศส

Internet pour le droit

เรื่องอยากเล่า

Salon d'Aix

 webboard

คุยกับดอกแก้ว

จดหมายเหตุ


ดู TV ฟังวิทยุ อ่าน นสพ.
การ Set เพื่อพิมพ์ไทย
โทรกลับไทย IRADIUM
โทรกลับไทย Telerabais

ที่ตั้งและแผนที่ Aix
การเดินทางและตารางรถ

ตารางรถประจำทางใน AIX
ตารางรถไป Marseille และ Plan de campagne
ตารางรถPays d'Aix ไป Plan
    สภาพอากาศประจำวัน
    ที่ Aix-en-Provence


Webboard

Thaiaixois Gallery
ศัพท์กฎหมายฝรั่งเศส
Internet pour le droit
เรื่องอยากเล่า (วิชาการ)
สภากาแฟ Salon d'Aix
คุยกับดอกแก้ว
จดหมายเหตุ
ส่ง e-cartes  virtuelles d'Aix-en-Provence

(กระทู้)การขอทุนเรียนที่ฝรั่งเศส

การปรับหลักสูตรมหาวิทยาลัยของฝรั่งเศส

คู่มือศึกษาต่อในประเทศฝรั่งเศส (โดยสารสนเทศการศึกษาต่อต่างประเทศ)

คู่มื่อเลือกมหาวิทยาลัยในฝรั่งเศส( Guide Lamy des 3es cycles)

โรงเรียนสอนภาษาฝรั่งเศส IEFEE


มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในฝรั่งเศส

มหาวิทยาลัยใน Aix
Université de Provence 
Université de la Mediterranee

Université Paul Cézanne (Universitéde Droit, d'Economie et des Sciences d'Aix-Marseille3)

สถาบันศึกษาอื่น


ที่พักอาศัย
 - ที่พักของมหาวิทยาลัย
( CROUS)

ที่พักของเอกชน
 
- (Estudines)
 
-  (Citadine)  
 -
หาที่พักกับ adele.org
 - หาที่พักกับ office de tourisme
 - พักที่บ้านพักเยาวชน(Auberge de jeunesse)

การขอเงินช่วยเหลือค่าที่พัก(CAF)


การติดต่อที่จำเป็น

การติดต่อขอใบอนุญาตพักอาศัยในประเทศ(Carte de sejour)
 - เอกสารที่ต้องใช้ 1/ 2 /3
 - ติดต่อ
Prefecture des Bouches-du-Rhone
 - (กระทู้Thaiaixoisที่เกี่ยวข้อง)

การประกันสุขภาพ
 - การติดต่อประกันสุขภาพ
Securite sociale)
 - MEP ประกันสุขภาพของนักเรียน(อายุไม่เกิน 25 ปี)
 - Assurance étudiant (อายุไม่เกิน 40 ปี)

อื่น ๆ
 - การทำงานนอกเวลา
 - การต่ออายุหนังสือเดินทาง


ลิงค์เพื่อนบ้าน
Thai Law Reform
สมาคมนักเรียนไทยในรั่งเศส
เพื่อนไทยในเกรอนอบ
เพื่อนไทยในตูลูส
เพื่อนไทยในลียง

ABC-Bittorrent Client โดย pingpong
เพื่อนไทยในเบลเยี่ยม
สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนฯ
เล่าข้ามฟ้ากับนาย Baguette
Pokpong's
Nujern's homepage
Café Lunar

Cafe Lunar สาขา 2
Le Journal de TAUNG
Artsstudio

 

 

ผลของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดีรัฐธรรมนูญ
ที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา[1]
 

 โดย ธีระ  สุธีวรางกูร

 คลิ้กเพื่อโหลดไฟล์ PDF

คลิ้กเพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ

   

 

ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย     คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนอกจากจะถือเป็นเด็ดขาดอันยังผลให้โต้แย้งในทางใดอีกมิได้  กรณีอีกประการหนึ่งก็คือเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย   คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะมีผลบังคับผูกพันทั้งกับรัฐสภา  คณะรัฐมนตรี  ศาล  และองค์กรของรัฐอื่นๆ[2]

 

ในคดีรัฐธรรมนูญทั่วไป    ผลจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญอาจดูประหนึ่งเหมือนกับไม่มีปัญหา     เพราะเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยในเรื่องหนึ่งเรื่องใดแล้ว  องค์กรต่างๆของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยก็ต้องนำคำวินิจฉัยดังกล่าวไปปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของตนให้เป็นไปตามนั้น  อย่างไรก็ดี  กรณีคดีเกี่ยวกับการกระทำการหรือมิกระทำการของบุคคลหนึ่งบุคคลใดที่นอกจากจะต้องมีความรับผิดตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ     ก็ยังต้องมีความรับผิดในทางอาญา  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ  คดีรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แล้ว  ปัญหากลับดูจะเกิดขึ้น

 

ในคดีรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา     มีลักษณะพิเศษประการหนึ่งตรงที่ว่า   องค์กรตุลาการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพิจารณาวินิจฉัยคดีประเภทนี้จะมีอยู่สององค์กรคือได้แก่  ศาลรัฐธรรมนูญ กับ ศาลยุติธรรม  ตัวอย่างเช่น  เมื่อมีข้อเท็จจริงปรากฏว่า        ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองผู้ใดไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช. ) ภายในระยะเวลาที่รัฐธรรมนูญกำหนด  เมื่อมีการเสนอเรื่องมาโดยชอบ    หากศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า  บุคคลผู้นั้นได้กระทำการนั้นไปโดยจงใจ      ผลตามรัฐธรรมนูญก็คือบุคคลดังกล่าวต้องพ้นจากตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่นับแต่วันที่ครบกำหนดต้องยื่นหรือวันที่ตรวจพบว่ามีการกระทำนั้น   และบุคคลนั้นก็ต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดเป็นเวลาห้าปีนับจากวันที่พ้นจากตำแหน่ง[3]     นอกจากนั้น   เมื่อมีการฟ้องร้องเป็นคดีอาญาไปยังศาลยุติธรรม  หากศาลยุติธรรมพิพากษาด้วยว่าบุคคลดังกล่าวกระทำการนั้นไปอย่างจงใจ    ผลทางกฎหมายที่ตามมาอีกก็คือ      บุคคลนั้นจะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ[4]ตามไปอีกโสดหนึ่ง

 

จากลักษณะพิเศษของคดีรัฐธรรมนูญประเภทนี้           ซึ่งองค์กรตุลาการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพิจารณาวินิจฉัยคดีคือศาลรัฐธรรมนูญกับศาลยุติธรรม    เมื่อรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันรัฐสภา  คณะรัฐมนตรี  ศาล  และองค์กรอื่นของรัฐ         หากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองผู้ใดจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน  อันยังผลให้ผู้นั้นต้องเกิดความรับผิดตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแล้ว  เมื่อมีการฟ้องร้องเป็นคดีอาญาไปยังศาลยุติธรรม  ปัญหามีว่า   คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ว่าบุคคลดังกล่าวจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน  จะยังผลผูกพันศาลยุติธรรมให้จำต้องวินิจฉัยเรื่องดังกล่าวไปในทำนองเดียวกันกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ  อันมีผลให้บุคคลนั้นต้องรับโทษในทางอาญาโดยมิอาจพิพากษาให้เป็นอย่างอื่น  หรือไม่

 

แท้จริงแล้ว     ความข้อนี้นับว่ามีความยุ่งยากอยู่   เพราะมิว่าจะตีความบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันศาลยุติธรรมในคดีรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาหรือไม่ ไปในแนวทางใด   ผลกระทบที่ตามมาก็ดูจะเกิดขึ้นไม่น้อยเช่นกัน

 

ในแนวทางที่หนึ่ง   หากตีความบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีผลผูกพันศาลยุติธรรม    การตีความตามแนวทางนี้     แม้จะเกิดผลดีตรงที่ว่ามีผลให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกับคำพิพากษาของศาลยุติธรรมไม่เกิดความลักหลั่นจากการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีกรณีเดียวกัน      แต่โดยที่ศาลรัฐธรรมนูญกับศาลยุติธรรมมีระบบวิธีพิจารณาเพื่อพิสูจน์ว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองผู้ใด   จงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินหรือไม่      ที่ไม่เหมือนกัน  โดยศาลยุติธรรมจะใช้ระบบวิธีพิจารณาแบบกล่าวหา ( Accusatory System )[5]    ขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญจะใช้ระบบวิธีพิจารณาแบบไต่สวน ( Inquisitorial System )[6]  อันเป็นผลมาจากสภาพบังคับในทางคดี ( Sanction ) ที่มีความแตกต่างกันอยู่ 

 

กรณีดังกล่าว  หากจะให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญซึ่งวินิจฉัยคดีรัฐธรรมนูญที่มีสภาพบังคับทางคดีเพียงผู้นั้นจะต้องพ้นจากตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่           อีกทั้งต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดเป็นเวลาห้าปีนับจากวันที่พ้นจากตำแหน่ง ( หากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าบุคคลดังกล่าวจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน )   ไปบังคับผูกพันให้ศาลยุติธรรมซึ่งมีอำนาจหน้าที่พิจารณาคดีอาญาต้องพิพากษาว่าบุคคลนั้นต้องได้รับโทษในทางอาญา   ( แม้อาจจะให้รอการลงโทษ )  โดยบุคคลดังกล่าวจะมิมีโอกาสต่อสู้คดีในศาลยุติธรรมอีกเลย ( ทั้งๆที่รัฐธรรมนูญ มาตรา ๓๓ วรรคหนึ่ง        ก็มีบทบัญญัติเป็นหลักทั่วไปว่า  ในคดีอาญาต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด )    เพราะคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยว่าบุคคลนั้นจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน  ได้มีผลผูกพันศาลยุติธรรมให้ต้องพิพากษาตามไปเช่นนั้นเสียแล้ว  ดังนี้  กรณีก็ดูไม่น่าจะสอดคล้องกับสภาพบังคับในทางคดีที่ต่างก็มีความแตกต่างกันอยู่นัก

 

แนวทางที่สอง  หากตีความบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่มีผลผูกพันศาลยุติธรรม     การ      ตีความรัฐธรรมนูญตามแนวทางดังกล่าว             แม้จะมีผลดีอยู่ที่เกิดความเหมาะสมกับสภาพบังคับในทางคดีที่กรณีมีความแตกต่างกัน    อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสโอกาสให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ตกเป็นจำเลยในคดีอาญาข้อหาว่าจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน    ได้มีโอกาสต่อสู้คดีในระบบกล่าวหาในศาลยุติธรรมซึ่งตนได้รับข้อสันนิษฐานทางกฎหมายที่เป็นคุณแก่ตนอยู่ว่ายังไม่มีความผิด    จนกว่าจะถูกพิสูจน์อย่างแจ้งชัดในศาลว่าตนได้กระทำการดังกล่าวอย่างจงใจ[7]  อย่างไรก็ตาม  หากกรณีเป็นว่าศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าผู้นั้นจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินอันยังผลให้ต้องพ้นจากตำแหน่งที่ตนดำรงอยู่   และต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดเป็นเวลาห้าปีนับจากวันที่พ้นจากตำแหน่ง        แต่ศาลยุติธรรมกลับมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่า         บุคคลดังกล่าวมิได้จงใจที่จะไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินอันมีผลให้บุคคลนั้นมิต้องรับโทษในทางอาญา                    กรณีจะเห็นได้ชัดเจนว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกับคำพิพากษาของศาลยุติธรรมนั้นมีความลักหลั่นเกิดขึ้น

 

จากการตีความบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ   จะมีผลผูกพันศาลยุติธรรมในคดีรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาหรือไม่ซึ่งได้เสนอมาให้เห็นทั้งสองแนวทาง      และการตีความในแต่ละแนวทางก็เกิดผลกระทบที่แตกต่างกันออกไป  กรณีจึงมิใช่เรื่องง่ายสำหรับการหาทางออกในเรื่องนี้    อย่างไรก็ดี  ไม่ว่าในทางวิชาการจะมีทางออกอย่างไร      และแท้จริงแล้ว      คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดีรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจะมีผลผูกพันศาลยุติธรรมเฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายโดยมิรวมถึงปัญหาข้อเท็จจริง หรือไม่       องค์กรผู้มีอำนาจชี้ขาดให้เกิดผลอย่างแท้จริงในระบบกฎหมายของรัฐ  อย่างน้อยจะตกอยู่กับศาลยุติธรรมกับวุฒิสภา

 

นับต่อจากนี้    หากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองผู้ใดจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน   เมื่อมีการฟ้องร้องเป็นคดีอาญาต่อไปยังศาลยุติธรรม    ท่าทีของศาลยุติธรรมเกี่ยวกับการพิจารณาและพิพากษาคดีต่อผู้นั้นจะเป็นเครื่องชี้วัดเบื้องต้นว่า       ศาลยุติธรรมจะนำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยว่าบุคคลดังกล่าวจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินมาผูกพันตนให้ต้องพิจารณาวินิจฉัยว่า     บุคคลนั้นจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามศาลรัฐธรรมนูญไปหรือไม่

 

นอกจากนั้น  หากศาลยุติธรรมเห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีดังว่านี้    มิผูกพันการพิจารณาพิพากษาคดีอาญาในเรื่องนั้นของตน  โดยการพิจารณาพิพากษาไปในทิศทางตรงกันข้ามกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ        หาก...หากจะตีความรัฐธรรมนูญว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีสถานะประหนึ่งเป็นรัฐธรรมนูญ ( ซึ่งกรณียังเป็นที่ถกเถียงกันในทางวิชาการอย่างมาก ) ที่ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี  รัฐมนตรี  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สมาชิกวุฒิสภา  ประธานศาลฎีกา  ประธานศาลรัฐธรรมนูญ  ประธานศาลปกครองสูงสุด  อัยการสูงสุด       หรือแม้กระทั่งผู้พิพากษาหรือตุลาการในศาลต่างๆมิอาจใช้อำนาจหน้าที่ของตนที่ส่อว่าเป็นการจงใจให้ไปขัดหรือแย้งกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญได้        เมื่อมีการเสนอเรื่องให้วุฒิสภามีมติถอดถอนผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมซึ่งได้พิจารณาพิพากษาคดีเรื่องนั้นออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๓๐๓  มติของที่ประชุมวุฒิสภาว่าจะให้ถอดถอนหรือไม่        จะเป็นตัวชี้วัดในท้ายที่สุดว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีนั้นได้มีผลผูกพันหรือไม่ผูกพันการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรม


(กลับไปข้างบน) / (กลับไปหน้าแรกเรื่องอยากเล่า) / (กลับไปหน้าแรก)          
 


 

[1] บทความนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในจดหมายข่าวศาลรัฐธรรมนูญ  ปีที่ ๓  ฉบับที่ ๒ ( เล่มที่ ๑๐ ) ประจำเดือน มีนาคม เมษายน  ๒๕๔๓  หน้า ๙ -๑๑    แต่ด้วยเหตุที่กรณีนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายสำคัญในทางรัฐธรรมนูญ     ซึ่งยังคงไม่มีคำตอบแน่ชัดทั้งในทางตำราและคำพิพากษาของศาล      จึงอนุมานเอาว่าน่าจะยังคงเป็นประโยชน์สำหรับการนำเสนอเพื่อให้เกิดการถกเถียงในทางวิชาการกันอีกครั้ง

[2] โปรดดูรัฐธรรมนูญ  มาตรา ๒๖๘

[3] โปรดดูรัฐธรรมนูญ  มาตรา ๒๙๕

[4] พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒  มาตรา ๑๑๙ ประกอบกับ มาตรา ๔

[5] ระบบวิธีพิจารณาแบบกล่าวหา    มีหลักการสำคัญอยู่ว่า    ผู้ใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงใด  ผู้นั้นมีหน้าที่นำสืบถึงความมีอยู่ของข้อเท็จจริงนั้น (  actori incombit probatio ) โดยหน้าที่ของศาลที่ใช้ระบบวิธีพิจารณาแบบนี้      ปกติจะมีบทบาทและฐานะเป็นเพียง คนกลางที่คอยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานและพิพากษาคดี    ให้เป็นไปตามข้อเท็จจริงที่คู่ความได้เสนอในระหว่างกระบวนพิจารณาเท่านั้น

[6] ระบบวิธีพิจารณาแบบไต่สวน  จะเป็นระบบวิธีพิจารณาที่เปิดโอกาสให้ศาลมีบทบาทสำคัญในการแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานจากทั้งคู่ความและจากที่อื่นๆได้ด้วยตนเอง        โดยมิจำเป็นต้องฟังเฉพาะแต่ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่คู่ความได้เสนอมาให้  ฉะนั้น   บทบาทของศาลในระบบวิธีพิจารณาแบบนี้นอกจากจะมีฐานะเป็นคนกลางแล้ว  ในแต่ละคดี  ศาลยังมีบทบาทเป็น ผู้มีส่วนร่วมของคดีด้วยอีกทางหนึ่ง

[7] ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๗ บัญญัติว่า

ให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวง      อย่าพิพากษาลงโทษจนกว่าจะแน่ใจว่ามีการกระทำความผิดจริงและจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดนั้น

เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่   ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย

 

คลิ้กเพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ

 

(กลับไปข้างบน) / (กลับไปหน้าแรกเรื่องอยากเล่า) / (กลับไปหน้าแรก)

สงวนลิขสิทธิ์ © 2003 
งานเขียนแต่ละชิ้นเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียนแต่ละท่าน