ศัพท์กฎหมายฝรั่งเศส

Internet pour le droit

เรื่องอยากเล่า

Salon d'Aix

 webboard

คุยกับดอกแก้ว

จดหมายเหตุ


ดู TV ฟังวิทยุ อ่าน นสพ.
การ Set เพื่อพิมพ์ไทย
โทรกลับไทย IRADIUM
โทรกลับไทย Telerabais

ที่ตั้งและแผนที่ Aix
การเดินทางและตารางรถ

ตารางรถประจำทางใน AIX
ตารางรถไป Marseille และ Plan de campagne
ตารางรถPays d'Aix ไป Plan
    สภาพอากาศประจำวัน
    ที่ Aix-en-Provence


Webboard

Thaiaixois Gallery
ศัพท์กฎหมายฝรั่งเศส
Internet pour le droit
เรื่องอยากเล่า (วิชาการ)
สภากาแฟ Salon d'Aix
คุยกับดอกแก้ว
จดหมายเหตุ
ส่ง e-cartes  virtuelles d'Aix-en-Provence

(กระทู้)การขอทุนเรียนที่ฝรั่งเศส

การปรับหลักสูตรมหาวิทยาลัยของฝรั่งเศส

คู่มือศึกษาต่อในประเทศฝรั่งเศส (โดยสารสนเทศการศึกษาต่อต่างประเทศ)

คู่มื่อเลือกมหาวิทยาลัยในฝรั่งเศส( Guide Lamy des 3es cycles)

โรงเรียนสอนภาษาฝรั่งเศส IEFEE


มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในฝรั่งเศส

มหาวิทยาลัยใน Aix
Université de Provence 
Université de la Mediterranee

Université Paul Cézanne (Universitéde Droit, d'Economie et des Sciences d'Aix-Marseille3)

สถาบันศึกษาอื่น


ที่พักอาศัย
 - ที่พักของมหาวิทยาลัย
( CROUS)

ที่พักของเอกชน
 
- (Estudines)
 
-  (Citadine)  
 -
หาที่พักกับ adele.org
 - หาที่พักกับ office de tourisme
 - พักที่บ้านพักเยาวชน(Auberge de jeunesse)

การขอเงินช่วยเหลือค่าที่พัก(CAF)


การติดต่อที่จำเป็น

การติดต่อขอใบอนุญาตพักอาศัยในประเทศ(Carte de sejour)
 - เอกสารที่ต้องใช้ 1/ 2 /3
 - ติดต่อ
Prefecture des Bouches-du-Rhone
 - (กระทู้Thaiaixoisที่เกี่ยวข้อง)

การประกันสุขภาพ
 - การติดต่อประกันสุขภาพ
Securite sociale)
 - MEP ประกันสุขภาพของนักเรียน(อายุไม่เกิน 25 ปี)
 - Assurance étudiant (อายุไม่เกิน 40 ปี)

อื่น ๆ
 - การทำงานนอกเวลา
 - การต่ออายุหนังสือเดินทาง


ลิงค์เพื่อนบ้าน
Thai Law Reform
สมาคมนักเรียนไทยในรั่งเศส
เพื่อนไทยในเกรอนอบ
เพื่อนไทยในตูลูส
เพื่อนไทยในลียง

ABC-Bittorrent Client โดย pingpong
เพื่อนไทยในเบลเยี่ยม
สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนฯ
เล่าข้ามฟ้ากับนาย Baguette
Pokpong's
Nujern's homepage
Café Lunar

Cafe Lunar สาขา 2
Le Journal de TAUNG
Artsstudio

 
 

ขอเรื่องผีสักหน่อย

โดย    ท่านเจ้าคุณ


    วันหนึ่งช่วงพลบค่ำเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา ผมพบตัวเองนั่งอยู่ในกลุ่มนักเรียนไทยประมาณสิบกว่าคนในโอกาสการเลี้ยงส่งเพื่อนนักเรียนคนหนึ่งขึ้นไปศึกษาต่อที่ปารีส หัวข้อการสนทนาวันนั้นแทนที่จะเป็นเรื่องทั่วไปอย่างที่เคยคุยกัน ไม่รู้เริ่มกันยังไงดันกลายเป็นเรื่องชวนขนหัวลุกเกี่ยวกับสิ่งลึกลับบางอย่าง ครับ ! เราคุยกันเรื่อง "ผี"

    ตลอดการสนทนา ใครที่มีประสบการณ์เรื่องนี้โดยตรงหรือฟังเขาเล่ามาเป็นทอดๆต่างก็สาธยายถึงสิ่งที่ตัวเองได้รับรู้อย่างออกอาการ แต่จะเมามันหรือเปล่าผมไม่ได้ถาม คนพูดก็พูดกันไป คนฟังก็ฟังกันไป คนไม่กล้าฟังก็เอามืออุดหูพร้อมพยักหน้าเข้าใจเมื่อถูกถาม ผลสรุปคืนนั้นเป็นยังไง ใครนอนไม่หลับกันบ้าง ไม่มีใครบอกใคร แต่คนที่เคราะห์ร้ายที่สุดเห็นจะเป็นผม เพราะถูกเจ้ากระรอกน้อยที่ชอบดอดมากินแกงส้มตอนตีสองสั่งให้มานั่งหลังขดหลังแข็งเพื่อเขียนเรื่องนี้

    โกวเล้งพูดไว้บ่อยครั้งว่า "ผู้ใดคิดว่าเข้าใจสตรี ผู้นั้นเป็นตัวโง่บัดซบ" ผมขอยืมคำพูดของนักเขียนนวนิยายกำลังภายในชาวไต้หวันท่านนี้มาดัดแปลงสักหน่อยว่า "ผู้ใดคิดว่าเข้าใจเรื่องผี ผู้นั้นจะโดนลองดี" เอ๊ะ ! เกี่ยวกันหรือเปล่า ? ถึงอย่างนั้นก็เถอะ เมื่อถูกบังคับให้เขียนก็ต้องเขียน แต่ไม่ว่าจะยังไง เนื่องจากผมไม่ประสงค์จะโดนลองดี จึงจำเป็นต้องออกตัวก่อนว่า ผมพูดถึงเรื่องนี้ตามความเข้าใจแบบชาวบ้านไม่ใช่ "นักภูติศาสตร์" นะครับ จะมาเหมาเอาว่าผมเข้าใจเรื่องผีดี ผมเป็นอันไม่รับเด็ดขาด

    ว่ากันว่าเรื่องของ "ผี" เป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งที่อยู่คู่กันไปกับสังคมมนุษย์มาแต่อ้อนแต่ออก ไปดูเอาเถอะ ไม่ว่าไทย จีน แขก ฝรั่ง จะสืบสาวราวเรื่องจากปีมะโว้มาจนถึงทุกวันนี้ต่างก็มีเรื่องผีเป็นยาดำสอดแทรกอยู่ทุกยุคสมัย เรามักเข้าใจกันว่า "ผี" นั้นมีความหมายอย่างไม่ต้องสงสัยว่าเป็น "สิ่งชั่วร้าย" หรือ "สิ่งไม่ดี" เรื่องนี้แม้ดูออกจากจะจริงในวัฒนธรรมทางยุโรปที่เห็นกันว่า "สิ่งที่มีอำนาจเหนือมนุษย์ซึ่งอธิบายไม่ได้ด้วยเหตุผลแต่กอรปไปด้วยความปรารถนาดีต่อมนุษย์เรา" นั้นต้องเรียกเป็น "เทพเจ้า" หรือ "พระเจ้า" ไม่ใช่ "ผี" แต่ความคิดเห็นของพวกยุโรปแบบนี้ก็ดูจะแตกต่างไปจากวัฒนธรรมทางเอเชีย โดยเฉพาะจีนกับไทย

    แถบเอเชียบ้านเรา สิ่งที่เรียกว่า "ผี" ไม่ได้มีความหมายในทางชั่วร้ายไปเสียทั้งหมด ทางตอนเหนือของประเทศไทยในหมู่บ้านชนบท ผีที่ทำหน้าที่รักษาหมู่บ้านดูแลลูกบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข เขาเรียกว่า "ผีฟ้า" ส่วนผีอีกพวกหนึ่งที่วันๆไม่ทำอะไรให้เป็นประโยชน์เอาแต่แลบลิ้นปลิ้นตาหลอกชาวบ้านให้หัวโกร๋นเล่น เขาก็เรียก "ผีห่า" นอกจากจะดูแลหมู่บ้านในฐานะที่เป็นหน่วยทางสังคมแล้ว ในประเทศเรา บ้านแต่ละหลังก็ยังมีผีคอยดูแลครอบครัว ลูกเด็กเล็กแดงอยู่เหมือนกัน ที่เรียกว่า "ผีบ้านผีเรือน" ทัศนะทำนองนี้ดูจะเหมือนกับวัฒนธรรมของคนจีนที่เห็นว่าในบ้านเรื่อนของตนจะมี "ผีบรรพบุรุษ" คอยดูแลรักษาให้เกิดความสงบสุขของครอบครัว เพราะเหตุอย่างนี้ ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องผีในทางเอเชียจึงไม่ได้มีความหมายในทางไม่ดีเสมอไปเหมือนพวกยุโรป วัตถุประสงค์ในการแสดงอิทธิฤทธิ์ของผีว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้คนหรือไม่นั่นแหละที่เป็นตัวชี้ว่าผีนั้นจะเป็น "ผีร้าย" หรือ "ผีดี" ถึงยังไงก็ตาม ควรพูดด้วยว่า แม้จะขึ้นชื่อว่า "ผี" แต่ผีก็ยังมีอารมณ์เหมือนเป็นปุถุชนคนธรรมดาอย่างเราท่าน ลองไปทำอะไรให้ "ผิดผี" หรือไปลบหลู่ให้ท่านไม่สบอารมณ์เข้าสิ พ่อเล่นไม่เลิกเหมือนกัน

    พูดถึงผีบ้านผีเรือนแล้ว น่าสงสัยว่าพวกยุโรปเขามีความคิดเรื่องนี้ในทำนองเดียวกับบ้านเราหรือเปล่า เท่าที่สังเกต ดูเหมือนไม่น่าจะมี ในทัศนะแบบคริสต์ เราต้องไม่ลืมว่าปุถุชนคนธรรมดานั้นเมื่อตายไปแล้ว ถ้าไม่บาปหนาสาหัสสากรรจ์เกินไป ก็จะกลับไปอยู่ในแผ่นดินของพระเจ้าไม่มีวันมาเร่ร่อนตามบ้านเรือนหรือปราสาทให้ชาวบ้านเขากลัวเล่น อีกอย่างหนึ่งตามทัศนะเดียวกัน ฝรั่งเขาก็ไม่มีคติเรื่องความจำเป็นของการให้ใครมาดูแลบ้านช่องของเขา มีแต่ให้มาดูแลคุ้มครองตัวเขา ซึ่งหน้าที่นี้ก็เป็นหน้าที่ของพระเจ้าไม่ใช่ของผี เหตุดังนี้ เมื่อผีฝรั่งนั้นพอจะสันนิษฐานได้ว่าเป็นพวกบาปหนักไม่สามารถเข้าไปสู่แผ่นดินพระเจ้าได้ หากใครเกิดเคราะห์หามยามร้ายไปเจอ ก็คงต้องตักเตือนว่าขอให้ระมัดระวังให้จงหนัก และคิดในทางร้ายไว้ก่อนคือ หนี อย่าไปทำใจดีสู้เสือเชียว

    โดยส่วนตัว ผมเองเคยถามพ่อตอนสมัยผมเป็นเด็กๆว่าผีมีจริงไหม แกตอบผมอย่างเสียไม่ได้ว่า "กูก็ไม่รู้ แต่ควายเวลาไปกินหญ้าในป่าช้าไม่เห็นมันกลัวผี ถ้ามึงไม่อายควายและดันจะไปกลัวไอ้ที่มึงว่า กูก็ไม่รู้จะทำยังไงเหมือนกัน" เจอมุขนี้เข้าไปก็ต้องถอยครับพระเดชพระคุณ

    ถึงยังไงก็เถอะ แม้จะได้คาถาดีจากคำพูดของพ่อวันนั้น แต่ไอ้ความกลัวผีมันเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกซึ่งไม่ได้รวบรัดเหมือนกับเหตุผลที่พอพูดให้เข้าใจได้แล้วทุกอย่างก็จบ จำได้ว่ากว่าความรู้สึกอย่างนี้จะบรรเทาลงจนเป็นเรื่องธรรมดาในวันนี้ ก็ต้องรอหลังจากนมแตกพานอีกหลายปี

    ตรงนี้ดูจะต่างจากเพื่อนผมคนหนึ่งที่ความสามารถในการกลัวผีดูจะคงเส้นคงวามาตลอดไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ หมอนี่เป็นคนกลัวผีเข้ากระดูก หนูเจินที่ว่าแน่แล้วยังเทียบหมอไม่ได้แม้กระผีก ผมเองเข้าใจเพื่อนคนนี้ดี เพราะเขามีประสบการณ์ตรงเรื่องเจอผีที่บ้านด้วยจนเสียงโวยวายดังไปถึงปากซอย คงเฝือเกินไปหากจะพูดรายละเอียด เอาเป็นว่าผลจากการนี้ทำให้ผมต้องหอบหมอนหอบเสื่อไปนอนเป็นเพื่อนที่บ้านหมอเป็นเวลาร่วมเดือน หลังจากกลับบ้านแล้ว ผมยังแวะเวียนไปเยี่ยมเยียนเป็นระยะด้วยความเป็นห่วง

    วันหนึ่ง วันที่ผมไปเยี่ยมเขาที่บ้าน หน้าตาของหมอดูแช่มชื่นเป็นปกติ พอได้เวลากินเที่ยงด้วยกัน หมอก็โพล่งออกมาว่า "เอ้า ... กินข้าวด้วยกัน บุญชม" "ใครวะบุญชม" ผมนึกแต่ไม่ถาม กินข้าวเสร็จดูวีดีโอต่อหมอก็พูดขึ้นมาอีก "เฮ้ย ! บุญชม หนังดีโว้ยมาดูด้วยกัน" "บ้าแล้วๆ" ผมนึกในใจ อดรนทนไม่ไหวเลยถามออกไปว่า "ใครของมึงวะ ไอ้บุญชมน่ะ" คำตอบของเขาทำเอาผมมีสีหน้าบอกบุญไม่รับ "อ้อ ! ลืมบอกไป ผีที่กูเจอนั่นแหละ กูเรียกมันว่าบุญชม" สืบสาวราวเรื่องต่อมาได้ความว่าหลังจากไปหาพระมาแล้ว พระท่านแนะนำว่าให้คิดเสียว่าผีที่หมอเจอตอนนั้นเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ ถ้าเราคิดกับเขาอย่างมิตร เขาก็จะคิดเช่นนั้นกับเรา เพราะฉะนั้น ทำอะไรก็ให้ทำด้วยกันเสมือนว่าเป็นเพื่อนกัน จะได้ไม่ต้องกลัวอะไร "มันเป็นอย่างนั้นเอง" ผมถึงบางอ้อ หลังดูวีดีโอจบ คุยกันอีกซักพัก ผมก็ขอตัวกลับบ้าน หมอเดินอาดๆมาเปิดประตูบ้านให้ผมพร้อมทั้งตะโกนเสียงดัง "บุญชมไปส่งเพื่อนกูหน่อย" ผมร้องเสียงหลงตอบมันไปทันที "เฮ้ยๆ ไอ้ห่า ไม่ต้องให้มันมาส่งกู"

    ไม่ว่าจะยังไง เรื่องของผีก็ไม่ใช่เป็นเรื่องสนุกนัก ผมพอจะบอกกับตัวเองได้ว่าตอนนี้แม้จะรู้สึกเฉย แต่ก็ยังยืนยันนะครับว่า สิ่งที่เรายังพิสูจน์ไม่ได้ ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะไม่มีอยู่ ผมเคยได้ยินบางคนพูดว่า "คนเรามักกลัวปรากฏการณ์ที่เราอธิบายไม่ได้" ความข้อนี้แม้อาจจะจริง แต่กับเรื่องผีๆแล้ว ต่อให้สามารถอธิบายได้ทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นคุ้งเป็นแคว ต่างคนต่างอยู่อย่ามาเจอกันนั่นแหละเป็นดี...นะบุญชม...