ÈѾ·ì¡®ËÁÒ½ÃÑè§àÈÊ

Internet pour le droit

àÃ×èͧÍÂÒ¡àÅèÒ

Salon d'Aix

WEBBOARD

¤Ø¡Ѻ´Í¡á¡éÇ

¨´ËÁÒÂà˵Ø


ดู TV ฟังวิทยุ อ่าน นสพ.
การ Set เพื่อพิมพ์ไทย
โทรกลับไทย IRADIUM
โทรกลับไทย Telerabais

ที่ตั้งและแผนที่ Aix
การเดินทางและตารางรถ
ตารางรถประจำทางใน AIX
ตารางรถไป Marseille และ Plan de campagne
ตารางรถPays d'Aix ไป Plan
    สภาพอากาศประจำวัน
    ที่ Aix-en-Provence


Webboard

Thaiaixois Gallery
ศัพท์กฎหมายฝรั่งเศส
Internet pour le droit
เรื่องอยากเล่า (วิชาการ)
สภากาแฟ Salon d'Aix
คุยกับดอกแก้ว
จดหมายเหตุ
ส่ง e-cartes  virtuelles d'Aix-en-Provence

(กระทู้)การขอทุนเรียนที่ฝรั่งเศส

การปรับหลักสูตรมหาวิทยาลัยของฝรั่งเศส

คู่มือศึกษาต่อในประเทศฝรั่งเศส (โดยสารสนเทศการศึกษาต่อต่างประเทศ)

คู่มื่อเลือกมหาวิทยาลัยในฝรั่งเศส( Guide Lamy des 3es cycles)

โรงเรียนสอนภาษาฝรั่งเศส IEFEE


มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในฝรั่งเศส

มหาวิทยาลัยใน Aix
Université de Provence 
Université de la Mediterranee

Université Paul Cézanne (Universitéde Droit, d'Economie et des Sciences d'Aix-Marseille3)

สถาบันศึกษาอื่น


ที่พักอาศัย
 - ที่พักของมหาวิทยาลัย
( CROUS)

ที่พักของเอกชน
 
- (Estudines)
 
-  (Citadine)  
 -
หาที่พักกับ adele.org
 - หาที่พักกับ office de tourisme
 - พักที่บ้านพักเยาวชน(Auberge de jeunesse)

การขอเงินช่วยเหลือค่าที่พัก(CAF)


การติดต่อที่จำเป็น

การติดต่อขอใบอนุญาตพักอาศัยในประเทศ(Carte de sejour)
 - เอกสารที่ต้องใช้ 1/ 2 /3
 - ติดต่อ
Prefecture des Bouches-du-Rhone
 - (กระทู้Thaiaixoisที่เกี่ยวข้อง)

การประกันสุขภาพ
 - การติดต่อประกันสุขภาพ
Securite sociale)
 - MEP ประกันสุขภาพของนักเรียน(อายุไม่เกิน 25 ปี)
 - Assurance étudiant (อายุไม่เกิน 40 ปี)

อื่น ๆ
 - การทำงานนอกเวลา
 - การต่ออายุหนังสือเดินทาง


ลิงค์เพื่อนบ้าน
Thai Law Reform
สมาคมนักเรียนไทยในรั่งเศส
เพื่อนไทยในเกรอนอบ
เพื่อนไทยในตูลูส
เพื่อนไทยในลียง
ABC-Bittorrent Client โดย pingpong
เพื่อนไทยในเบลเยี่ยม
สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนฯ
เล่าข้ามฟ้ากับนาย Baguette
Pokpong's
Nujern's homepage
Café Lunar

Cafe Lunar สาขา 2
Le Journal de TAUNG
Artsstudio

 

 

คลิ๊กเพื่อแสดงความเห็น+ถามคำศัพท์

 

Retrait  (n.m)    ถอน (กม.ปกครอง)

คำว่า Retrait หมายถึง การถอนออก หรือการยกเลิก โดยมักใช้ในกรณีที่ฝ่ายบริหาร ยกเลิกคำสั่งทางปกครองของตนเอง เช่น เมื่อเราต้องการพูดว่า นายกเทศบาลได้ถอนใบอนุญาตการก่อสร้าง เราจะพูดได้ว่า Le maire a retiré le permis de construire.

นับตั้งแต่คำพิพากษาของ Conseil d'Etat, 26 octobre 2001, "Ternon" ฝ่ายบริหารสามารถถอนคำสั่งทางปกครองได้ภายใน 4 เดือนจากวันที่พิมพ์ประกาศคำสั่งนั้นๆ (เพิ่มระยะเวลาจากเดิม 2 เดือน) หลังจาก 4 เดือนแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียไม่สามารถจะร้องต่อศาลปกครองเพื่อให้ยกเลิกคำสั่งนั้นๆโดยตรงได้ เนื่องจากจะถือว่าคำสั่งนั้นกลายเป็นคำสั่งถาวร หรือ L'acte est devenu définitif. อย่างไรก็ตาม หากในอนาคต ฝ่ายบริหารออกคำสั่งอื่นๆ ต่อเนื่องมาจากคำสั่งถาวร อันผิดกฎหมาย ผู้มีส่วนได้เสียสามารถร้องต่อศาลเพื่อให้ยกเลิกคำสั่งหลัง โดยอ้างว่าคำสั่งแรกไม่ชอบด้วยกฎหมายได้
นอกจากนั้น คำสั่งเฉพาะตัวอันไม่สร้างสิทธิ์กับตัวผู้รับคำสั่งนั้น ผู้รับคำสั่งสามารถร้องต่อศาลเพื่อขอให้ยกเลิกคำสั่งนั้นได้
โดยไม่มีกำหนดระยะเวลา
 

หน้าหลัก              ดรรชนีคำศัพท์

 

คลิ๊กเพื่อแสดงความเห็น

 

Annulation (n.f.)       ยกเลิก (กม.ทั่วไป กม.แพ่ง)

Annulation หรือ การยกเลิก มักใช้เพื่อกล่าวถึงการที่ศาลตัดสินยกเลิกนิติกรรมต่างๆ เนื่องจากนิติกรรมนั้นๆ มีเหตุอันทำให้เป็นโมฆะ
คำว่า โมฆะ หรือ
nullité ในกฎหมายฝรั่งเศสจะต่างจากกฎหมายไทยโดย nullité มี 2 ประเภท คือ
1.
nullité absolue โดยผู้มีส่วนได้เสียทุกคน รวมถึงผู้พิพากษาสามารถยกขึ้นมาอ้างเป็นเหตุในการให้ยกเลิกนิติกรรมได้ เช่น เมื่อผู้เยาว์ (mineur) หรือ ผู้ไร้ความสามารถ (incapable majeur) ทำนิติกรรมสัญญา
2.
nullité relative ซึ่งเฉพาะผู้เสียหายจากเหตุนั้นๆเท่านั้น จะสามารถอ้างเหตุนั้นได้ หากไม่ได้อ้าง ศาลก็ไม่สามารถยกขึ้นมาเป็นเหตุยกเลิกนิติกรรมได้ เช่น การสำคัญผิดในสาระสำคัญ (erreur sur la qualité essentielle) เป็นต้น
สามารถมีเหตุมาจากการที่ผู้ทำสัญญาเป็นผู้เยาว์ หรือผู้ไร้ความสามารถ ก็ได้

การเป็นโมฆะ หรือ nullité ก่อให้เกิดผลย้อนหลัง หรือ effet rétroactif โดยจะกลับไปสู่สถานการณ์ ก่อนเกิด นิติกรรมนั้นๆ เช่น หากสัญญาซื้อขายถูกยกเลิก ผู้ซื้อจะต้องคืนของที่ซื้อแก่ผู้ขาย และผู้ขายจะต้องคืนเงินแก่ผู้ซื้อ เป็นต้น

หน้าหลัก              ดรรชนีคำศัพท์

 

คลิ๊กเพื่อแสดงความเห็น

 

 Pourvoi (n.m.)     คำฎีกา (กม.ทั่วไป)

  คำว่า Pourvoi หรือ Pourvoi en cassation หมายถึง คำฎีกา โดยจะใช้ต่อเมื่อเรากล่าวถึงการฎีกาต่อศาลสูงสุด ทั้งที่เป็นศาลปกครอง (Conseil d'Etat) และศาลยุติธรรมสูงสุด (Cour de cassation)
ข้อควรระวัง เราจะสังเกตได้ว่า คำนี้เขียนต่างจากคำว่า pouvoir ที่หมายถึง อำนาจ

  คำว่า pourvoi เป็นคำนาม หากเราต้องการพูดว่า "ยื่นฎีกา" จะต้องใช้กับคำกริยา former ดังนั้น เราสามารถพูดว่า Il va former un pourvoi en cassation contre la décision du juge d'appel. เพื่อบอกว่า เขาจะฎีกาคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์

  ศาลฎีกาของฝรั่งเศส มีอำนาจต่างจากศาลฎีกาของไทย โดย ศาลฎีกาฝรั่งเศส หรือ Cour de cassation มีอำนาจในการตัดสินเฉพาะข้อกฎหมาย (en droit) เพื่อตรวจสอบว่า ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ใช้กฎหมายถูกต้องหรือไม่ แต่จะไม่มีอำนาจในการพิจารณาและตัดสินข้อเท็จจริง (en fait) อันถือว่าอยู่ในดุลพินิจของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ (appréciation souveraine des juges du fond)

  Pourvoi หรือ คำฎีกา สามารถแบ่งได้เป็นส่วนๆ แล้วแต่กรณีตามที่ผู้ฎีกาเห็นสมควร โดย แต่ละส่วนเรียกว่า Moyen ซึ่ง แต่ละ Moyen จะพยายามชี้ให้เป็นว่ามีการใช้กฎหมายไม่ถูกต้องตามมาตราใด หรือหลักใด ดังนั้น หากผู้ฎีกาเห็นว่ามีการใช้กฎหมายผิดต่อ 2 หลักสำคัญ คำฎีกาของเขาก็จะมี 2 Moyens เป็นต้น
ในแต่ละ
Moyen อาจแบ่งได้เป็นหลายประเด็นย่อย เรียกว่า
Branche โดยแต่ละ Branche จะแสดงเหตุผลสนับสนุนเป็นข้อๆไป

  คำพิพากษาของศาลฎีกามีได้ 2 แบบคือ
1.
Arrêt de rejet คือกรณีที่ศาลฎีกาพิจารณาว่า ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ ใช้กฎหมายถูกต้องแล้ว ศาลจะพิพากษายืน หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ให้คำฎีกาตกไป
2.
Arrêt de cassation คือกรณีที่ศาลฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่า ศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์ ใช้ข้อกฎหมายไม่ถูกต้อง ศาลจะให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์นั้นๆตกไป และเนื่องจากศาลฎีกาไม่มีอำนาจในการพิจารณาข้อเท็จจริง ศาลจึงต้องส่งคดีกลับไปยังศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์ เมืองอื่น หรือ เมืองเดิมแต่ต่างชุดผู้พิพากษา โดยการส่งกลับนี้เรียกว่า renvoi

ในบางกรณี หากศาลฎีกาพิจารณาเห็นว่าไม่มีประโยชน์ที่จะส่งกลับ ศาลก็สามารถไม่ส่งกลับ (Cassation sans renvoi) เช่น ตามปกติ หลังจากที่ศาลชั้นต้นตัดสินคดี คู่กรณีสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายในเวลาที่กำหนด หากผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์ล่าช้า แต่ศาลอุทธรณ์กลับยอมรับคำอุทธรณ์ และตัดสินคดี คู่กรณีสามารถยื่นฎีกาได้ว่า ศาลอุทธรณ์กระทำผิดโดยการยอมรับคำอุทธรณ์หลังจากกำหนด หากศาลฎีกาตัดสินให้คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์นั้นตกไป ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะส่งคดีกลับไปยังศาลอุทธรณ์อื่นๆอีกเนื่องจากคดีนั้นสิ้นสุดแล้วด้วยคำพิพากษาของศาลชั้นต้น

นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างที่น่าสนใจอีกคดีหนึ่ง โดย ศาลฎีกาฝรั่งเศส ตัดสินเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2535) ในกรณีนี้ศาลอุทธรณ์ เมือง เอ๊กซ์-ออง-โพรว้องซ์ ปฏิเสธคำขอของชายที่แปลงเพศแล้ว เพื่อเปลี่ยนคำระบุเพศในทะเบียนประวัติ (acte d'état civil) จากชายเป็นหญิง ศาลฎีกาตัดสินยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ อนุญาตให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยไม่ได้ส่งคดีกลับไปยังศาลอุทธรณ์อื่น

หน้าหลัก              ดรรชนีคำศัพท์

 

คลิ๊กเพื่อแสดงความเห็น

 

 Règlement    (n.m.)    กฏ (กม.ทั่วไป)

règlement หมายถึง กฏ ที่ออกโดยฝ่ายบริหาร

ในฝรั่งเศส ลำดับชั้นของกฎหมายเป็นไปตามทฤษฎีของ นักกฎหมายออสเตรีย Hans KELSEN (1881-1973) ที่เรียกว่า  ทฤษฎีปิรามิด (Piramide des normes หรือ Hiérarchie des normes) กล่าวโดยสรุปคือ    
    
Constitution (รัฐธรรมนูญ) มีค่าสูงสุด ตามด้วย
    
Convention internationale (สนธิสัญญาต่างๆ ที่ได้รับการอนุวัตการ (ratification) แล้ว) ตามด้วย
    
Loi (รัฐบัญญัติ) และ Ordonnance (รัฐกำหนด) ตามด้วย    
   
Règlement ต่างๆออกโดยฝ่ายบริหาร เช่น Décret (ออกโดยอาศัยอำนาจจากรัฐธรรมนูญ หรือ รัฐบัญญัติ โดยประธานาธิบดี หรือ นายกรัฐมนตรี ), Arrêté (ออกโดยรัฐมนตรี, Préfet หรือ ผู้มีอำนาจใน département (อาจเทียบได้กับจังหวัด), Maire หรือ นายกเทศมนตรี เป็นต้น) จะมีศักดิ์ต่างกันตามลำดับ โดยขึ้นอยู่กับผู้ออก เช่น arrêté ministérielle ซึ่งออกโดยรัฐมนตรี จะมีศักดิ์สูงกว่า arrêté municipale ซึ่งออกโดยนายกเทศมนตรี เป็นต้น
    กฎหมายที่มีลำดับศักดิ์ต่ำกว่าจะขัดกับกฎหมายที่มีลำดับสูงกว่าไม่ได้ โดยอำนาจการพิจารณาว่ากฎหมายลำดับที่ต่ำกว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ (Conseil Constitutionnel) หากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่ากฎหมายใดขัดรัฐธรรมนูญ กฎหมายนั้นจะตกไป
   
แต่อย่างไรก็ดี การพิจารณาว่า Règlement และคำสั่งทางปกครองขัดรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายในลำดับที่สูงกว่าหรือไม่เป็นอำนาจของศาลปกครอง เนื่องจาก กฎหมายต้องการให้ศาลปกครองเป็นผู้ตรวจสอบฝ่ายปกครองโดยตรง
    ส่วนที่เหลือ กรณีพิจารณาว่า Loi ขัดกับสนธิสัญญาหรือไม่ นั้น เป็นอำนาจของศาลยุติธรรม ทั้งนี้ ผู้ที่จะขอให้ศาลพิจารณาได้ต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกรณีดังกล่าวด้วย และคำตัดสินจะมีผลเฉพาะกับคู่กรณีเท่านั้น ไม่ได้ทำให้กฎหมายนั้นตกไป
(โปรดดูเรื่องลำดับศักดิ์ของหลักกฎหมายทั่วไป หรือ
Principes généraux du droit ประกอบ)

รัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสได้บัญญัติขอบเขตอำนาจในการตรากฎหมายของรัฐสภา (domaine de la loi) ไว้ในมาตรา 34 ตัวอย่างเช่น กฎหมายว่าด้วยสัญชาติ สภาพบุคคล ความสามารถของบุคคล ทรัพย์ หนี้ การคุ้มครองเสรีภาพ การเลือกตั้งผู้แทนราษฎร การกำหนดโทษอาญา(ยกเว้นลหุโทษ) การกำหนดอัตราภาษี การโอนบริษัทต่างชาติเป็นของรัฐ เป็นต้น
ส่วนขอบเขตอำนาจของฝ่ายบริหารนั้น รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ในมาตรา 37 ว่า ฝ่ายบริหารมีอำนาจในการตรากฏ
(règlement autonome) ในทุกกรณีนอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 34
นอกจากนี้ มาตรา 38 บัญญัติว่า หากมีเหตุจำเป็นหรือฉุกเฉิน รัฐสภาสามารถอนุญาตให้ฝ่ายบริหาร ออกกฏในส่วนที่บัญญัติไว้ในมาตรา 34 ได้ โดยออกเป็น
ordonnance

หน้าหลัก              ดรรชนีคำศัพท์

 

คลิ๊กเพื่อแสดงความเห็น

 

  Régulation (n.f.)     (กม.ทั่วไป)       การจัดการให้ถูกต้องเหมาะสม

régulation หมายถึง การจัดการหรือการกระทำให้ถูกต้องเหมาะสม หรือเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยหรือความสมดุล

ตัวอย่างเช่น Loi du 15 mai 2001 relative aux nouvelles régulations économiques หรือ Loi NRE คือกฎหมายว่าด้วยการจัดการระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ โดยกฎหมายนี้ได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกฎหมายต่างๆเกี่ยวกับหุ้นส่วนบริษัท (droit des sociétés) การป้องกันการฟอกเงิน (blanchiment de l'argent) กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้า (droit de la concurrence) เป็นต้น

นอกจากนี้ ในฝรั่งเศสยังมีองค์กรทางปกครอง (Autorité administrative indépendente) ที่ควบคุมดูแลด้านการโทรคมนาคม คือ Autorité de régulations des télécommunications (ART) ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1997 (พ.ศ. 2540) มีหน้าที่ควบคุมดูแล และคุ้มครองเสรีภาพในการการสื่อสารโทรคมนาคม โดยอาศัยกฎหมาย วิธีการทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีต่างๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดการแข่งขันเสรีในการสื่อสารโทรคมนาคม ตามวัตถุประสงค์ที่กฎหมายยุโรปได้กำหนดไว้ใน Directive วันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1996 (พ.ศ. 2539)
(ดูเพิ่มเติม http://www.art-telecom.fr/)

หน้าหลัก              ดรรชนีคำศัพท์

 

คลิ๊กเพื่อแสดงความเห็น

 

  Droit d’accès aux documents administratifs (กม.ปกครอง) สิทธิการรับรู้ข้อมูลทางราชการ

สิทธิการได้รับข้อมูลทางราชการ ตามกฎหมายวันที่ 17 กรกฎาคม 1978 โดยเรามีสิทธิจะขอดูเอกสารราชการที่ไม่ใช่เอกสารส่วนบุคคล หรือ document non nominatif แต่เอกสารบางอย่างไม่สามารถเปิดเผยได้

อย่างไรก็ตาม เราสามารถขอดูเอกสารส่วนบุคคล หรือ document nominatif ที่เกี่ยวข้องกับตัวเองได้

เมื่อหน่วยงานราชการปฏิเสธคำขอดูเอกสาร ไม่ว่าโดยการปฏิเสธเป็นลายลักษณ์อักษร (refus explicite) หรือ โดยการไม่ให้คำตอบภายในเวลา 1 เดือน (refus explicite) เราสามารถร้องต่อ Commission d’Accès aux Documents Administratifs (CADA) โดย คณะกรรมการดังกล่าวจะออกความเห็น หรือ Avis ว่าเอกสารดังกล่าวสามารถเปิดเผยได้หรือไม่ หลังจากนั้น หากหน่วยงานราชการยังยืนยัน ปฏิเสธไม่เปิดเผยเอกสาร เราจะสามารถร้องต่อศาลคดีปกครอง เพื่อให้ยกเลิกคำปฏิเสธนั้นได้

หน้าหลัก              ดรรชนีคำศัพท์

 

คลิ๊กเพื่อแสดงความเห็น

 

Prescription (กม.ทั่วไป) ระยะเวลา หรือช่วงเวลา ซึ่งเมื่อหมดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ทำให้เกิดการ
  เสียสิทธิ์ หรือได้สิทธิ์

 

คำนี้หมายถึงระยะเวลา หรือช่วงเวลา ซึ่งเมื่อหมดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ทำให้เกิดการเสียสิทธิ์ หรือได้สิทธิ์

ระยะเวลาที่ทำให้เกิดการได้สิทธิ์ เรียกว่า Prescription acquisitive เช่น ตามกฎหมายฝรั่งเศส การครอบครองปรปักษ์ หรือ usucapion เป็นเวลา 30 ปี มีผลให้ผู้ครอบครองได้กรรมสิทธิ์ (มาตรา 2262 ป.แพ่ง)

ระยะเวลาที่ทำให้เสียสิทธิ์ เรียกว่า Prescription extinctive โดยมากมักหมายถึง อายุความ เช่น

ตามกฎหมายอาญา อายุความ 1 ปี สำหรับความผิดชั้น ลหุโทษ หรือ contravention หรือ infraction contraventionnelle, 3 ปี สำหรับความผิดชั้น มัชฌิมาโทษ หรือ délit หรือ infraction délictuelle และ 10 ปี สำหรับความผิด คุรุโทษ หรือ crime หรือ infraction criminelle

ตามกฎหมายแพ่ง อายุความโดยหลักแล้วคือ 30 ปี เช่น การขอให้สัญญาเป็นโมฆะ แต่บางกรณีจะสั้นลง เช่น 5 ปี สำหรับความรับผิดชอบอันเกิดจากสัญญา หรือ responsabilité contractuelle และ 10 ปีสำหรับหนี้ความรับผิดชอบอันเกิดจากการละเมิด หรือ Responsabilité délictuelle

ตามกฎหมายธุรกิจ อายุความ 10 ปี สำหรับนิติกรรมเกี่ยวกับการค้า หรือ acte de commerce

ตามกฎหมายมหาชน สิทธิการเรียกร้องหนี้จากราชการ สามารถทำได้ภายในเวลา 4 ปี หรือ prescription quadriennale des dettes publiques เป็นต้น

หน้าหลัก              ดรรชนีคำศัพท์

 

คลิ๊กเพื่อแสดงความเห็น

 

  Abus (n.m) (กม.ทั่วไป)  การละเมิด, การเอาเปรียบ หรือ กระทำเกินเหตุ

คำว่า abus หรือ action abusive หมายถึง การกระทำที่เกินเหตุ การละเมิด หรือ การเอาเปรียบ

เราจะพบคำนี้ได้ในหลายกรณี เช่น

        abus du droit หมายถึง การใช้สิทธิเกินส่วน

        abus de confiance หมายถึง การยักยอก

        abus de domination หมายถึง การเอารัดเอาเปรียบโดยผู้ที่มีส่วนแบ่งในตลาดมากจนสามารถกำหนดทิศทางของตลาดนั้นๆได้ โดยหมายถึง การเอารัดเอาเปรียบกันระหว่างคู่แข่งขันทางการค้า หรือ Abus de position dominante และการเอารัดเอาเปรียบลูกค้า หรือ ผู้ค้ารายย่อย โดยผู้ค้าส่ง หรือ Abus de dépendance économique

        abus des biens sociaux หมายถึง การที่ผู้บริหารบริษัท นำทรัพย์สินของบริษัทไปใช้ในทางมิชอบ

        clause abusive หมายถึง ข้อสัญญาไม่เป็นธรรม เป็นต้น

หน้าหลัก              ดรรชนีคำศัพท์

 

คลิ๊กเพื่อแสดงความเห็น